Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47526
Title: การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมใน "กรุงเทพ" สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ. 2325-2411
Other Titles: Socio-cultural change in "Bangkok" during the early Rattanakosin period, 1782-1868
Authors: วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์
Advisors: ฉลอง สุนทรวาณิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กรุงเทพฯ -- ภาวะสังคม
กรุงเทพฯ -- ความเป็นอยู่และประเพณี
กรุงเทพฯ -- ประวัติศาสตร์
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2325-
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สภาพการณ์ในยุคแรกของการก่อตัวของกรุงเทพฯ และปัญหากำลังคนเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งในการฟื้นฟูเมือง รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนและผลักดันการอพยพผู้คนเข้าสู่พื้นที่ต่างๆ ผู้อพยพเหล่านี้มาจากรัฐและหัวเมืองที่มีความแตกต่างกันทั้งสภาพแวดล้อม และวัฒนธรรม วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการคลี่คลายเปลี่ยนแปลงภายในสังคมกรุงเทพฯ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ. 2325 – 2411 โดยพิจารณาจากความพยายามของรัฐในการควบคุมสังคม ซึ่งมีความหลากหลายของกลุ่มชนต่างวัฒนธรรมใน "กรุงเทพ" ทั้งนี้เพื่อสร้างเสถียรภาพความปลอดภัย และการฟื้นฟูขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการค้าต่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผลการศึกษาพบว่า ผู้คนในสังคมเมืองกรุงเทพฯในยุคแรกของการก่อตั้งเมืองหลวงใหม่ล้วนเป็นคนแปลกหน้ากัน รัฐบาลวางนโยบายการควบคุมสังคมในระบบเกณฑ์แรงงาน และความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจตามแบบแผนการปฏิบัติตั้งแต่สมัยอยุธยา จำนวนผู้อพยพที่หลั่งไหลเข้าสู้พื้นที่"กรุงเทพ" และการตั้งถิ่นฐานถาวร ยังผลให้เมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว สอดรับกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้าของยุคสมัย รัฐได้ถ่ายทอดแนวทางความคิดเพื่อควบคุมการประพฤติปฏิบัติของผู้คนในสังคม กระแสการเคลื่อนไหวของสังคมเมืองจากปัจจัยภายในดังกล่าว รวมทั้งผลกระทบจากการส่งผ่านวัฒนธรรมต่างด้าว ทำให้การปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเมืองคลี่คลายรูปลักษณ์และสร้างเอกภาพของกรุงเทพฯในเวลาต่อมา
Other Abstract: During the first phase of Bangkok's rise to prominence, the problem of manpower shortage was a crucial factor in the revival of the Thai state. The government encourage as well as organized people to settle in certain areas of Bangkok. These settlers, forced and voluntary, came from various provinces and states, and from different culture and environments. This dissertation studies changes within Bangkok society during the period 1782-1868, concentrating on the state's attemptes to control a culturally diverse community, in order to build up security, and to revive as well as expand the conomic, especially foreign trade, which played a vital role during the early Rattanakosin period. The result of the research show that the inhabitants of Bangkok during this period were all strangers to each other. The government laid down a policy of controlling society through the corvee system as well as through economic ties which had existed since the Ayutthaya period. The number of settlers settlements within the city, led to its rapid expansion, and went hand in hand with the trade economic expansion of that era. The state tried to inculcate certain ideas and principles in controlling the behavior of people in society. These developments caused by internal social factors, and the effects of different foreign cultures on the community, resulted in the unfolding of, and changes in Bangkok's unified character.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47526
ISBN: 9745761923
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wigun_ph_front.pdf928.61 kBAdobe PDFView/Open
Wigun_ph_ch1.pdf549.48 kBAdobe PDFView/Open
Wigun_ph_ch2.pdf7.4 MBAdobe PDFView/Open
Wigun_ph_ch3.pdf7.89 MBAdobe PDFView/Open
Wigun_ph_ch4.pdf4.88 MBAdobe PDFView/Open
Wigun_ph_ch5.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Wigun_ph_back.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.