Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47470
Title: | การผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานจากน้ำมันเตาใสเบา และน้ำมันเตาใสหนัก โดย กระบวนการแยกไขด้วยตัวทำละลาย และกระบวนการสกัดด้วยตัวทำละลาย |
Other Titles: | The production of lube bases from light distillate oil and heavy distillate oil by solvent dewaxing and solvent extraction |
Authors: | วีระศักดิ์ ธนาพรสิน |
Advisors: | โสภณ เริงสำราญ อมร เพชรสม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Sophon.R@Chula.ac.th Amorn.P@Chula.ac.th |
Subjects: | น้ำมันหล่อลื่น -- การผลิต ปิโตรเลียม -- การกลั่น -- การแยกไข การสกัดด้วยสารตัวทำละลาย น้ำมันเตาใสหนัก น้ำมันเตาใสเบา |
Issue Date: | 2533 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ปัจจุบันนี้ความต้องการใช้น้ำมันหล่อลื่นในประเทศมีมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี 2532 มีการนำเข้าถึง 1,540 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็นเงินประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี เพิ่มขึ้น 6.1 เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับปี 2531 น้ำมันเตาใสเบา (LD) และน้ำมันเตาใสหนัก (HD) ที่ผลิตจากการกลั่นน้ำมันดิบฝางในหอกลั่นสุญญากาศ ปัจจุบันใช้เป็นน้ำมันเตาคุณภาพต่ำ ทั้งนี้เพราะมีไขปนอยู่มาก เพื่อให้น้ำมันเตาใสเบาและน้ำมันเตาใสหนักสามารถนำไปใช้ในการผลิตน้ำมันหล่อลื่นที่มีมูลค่าสูงขึ้นนั้นจะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันด้วยกระบวนการที่เหมาะสม จากการวิจัยนี้พบว่ากระบวนการที่เหมาะสมมีด้วยกัน 2 กระบวนการ กระบวนการแรกเป็นการปรับปรุงจุดไหลเทด้วยการตกผลึกแยกไขด้วยทำละลาย โดยใช้ตัวทำละลายผสมของ MEK กับโทลูอีน ในอัตราส่วน 1:1 ภายหลังผ่านการแยกไขด้วยกระบวนการแยกไขแบบ Dilchill ครั้งเดียวภายใต้อุณหภูมิแยกไขที่ -20°ซ. และใช้อัตราส่วนน้ำมันต่อตัวทำละลายที่ 1:3 จะทำให้น้ำมันเตาใสเบาและน้ำมันเตาใสหนักภายหลังการแยกไขมีจุดไหลเท 11 และ 6°ซ. ตามลำดับ กระบวนการที่สองเป็นการปรับปรุงค่าดรรชนีความหนืดและสมบัติเสถียรต่อการออกซิไดส์ของน้ำมันที่ผ่านการแยกไข โดยกระบวนการสกัดด้วยตัวทำละลาย พบว่าปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพของกระบวนการนี้คือ อัตราส่วนระหว่างน้ำมันกับตัวทำละลาย และอุณหภูมิการสกัด โดยที่ปริมาณตัวทำละลายกับอุณหภูมิการสกัดจะมีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นจะสามารถผลิตน้ำมันให้มีคุณภาพตามที่กำหนดโดยการเพิ่มปริมาณตัวทำละลายและลดอุณหภูมิการสกัดหรือเพิ่มอุณหภูมิการสกัดและลดปริมาณตัวทำละลายแต่ในทางปฏิบัติเพื่อให้ได้น้ำมันคุณภาพที่ต้องการในปริมาณสูงแล้วจะต้องใช้ปริมาณตัวทำละลายมากและใช้อุณหภูมิการสกัดต่ำ สำหรับการวิจัยนี้การวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำมันวิเคราะห์ด้วยวิธี 13C-NMR และวิเคราะห์สมบัติเสถียรสมบัติเสถียรต่อการออกซิไดส์ ด้วยวิธี TG แทนการวิเคราะห์แบบมาตรฐานทั่วไป เพราะทำได้สะดวกกว่าและให้ผลถูกต้องกว่า อนึ่งจากปริมาณความต้องการน้ำมันหล่อลื่นในประเทศปัจจุบันนี้เพียงพอที่จะตั้งโรงงานผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานที่มีขนาดเหมาะสมทางเศรษฐกิจได้ โดยใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ผลิตได้ในประเทศ โดยเฉพาะน้ำมันเตาใสเบาและน้ำมันเตาใสหนักที่ผลิตจากน้ำมันดิบฝางมีความเหมาะสมที่จะใช้ผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน โดยการปรับปรุงคุณภาพด้วยกระบวนการแยกไขด้วยตัวทำละลาย และกระบวนการสกัดด้วยตัวทำละลายดังกล่าวแล้ว |
Other Abstract: | The demand of lubricating oils in Thailand are growing rapidly during this decades. In 1989, up to 1,540 barrels per day of lubricating oils, value about 2,000 million baht per year, with increased 6.1 percent over 1988, were imported. Light distillate oil (LD) and Heavy distillate oil (HD) were produced from vacuum distillation from Fang crude and were used as low quality fuel oils because of their high wax content. In order to up grade these LD and HD oils for lubricating application, these oils must be refined by suitable processes. From our study, two suitable refining processes were as follow. The pour point of these oils could be improved by the solvent dewaxing. A mixture of MEK and toluene (1:1) was used as solvent to precipitate the wax. After one stage solvent dewaxing by Dilchill dewaxing process at -20℃ and used a volume ratio of oil to solvent 1:3, the recovered LD and HD oils gave the pour point at 11 and 6℃, respectively. Secondly, the viscosity index and oxidation characteristics of the dewaxed oils could be improved by solvent extraction. It was found that the most important factors were the oil to solvent ratio and the operating temperature. The variables of amount of solvent applied and temperature of the extraction were thus to be interrelated and the desired quality oils could be produced with either high solvent dosage and low temperature or a low solvent dosage and high temperature. However, the maximum yield of a given quality oil was produced when a high solvent dosage and low extraction temperature were employed. For this study, 13C-NMR and TG method have been applied to the determination of lube bases composition and to evaluate oxidation stability of lube bases, respectively, instead several standard method. Because these method were more easy and more accurate. Currently, the demand of lubricating oil is so great for construction of the economic-size lube bases production factory, from various oil products in the country, is necessary. Especially, LD and HD oils from distillation of Fang crude are appropriate to be used as lube bases through som improvement in quality by solvent dewaxing and solvent extraction as previous discussion. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47470 |
ISBN: | 9745770132 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Verasak_ta_front.pdf | 3.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Verasak_ta_ch1.pdf | 677.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Verasak_ta_ch2.pdf | 10.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Verasak_ta_ch3.pdf | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Verasak_ta_ch4.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Verasak_ta_ch5.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Verasak_ta_ch6.pdf | 586.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Verasak_ta_back.pdf | 3.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.