Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47499
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา | - |
dc.contributor.author | รุ่งทิพย์ รัตนภานุศร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2016-04-20T01:55:49Z | - |
dc.date.available | 2016-04-20T01:55:49Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47499 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกความหมาย วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความหมายและเปรียบเทียบการขยายความหมายของคำกริยาแสดงการรับรู้ด้วยตาในภาษาไทย 3 คำ ได้แก่ คำกริยา มอง ดู และ เห็น อรรถศาสตร์ปริชานคือกรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษาการขยายความหมายของคำในครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่าคำกริยา มอง ดู และ เห็น เป็นคำหลายความหมาย คำกริยา มอง มี 6 ความหมาย ได้แก่ (1) ส่งสายตาไปยังเป้าหมาย (2) เหม่อลอย (3) สนใจ (4) ติดตามสถานการณ์ (5) คิดพิจารณา และ (6) ประเมิน คำกริยา ดู มี 10 ความหมายได้แก่ (1) ใช้ตารับรู้เป้าหมาย (2) อ่าน (3) ชมการแสดง (4) เอาใจใส่ (5) ติดตามสถานการณ์ (6) คิดพิจารณา (7) ประเมิน (8) ทำให้รู้ (9) แสดงการคาดคะเน และ (10) ดึงความสนใจคำกริยา เห็น มี 7 ความหมายได้แก่ (1) รับรู้เป้าหมายด้วยตา (2) รับรู้ภาพในความคิด (3) คุ้นเคย (4) พบปะ (5) รู้ (6) เชื่อ และ (7) แสดงการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล ความหมายที่แสดงการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทางตาเป็นความหมายพื้นฐานของคำกริยาทั้ง 3 คำ ปริชานหรือกระบวนการทางความคิดคือความหมายที่ขยายจากความหมายพื้นฐาน ความหมายแต่ละความหมายของคำกริยา มอง ดู และ เห็น มีความสัมพันธ์ต่อกันใน 2 ลักษณะดังนี้ (1) การมีความหมายคล้ายคลึงกัน เช่น ความหมาย’เหม่อลอย’ และความหมายพื้นฐานของคำกริยา มอง มีคุณสมบัติร่วมกันยกเว้นคุณสมบัติ [เจตนาในการมอง] ที่ขาดไปในความหมาย ‘เหม่อลอย’ (2) การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความหมายด้วยกระบวนการทางปริชานแบบนามนัยและอุปลักษณ์ เช่น คำกริยา เห็น ขยายความไปยัง ‘พบปะ’ ด้วยนามนัยเนื่องจากการรับรู้ด้วยตาเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการพบปะสังสรรค์ของคนในสังคม คำกริยา มอง ขยายความหมายไปยัง ‘ติดตามสถานการณ์’ ด้วยอุปลักษณ์โดยที่การเฝ้ามองสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่คลาดสายตาถูกเทียบโยงไปยังการสนใจติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามพบว่านามนัยเป็นฐานที่เอื้อให้เกิดการขยายความหมายด้วยอุปลักษณ์ในหลายๆ กรณี เช่น ความสัมพันธ์ที่ยึดโยงกันอยู่อย่างแนบแน่นด้วยนามนัยระหว่างการมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่คลาดสายตากับอากัปกิริยาการเฝ้าติดตามคือที่มาที่ทำให้คำกริยา มอง ถูกนาใช้ในเชิงอุปลักษณ์เพื่อสื่อถึงการสนใจติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study is aimed to classify the senses of the three visual perception verbs in Thai, i.e., /m / ‘look’, /du/ ‘watch’ , and /hen/ ‘see’, to analyze the semantic relations among them, and to compare the meaning extension among these three verbs. The framework for this study is Cognitive Semantics. It is found that /m / , /du/ , and /hen/ are polysemous words. /m / has 6 senses, i.e., (1) to direct the eye (2) to be unmindful (3) to pay attention (4) to follow up a situation (5) to consider and (6) to evaluate. /du/ has 10 senses, i.e., (1) to use one’s sight (2) to read (3) to spectate (4) to take care (5) to follow up a situation (6) to consider (7) to evaluate (8) to make known (9) to assume and (10) to draw attention. /hen/ has 7 senses, i.e., (1) to perceive with the eye (2) to visualize (3) to be familiar with (4) to meet (5) to know (6) to believe and (7) to mark evidentiality. ‘Direct visual perception’ is their basic sense. The other senses, extended from the basic sense are in the cognition domain or the domain of mental processes. All the senses are related to each other by 2 ways: (1) by similarity, e.g. ‘to be unmindful’ sense of /m / shares most properties with the basic sense, except [intention], (2) by metonymy and metaphor. For examples, ‘to see’ is tightly linked to ‘to meet socially’ by metonymy, and ‘to keep looking’ is transferred to ‘to follow up a situation’ by metaphor. However, metonymy is the basis of many metaphorically extended meanings of /m /, /du/, and /hen/ . for example, the metaphorically extended meaning of /m / to ‘to follow up a situation’ is motivated by the metonymic link between ‘to keep looking’ and ‘to physically follow someone or something’. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.82 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ภาษาไทย -- คำกริยา | en_US |
dc.subject | การรับรู้ทางสายตา | en_US |
dc.subject | อรรถศาสตร์ | en_US |
dc.subject | อุปลักษณ์ | en_US |
dc.subject | นามนัย | en_US |
dc.subject | Thai language -- Verb | en_US |
dc.subject | Visual perception | en_US |
dc.subject | Semantics | en_US |
dc.subject | Metaphor | en_US |
dc.title | การขยายความหมายของคำกริยาแสดงการรับรู้ด้วยตาในภาษาไทย | en_US |
dc.title.alternative | Semantic extension of visual perception verbs in Thai | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | ภาษาศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Kingkarn.T@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.82 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
rungthip_ra_front.pdf | 1.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
rungthip_ra_ch1.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
rungthip_ra_ch2.pdf | 4.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
rungthip_ra_ch3.pdf | 2.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
rungthip_ra_ch4.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
rungthip_ra_ch5.pdf | 2.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
rungthip_ra_ch6.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
rungthip_ra_ch7.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
rungthip_ra_back.pdf | 6.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.