Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47547
Title: | การศึกษาลักษณะเฉพาะและพัฒนาการของโครงข่ายการสัญจร และพื้นที่ปลูกสร้างในบริเวณนครเชียงใหม่ |
Other Titles: | A study of characteristics and development of transportation net work and built up area in the City of Chiang Mai |
Authors: | อิศรา กันแตง |
Advisors: | ขวัญสรวง อติโพธิ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | คมนาคม -- ไทย -- เชียงใหม่ การขนส่ง -- ไทย -- เชียงใหม่ ผังเมือง -- ไทย -- เชียงใหม่ Communication and traffic -- Thailand -- Chiang Mai Transportation -- Thailand -- Chiang Mai City planning -- Thailand -- Chiang Mai |
Issue Date: | 2533 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะค้นหาลักษณะเฉพาะและพัฒนาการของโครงข่ายการสัญจรและพื้นที่ปลูกสร้างในบริเวณนครเชียงใหม่ ประเมินคุณค่าของลักษณะเฉพาะเชิงผังเมืองเพื่อนำผลการศึกษาที่ได้มาเป็นข้อมูลสำหรับการวางผังเมืองเชียงใหม่ และเสนอให้นำวิธีการศึกษาที่คิดค้นขึ้นมาทดลองเทียบเคียงใช้กับการศึกษาเมืองอื่นๆ ต่อไป ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการทางกายภาพของเมืองเชียงใหม่แบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ เมื่อเริ่มก่อรูปพ.ศ.1804-1839 ยุคอดีตพ.ศ.1839-2397 ยุคการเปลี่ยนแปลงพ.ศ.2397-2476 และยุคปัจจุบันพ.ศ. 2476-2532 3 ยุคแรกของพัฒนาการ เมืองเชียงใหม่เปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างช้าๆ เคลื่อนไหวไปทั้งทางบวกและทางลบ แต่ก็ยังคงมีระเบียบแบบแผนและวินัยอยู่ในทิศทางเดียวกันตลอด ทั้งนี้เพราะมีเหตุการณ์ของโลกแวดล้อมที่คล้ายคลึงกัน ลักษณะเฉพาะที่เด่นชัดของเมืองทั้ง 3 ยุค คือ การมีทำเลที่ตั้งเมืองที่ดีที่สุดในภูมิภาคแบบเหนือ การเป็น “เมืองเตี้ย” และ “วนานคร” ที่มีขนาดพอเหมาะ มี “ชั้นเชิง” ของการวางผัง มีความหลากหลายของลักษณะโครงข่ายการสัญจรและพื้นที่ปลูกสร้างอันมีเหตุผลและความเป็นมาที่ชัดเจน และทั้งหมดนี้สามารถตอบสนองต่อความสุขของผู้อยู่อาศัยได้อย่างแท้จริง ในยุคปัจจุบันนี้เองที่พัฒนาการของเมืองเชียงใหม่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เป็นผลจากการเข้ามาจัดการของรัฐบาลภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเฉพาะการกำหนดให้เมืองเชียงใหม่เป็นเมืองหลักของภาคเหนือตอนบนที่มีฐานเศรษฐกิจอยู่ที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งทางแนวดิ่งและแนวราบมีผลให้โครงข่ายการสัญจร และพื้นที่ปลูกสร้างแผ่กระจายเลอะออกไปโดยรอบ ก่อให้เกิดปัญหาการทำลายเอกลักษณ์ของเมือง ปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหามลภาวะ ฯลฯ รวมทั้งปัญหาการบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมชานเมืองและพื้นที่ป่าที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารด้วยผู้วิจัยมีความเห็นว่า เราไม่สามารถหยุดยั้งความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ แต่ขณะเดียวกันก็เชื่อว่า เราสามารถควบคุมและชักจูงผลของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจให้มุ่งไปในทางที่สมควรได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อรักษาเอกลักษณ์และมรดกของการสร้างสรรค์จากอดีตไว้ให้เจริญเติบโตไปพร้อมๆ กับการพัฒนา ด้วยวิธีการทางผังเมือง |
Other Abstract: | The study is aimed to identify the characteristics and values of the city of Chiang Mai’s plan. Findings will be the information for urban planning of Chiang Mai while the methodology can be applied in the study of other cities. The development of transportation net work and built up area in Chiang Mai can be divided into four periods : the formation period (1261-1296 A.D.), the past (1296-1854 A.D.), the changing period (1854-1933 A.D.), and the present (1933-1989 A.D.) It is found that in the first three periods the city of Chiang Mai gradually changed in the same pattern resulting from similar circumstances occurred during those times. The characteristics and values of the city which can be identified as the best location in northern topography, a “Low city”, a garden city of an appropriate size, a strategic planning and a logical pattern of transportation net work and built up area satisfied the living of Chiang Mai’s residents very well. These characteristics and values are damaged in the present period due to rapid growth vertically and horizontally. As the growth center of the north, transportation net work and built up area of Chiang Mai have been spreading vastly causing traffic and pollution problems, invading agricultural fringe and destroying natural resources. Economic development is necessary but its result must be controlled in a way that the characteristics and values of Chiang Mai can be protected and continued in the development of the city. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางแผนภาคและเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47547 |
ISBN: | 9745779083 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Isari_su_front.pdf | 2.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Isari_su_ch1.pdf | 996.55 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Isari_su_ch2.pdf | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Isari_su_ch3.pdf | 4.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Isari_su_ch4.pdf | 11.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Isari_su_ch5.pdf | 10.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Isari_su_ch6.pdf | 13.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Isari_su_back.pdf | 3.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.