Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47466
Title: Le Baroque dans l'oeuvre theatrale de Corneille
Other Titles: ลักษณะบาร็อคในบทละครของกอร์แนย
Authors: Suwanna Satapatpattana
Advisors: เดอนีส์
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: No information provided
Subjects: Corneille, Pierre, 1606-1684 -- Style
Baroque literature
กอร์เนย, ปีแอร์, ค.ศ. 1606-1684
บทละครฝรั่งเศส -- ประวัติและวิจารณ์
วรรณคดีบาร็อค
Issue Date: 1985
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: En abordant le XVII siècle francais, on devouvre l'Age d'Or du classicism, la periode où les homes de lettres s'extasient devant les disciplines, les convenances et al sobriété de l'art gréco-romain prôné par Aristote; d'ou la floraison d'une éclatante littérature classique à cette époque. Mais a notre grande surprise, Corneille, l'un des plus grands dramaturges classiques de son temps, se révèle péniblement géné par les règles "sacrées" des anciens, lui qui déclare encenser aussi cet "autel"solennel de l'époque. L'embarras du dramaturge nous incline donc à croier qu'une autre tendance implacable est mysterieusement en travail, celle qui pousse Corneille à enfreindre les rèegles d'Aristote, celle plus libre des contraintes et plus fantastique en imagination, qui, exercant un pouvoir sédusant sur le monde artistique dès la fin du XVI siècle, circonvient aussi l'esprit du dramaturge – le baroque. Ainsi, grâce aux "charmes" de cet art nouveau, les oeuvres théâtrales de Corneille, tout en chantant le royaume majestueux du classicisme, entrouvent-elles discrètement un autre univers, celui de al fantaisie, de l'exuberance et de l'extraordinaire, l'univers du baroque qui échappe contrôle des règles sévères lorsqu' il déroule sur la scène du théâtre cornélien des événements prodigieus et incroyables, de "belles histoires" dramatisées au point de choquer les esprits rationalists, l'univers baroque animé par les personnages exceptionnels de Corneille, êtres du changement et de l'illusion qui nouent et dénouent des intrigues embroullêes par leur cruauté ou bonté poussées au paroxysme, enfin l'univers inoubliable marqué par l'outrance du langage en faveur dans les grands salons des précieux du XVII siècle. La recherche sur les éléments baroques dans l'oeuvre théâtrale de Corneille nous aidera donc à comprendre comment les pièces cornéliennes, jugées classiques pendant trois siècles, peuvent aussi bien se comparer aux nombreuses constructions baroques, ces merveilleux édifices qui bravent la sobriété classique avec leurs décorations luxuriantes et surchargées, avec leur "decorations luxuriantes et surcharges, avec leur "déséquilibre"et leur démesure, avec cette esthétique extravagante dont le pouvoir d'envoûtement fait du Corneille classique un artiste baroque, celui qui prélude deux siècles avant Victor Hugo à la fantaisie du romantisme.
Other Abstract: เมื่อทำการศึกษาศตวรรษที่ 17 เราจะพบว่า ศตวรรษนี้ นับเป็นยุคทองของวรรณคดีคลาสสิค กล่าวคือ เป็นยุคที่เหล่านักประพันธ์ ต่างหันไปชื่นชมกฎเกณฑ์ ความพอเหมาะพองามของศิลปะกรีกโรมัน ซึ่งได้รับการเชิดชูขึ้นโดยนักปราชญ์เอกชาวกรีก อริสโตเติล อันเป็นเหตุให้งานวรรณกรรมคลาสสิคเจริญรุ่งเรืองขึ้นในศตวรรษนี้ แต่เป็นที่น่าประหลาดใจว่า กอร์แนย หนึ่งในบรรดานักเขียนบทละครคลาสสิคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้น กลับพบความยากลำบากที่จะปฏิบัติตาม "กฎเกณฑ์ศักดิ์สิทธิ์" ของกรีกโรมัน แม้ว่าจะประกาศตัวเป็น "สาวก" ของศิลปอันสง่างามแห่งอารยธรรมโบราณนี้ก็ตามความลำบากใจของกอร์แนย ทำให้เราเชื่อว่า นักเขียนบทละครผู้นี้ คงจะได้รับอิทธพล จากแนวคิดอื่น ซึ่งทำให้เขาละเมิดกฎเกณฑ์ของอริสโตเติล นั่นก็คือ แนวคิดแบบบาร็อคที่เป็นอิสระจากกฎระเบียบ และเปิดกว้างสู่จิตนาการ อันเป็นแนวคิดซึ่งมีอิทธิพลต่อโลกศิลปะตั้งแต่ตอนปลายศตวรรษที่ 16 ดังนั้น แม้ว่าบทละครของกอร์แนย จะพยายามดำเนินไปตามกฎเกณฑ์อันเคร่งครัดของศิลปะคลาสสิคก็ตาม แต่อิทธิพลของศิลปะแบบใหม่ได้ทำให้ส่วนหนึ่งของโลกวรรณคดีของนักเขียนบทละครผู้นี้ เปิดไปสู่อาณาจักรแห่งความเพ้อฝัน ความหลากหลาย และความวิจิตรพิสดาร หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ อาณาจักรแห่งวรรณคดีบาร็อค ดังจะเห็นได้จาก เนื้อหาของบทละครของกอร์แนย ที่เต็มไปด้วยเหตุการณ์ อันน่าประหลาดมหัศจรรย์ ซึ่งขัดแย้งต่อความเป็นเหตุเป็นผลของคลาสสิค อีกทั้งลักษณะนิสัยของตัวละคร ยังเป็นไปตามโลกทัศน์บาร็อคในเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์ซึ่งเปลี่ยนแปลงโดยไม่หยุดยั้ง มนุษย์แห่งโลกมายา ผู้ผูกและคลายปมอันยุ่งเหยิงของละครด้วยความโหดร้าย หรือ ความดีที่ถึงขีดสุด นอกจากนี้ ความฟุ้งเฟ้อของศิลปะแบบบาร็อค ยังปรากฏให้เป็นในการใช้สำนวนภาษาของกอร์แนยอีกด้วย การศึกษาเกี่ยวกับลักษณะบาร็อคในบทละครของกอร์แนย จะช่วยให้เข้าใจได้ว่า เหตุใดเราจึงสามารถนำบทละครของนักเขียนผู้นี้ ซึ่งยึดถือกันมาตลอดสามศตวรรษว่าเป็นบทละครคลาสสิคนั้น มาเปรียบได้กับสถาปัตยกรรมอันงดงามของศิลปะบาร็อค ที่ท้าทายต่อความเคร่งขรึมของศิลปะคลาสสิค ด้วยการประดับตกแต่งอย่างฟุ่มเฟือยหรูหราตามรมณียศาสตร์แห่งความฟุ้งเฟ้อ อันเป็นศาสตร์ซึ่งทำให้นักเขียนบทละครคลาสสิคเช่นกอร์แนย กลายมาเป็นศิลปินบาร็อค ผู้นำเราเข้าสู่โลกแห่งความเพ้อผันของวรรณคดีโรแมนติก มาเป็นเวลาถึงสองร้อยปีก่อน วิคตอร์ อูโก บิดาแห่งยุคโรแมนติกในศตวรรษที่ 19
Description: Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 1985
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: French
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47466
ISBN: 9745660264
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwanna_sa_front.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_sa_ch1.pdf9.51 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_sa_ch2.pdf10.78 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_sa_ch3.pdf7.02 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_sa_ch4.pdf458.75 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_sa_back.pdf484.74 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.