Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47468
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทักษิณ เทพชาตรี-
dc.contributor.authorวีระพงษ์ ไชยสถิตวานิช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-04-05T04:34:47Z-
dc.date.available2016-04-05T04:34:47Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746351516-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47468-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาพัฒนาการคำนวณออกแบบอย่างเหมาะสม สำหรับโครงถักที่มีพฤติกรรมไม่เชิงเส้นด้วยวิธีงานสมมุติ โดยมีการเปลี่ยนตำแหน่ง หน่วยแรง การโก่งเดาะและอัตราส่วนความชะลูดเป็นเกณฑ์ในการออกแบบ ค่าดัชนีความไวซึ่งเป็นค่าที่แสดงถึงความสำคัญขององค์อาคารนั้นต่อการเปลี่ยนตำแหน่งสามารถหาได้โดยวิธีการงานสมมุติ การปรับเพิ่มหรือลดขนาดขององค์อาคารควรเพิ่มขนาดให้ องค์อาคารที่มีค่าดัชนีความไวสูงและลดสำหรับองค์อาคารที่มีดัชนีความไวต่ำ ในทางทฤษฎี การคำนวณแบบอย่างเหมาะสมที่สุดจะเกิดขึ้นเมื่อทุกองค์อาคารมีค่าดัชนีความไวเท่ากัน แต่ในทางปฏิบัติ ขนาดขององค์อาคารจะต้องคำนึงถึงกำลังความสามารถในการรับน้ำหนักและอัตราส่วนความชะลูดที่กำหนดโดยมาตรฐานที่ใช้ในการออกแบบ ดังนั้นหลังจากการลู่เข้าสู่คำตอบ จะนำโครงถักมาตรวจสอบตามข้อกำหนดของมาตรฐาน AISC/ASD 1989 และ AISC/LRFD 1994 และทำการปรับขนาดขององค์อาคารตามความจำเป็น วิธีนิวตัน-ราฟสันถูกใช้ในการวิเคราะห์แบบไม่เชิงเส้นโดยวิธีการรวมสติฟเนสโดยตรง ถึงแม้ว่าวัสดุจะมีพฤติกรรมแบบเชิงเส้นแต่ การตอบสนองของโครงสร้างเป็นแบบไม่เชิงเส้น สมการสมดุลและสติฟเนสของชิ้นส่วนถูกสร้างขึ้นโดยใช้ทฤษฎีคาสติเกลียโน การวิเคราะห์ซ้ำจะดำเนินไปจนกระทั่งการเปลี่ยนตำแหน่งและเวคเตอร์แรงชดเชยมีค่าน้อยกว่า 0.1% ผลการวิจัยพบว่าวิธีงานสมมุติสามารถนำมาใช้ในการคำนวณออกแบบที่เหมาะสมสำหรับโครงถักระนาบที่มีพฤติกรรมแบบไม่เชิงเส้น โดยเฉพาะในโครงสร้างที่มีความสูงหรือความชะลูดมาก การคำนวณออกแบบโดยวิธีดังกล่าวจะให้ขนาดหน้าตัดที่เหมาะสม ปลอดภัย และการเปลี่ยนตำแหน่งมากที่สุดมีค่าไม่เกินค่าที่ยอมให้ตามข้อกำหนด โดยมีปริมาตรรวมเพิ่มขึ้นมากกว่าการออกแบบด้วยการวิเคราะห์แบบเชิงเส้นประมาณ 0-11%en_US
dc.description.abstractalternativeBy the Virtual Work Method, the development of an optimum design for geometrically nonlinear plane trusses subject to displacement, stress, buckling and slenderness ratio constraints is presented in this research. The member sensitivity index(SI) which is the index showing the importance of the member contributed to the total displacement can be evaluated. The material should be added to members with high SI and removed from members with low SI. Theoritically, the optimum design is obtained when all members have the same SI. In practice, however, strength and slenderness ratio limitations given by codes must be satisfied. Therefore, after the convergence is obtained the solution is then rechecked according to specifications from two codes, i.e., AISC/ASD 1989 and AISC/LRFD 1994. The members will be adjusted if necessary. The Newton-Raphson method is used for the geometrically nonlinear analysis by the direct stiffness method. Although the material behaves linearly, the response of the structure becomes nonlinear. Equilibrium equations and geometric stiffness of the element are formulated from the Castiglino's theorm. The iterative process is continued until displacements and compensating vector are less than 0.1%. It has been found from this research that the Virtual Work Method is an effective method in the optimum design of geometrically nonlinear plane steel trusses. This method makes solution suitable, safe and the maximum displacement not exceed the design code requirements. The total volume obtained is approximately 0.11% more than that obtained by linear analysis.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโครงสร้างเหล็กen_US
dc.subjectการออกแบบโครงสร้างen_US
dc.subjectวิศวกรรมโครงสร้างen_US
dc.titleการคำนวณออกแบบอย่างเหมาะสมสำหรับโครงถักระนาบ ที่มีพฤติกรรมไม่เชิงเส้นโดยใช้วิธีงานสมมุติen_US
dc.title.alternativeOptimum design of nonlinear plane trusses by the virtual work methoden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weerapong_ch_front.pdf714.44 kBAdobe PDFView/Open
Weerapong_ch_ch1.pdf475.01 kBAdobe PDFView/Open
Weerapong_ch_ch2.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Weerapong_ch_ch3.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Weerapong_ch_ch4.pdf278.95 kBAdobe PDFView/Open
Weerapong_ch_back.pdf464.14 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.