Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47535
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดนุชา คุณพนิชกิจ-
dc.contributor.authorศศิวรรณ หริมเทพาธิป-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-04-22T06:27:34Z-
dc.date.available2016-04-22T06:27:34Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745673471-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47535-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en_US
dc.description.abstractข้าวโพดผักอ่อนเป็นพืชผักที่นิยมบริโภคกันมากในปัจจุบันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพราะมีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการสูงเกษตรกรในหลายพื้นที่ให้ความสนใจและปลูกข้าวโพดผักอ่อนกันมากขึ้น เพราะนอกจากจะมีตลาดรอบรับผลผลิตอย่างมากมายแล้วยังใช้เวลาตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จเพียง 50-60 วัน เท่านั้น ซึ่งปีหนึ่งๆ จะสามารถปลูกได้ 4-5 ครั้งและการปลูกข้าวโพดผักอ่อนก็ไม่ต้องเอาใจใส่ดูแลรักษามากเหมือนพืชผักอื่นเพราะไม่ค่อยมีโรคพืชหรือแมลงรบกวน วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงต้นทุนและผลตอบแทนการลงทุนจากการปลูกข้าวโพดผักอ่อนในจังหวัดสมุทรสาครและนครปฐมเนื่องจากจังหวัดสมุทรสาครและนครปฐมมีเกษตรกรปลูกข้าวโพดผักอ่อนกันเป็นจำนวนมากและปลูกอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ประมาณว่าเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดผักอ่อนทั้งหมดทั่วประเทศ และด้วยเหตุที่พื้นที่บางส่วนของจังหวัดสมุทรสาครมีปัญหาเรื่องน้ำทะเลขึ้นถึงพื้นที่ปลูกทำให้เกษตรกรต้องหยุดปลูกระยะหนึ่งระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ผู้วิจัยจึงนำมาศึกษาควบคู่กับการปลูกข้าวโพดผักอ่อนในจังหวัดนครปฐมซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกันแต่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำทะเลว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ และเนื่องจากมีการสำรวจพบว่า การคำนวณต้นทุนการปลูกข้าวโพดผักอ่อนที่เคยมีอยู่ยังขาดความสมบูรณ์และไม่เป็นไปตามหลักการทางการบัญชีต้นทุน ผู้วิจัยจึงเสนอวิธีการคิดต้นทุนการปลูกตามระบบบัญชีต้นทุนและคำนวณหาผลตอบแทนที่เกษตรกรพึงจะได้รับจากการปลูกข้าวโพดผักอ่อนโดยจัดกลุ่มเกษตรกรออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกต่ำกว่า 10 ไร่และกลุ่มเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกสูงกว่า 10 ไร่ ผู้วิจัยได้เริ่มศึกษาตั้งแต่การปลูก การดูแลรักษาจนถึงเก็บเกี่ยวเสร็จ โดยเลือกทำการศึกษาในท้องที่ตำบลบ้านเกาะ ตำบลอำแพง เขตอำเภอเมือง ตำบลสวนหลวง ตำบลกระทุ่มแบน ตำบลบางยาง ตำบลท่าเสา ตำบลหนองนกไข่ เขตอำเภอกระทุ่มแบนของจังหวัดสมุทรสาคร ตำบลขุนแก้ว ตำบลนครชัยศรี ตำบลหอมเกร็ด ตำบลท่ากระชับ ตำบลบางช้าง เขตอำเภอนครชัยศรี ตำบลคลองใหม่ เขตอำเภอสามพรานของจังหวัดนครปฐม นอกจากนี้ยังได้ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการปลูกพร้อมทั้งเสนอวิธีแก้ไขรวมทั้งศึกษาถึงตลาดที่เป็นแหล่งจำหน่ายข้าวโพดผักอ่อนทั้งภายในประเทศและการส่งออกไปยังต่างประเทศ ผลของการศึกษาพบว่าการปลูกข้าวโพดผักอ่อนในจังหวัดสมุทรสาครเท่ากับ 4 ครั้งต่อปีถึงแม้มีอิทธิพลของน้ำทะเล แต่จำนวนครั้งที่ปลูกก็ยังมากกว่าการปลูกในจังหวัดนครปฐมซึ่งปลูก 3 ครั้งต่อปี ทั้งนี้เพราะเกษตรกรในจังหวัดนครปฐมใช้เวลาในการพักหน้าดินยาวนานกว่า สำหรับต้นทุนการปลูกข้าวโพดผักอ่อนทั้งหมดโดยเฉลี่ยต่อไร่ต่อการปลูกหนึ่งครั้งของเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกต่ำกว่า 10 ไร่ของจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม และของเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกสูงกว่า 10 ไร่ของจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม เท่ากับ1,563.03 1,613.12 1,467.22 และ1,543.13 บาทตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าต้นทุนการปลูกของเกษตรกรในจังหวัดสมุทรสาครต่ำกว่าของจังหวัดนครปฐมเมื่อนำต้นทุนการปลูกมาเปรียบเทียบกับรายได้ที่เกษตรกรได้รับจากผลผลิตที่ได้ประมาณไร่ละ 800 กิโลกรัม ราคาขายกิโลกรัมละประมาณ 2.75 บาทเกษตรกรจะมีรายได้รวมประมาณ2,200 บาทต่อไร เกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกต่ำกว่า 10 ไร่ของจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม และเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกสูงกว่า 10 ไร่ของจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จะมีกำไรสุทธิประมาณไร่ละ 636.97 586.88 732.78 และ 656.87 บาทตามลำดับ ส่วนผลตอบแทนจาการปลูกข้าวโพดผักอ่อน พบว่าในการวิเคราะห์สถานภาพทางด้านรายได้-ค่าใช้จ่ายมีอัตราค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อรายได้รวมของเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกต่ำกว่า 10 ไร่ของจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม และของเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกสูงกว่า 10 ไร่ของจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐมเท่ากับ 0.71 0.73 0.67 และ 0.70 ตามลำดับและมีอัตรากำไรสุทธิต่อรายได้รวมเท่ากับ 0.29 0.27 0.33 และ 0.30 ตามลำดับ สำหรับการวิเคราะห์ในเชิงเศรษฐกิจมีอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนการปลูกเท่ากับ 40.75 36.38 49.94 และ 42.57 ตามลำดับ และมีอัตรากำไรส่วนเกินต่อต้นทุนการปลูกเท่ากับ 49.63 49.21 61.44 และ 54.63 ตามลำดับ การวิเคราะห์ในเชิงการจัดการฟาร์มมีอัตรารายได้เหนือค่าใช้จ่ายที่แท้จริงต่อต้นทุนการปลูกเท่ากับ 76.46 69.97 81.03 และ 74.07 ตามลำดับ ส่วนการวิเคราะห์หาราคาคุ้มทุน พบว่า ราคาคุ้มทุนต่อกิโลกรัม เท่ากับ 1.95 2.02 1.83 และ 1.93 บาทตามลำดับ ในการจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกรในส่วนใหญ่จะทำการขายให้พ่อค้าที่มารับซื้อถึงพื้นที่ปลูกของเกษตรกรในราคากิโลกรัมละประมาณ 2.00-3.50 บาท พ่อค้าจะนำผลผลิตที่รับซื้อส่วนหนึ่งส่งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตข้าวโพดผักอ่อนบรรจุกระป๋องและอีกส่วนหนึ่งจะทำการปอกเปลือกและส่งขายเป็นผักสดโดยบรรจุถุงพลาสติกส่งไปขายยังประเทศใกล้เคียง เช่นประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง จากสถิติการส่งออกข้าวโพดผักอ่อนของศูนย์บริการส่งออกกรมพาณิชย์สัมพันธ์ แสดงว่าสถิติการส่งออกกำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปีทำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละนับร้อยล้านบาท นอกจากนี้พบว่าการปลูกข้าวโพดผักอ่อนประสบปัญหาหลายอย่าง เช่น ปัญหาด้านการผลิต ได้แก่ พื้นที่ปลูกมีจำกัด ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ที่ดี เกิดโรคราน้ำค้างระบาด เกษตรกรใช้ปุ๋ยไม่เหมาะสม เป็นต้น ส่วนปัญหาด้านการตลาดและราคาพบว่าเกษตรกรไม่มีอำนาจในการกำหนดราคาขายผลผลิตหรือต่อรองราคาได้เลยต้องขึ้นอยู่กับการกำหนดของพ่อค้าผู้รับซื้อแต่ฝ่ายเดียว ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาคือให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันส่งเสริมการปลูกข้าวโพดผักอ่อนโดยจัดหาเมล็ดพันธุ์ที่ดี เผยแพร่เทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมให้ความช่วยเหลือในเรื่องสินเชื่อระยะสั้นแก่เกษตรกรและส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมตัวก่อตั้งเป็นสหกรณ์ผู้ปลูกข้าวโพดผักอ่อน เพื่อให้มีอำนาจในการต่อรองราคากับพ่อค้า ช่วยจัดหาปัจจัยการปลูกให้แก่สมาชิกในราคาถูกและร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้หมดไปen_US
dc.description.abstractalternativeYoung ear corn is a vegetable presently consumed by many people not only in Thailand but also in other countries. This is due to its sweetness, crispness, deliciousness, and nutrimental value. Agriculturists in various areas are increasingly interested in cultivating young ear corn because it can be sold easily and takes only 50 to 60 days for the whole cultivation process. Therefore, it can be cultivated 4 or 5 times a year. Furthermore, it is not so difficult to look after young ear corn cultivation as it is for other vegetables because there are few plant diseases and insects to destroy it. This thesis aims at the study on cost and return on investment of young ear corn cultivation in Samut Sakhon and Nakhon Pathom Provinces. These two provinces are selected because they contain approximately 80 percent of the cultivation of young ear corn in Thailand. Furthermore, some areas in Samut Sakhon Province are flooded by sea tides from January to April, prohibiting the cultivation during that period. Besides, Samut Sakhon and Nakhon Pathom Provinces are also close to each other. Therefore, it is interesting to study and compare the differences in the cultivation in these two provinces. Furthermore, it was found that the cost calculation of the cultivation from past surveys were not complete. It was not computed in accordance with the cost accounting principles. The appropriate methods to calculate the cost of and the return on the cultivation are thus aimed in this thesis, dividing agriculturists into two groups: those who cultivate no more than 10 rais and those who cultivate more than 10 rais. The researcher starts with the study of planting, looking after, and harvesting young ear corn in selected areas namely: Tambon Banko and Tambon Ampheang of the capital district, Tambon Suanluang, Tambon Krathumband, Tambon Bangyang, Tambon Thasoa, and Tambon Nongnokkhai of the Krathumband District in Samut Sakhon Province: Tambon Khunkeaw, Tambon Nakhon Chaisi, Tambon Homkret, Tambon Tha-Krachap, and Tambon Bangchang of the Nakhon Chaisi District, and Tambon Khlongmai of the Samphran District in Nakhon Pathom Province. The problems of the cultivation, together with the local and foreign markets are also studied and suggestions for solving problems encountered are provided. The results from the study show that in spite of the sea tides, agriculturists in Samut Sakhon Province cultivate young ear corn 4 times a year, while those in Nakhon Pathom Province cultivate young ear corn only 3 times a year. This is due to the fact that agriculturists in Nakhon Pathom Province let the land lie fallow for a longer period of time in a year. The costs of the cultivation per crop and per rai for agriculturists who cultivate no more than 10 rais in Samut Sakhon and Nakhon Pathom Provinces and those who cultivate more than 10 rais in those two provinces are 1,563.03, 1613.12, 1,467.22 and 1,543.13 baht, respectively. It can be seen that the cost of the cultivation in Samut Sakhon Province is lower than that in Nakhon Pathom province. Based on the fact that one rai yields approximately 800 kilograms and the selling price is approximately 2.75 baht per kilogram, the agriculturists’ income is approximately 2,200 baht per rai. Those who cultivate no more than 10 rain in Samut Sakhon and Nakhon Pathom Provinces and those who cultivate more than 10 rais in those two provinces earn a profit of about 636.97, 586.88, 732.78 and 656.87 baht per rai, respectively. The ratio of the expenditure to the income of agriculturists is 0.71, 0.73, 0.67 and 0.70, respectively, and the ratio of the net profit to the income is 0.29, 0.27, 0.33 and 0.30, respectively. For the economic analysis, the ratio of the net profit to the cost of cultivation is 40.75, 36.38, 49.94 and 42.57, respectively, and the ratio of the gross profit to the cost of cultivation is 49.63, 49.21, 61.44 and 54.36, respectively. For the farming analysis, the ratio of income over the real cost to the cost of cultivation is 76.46, 69.97, 81.03 and 74.07, respectively. For the break-even analysis, it turns out that the break-even price per kilogram is 1.95, 2.02, 1.83 and 1.93 baht, respectively. Agriculturists usually sell their products to merchants at their farms for the price of approximately 2.00 to 3.50 baht per Hong Kong. According to the statistics concerning the export of young ear corn, obtained from the Export Service Center of the Department of Commercial Relation, the export of young ear corn increases year by year resulting in earnings of many millions baht to Thailand. It was found that in the cultivation of young ear corn, agriculturists face many problems such as limited areas for cultivation, no good seeds, infections of Downy Mildew, and the use of unsuitable fertilizers. Besides, the agriculturists also have market and price problems. That is, they have no power to fix the price or even to bargain. The merchants solely have the bargaining power. Suggestions for solving these problems are that the concerned government officials should encourage agriculturists to cultivate young ear corn, provide good seeds for cultivation, impart new agricultural technology, and help agriculturists with short-term credit. The government officials, moreover, should encourage agriculturists to establish a co-operation so that they can have power to bargain with the merchants, be provided with necessities for cultivation at low prices and co-operate among themselves to solve the various problems that may arise.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectข้าวโพด -- ต้นทุนen_US
dc.subjectการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนen_US
dc.subjectต้นทุนการผลิตen_US
dc.subjectCorn -- Costen_US
dc.subjectBreak-even analysisen_US
dc.subjectCosten_US
dc.titleการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการลงทุนจากการปลูกข้าวโพดฝักอ่อน ศึกษาเฉพาะจังหวัดนครปฐมและสมุทรสาครen_US
dc.title.alternativeCase study on cost and return on investment of young ear corn cultibation in Nakhon Pathom and Samut Sakhon provincesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบัญชีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDanuja@.acc.chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasiwan_rh_front.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwan_rh_ch1.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwan_rh_ch2.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwan_rh_ch3.pdf5.24 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwan_rh_ch4.pdf6.41 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwan_rh_ch5.pdf4.31 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwan_rh_ch6.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwan_rh_ch7.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwan_rh_back.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.