Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47553
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชุมพร ปัจจุสานนท์-
dc.contributor.authorรัชดา จุฬารี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-05-18T09:35:55Z-
dc.date.available2016-05-18T09:35:55Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.isbn9746321811-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47553-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสถานภาพทางกฎหมายของข้อกำหนด เพื่อความมั่นคง และสิทธิพิเศษในสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชนต่างประเทศ จากการศึกษาผู้เขียนพบว่า นอกจากข้อกำหนดเพื่อความมั่นคงและสิทธิพิเศษจะมีลักษณะเป็นข้อสัญญาแล้ว ข้อกำหนดดังกล่าวนี้ยังอาจจะมีลักษณะ เป็นคำมั่นของรัฐ หรือการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของรัฐภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นการผิดสัญญาโดยการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาฝ่ายแต่เดียวโดยปราศจากความยินยอมจากคู่สัญญาฝ่ายเอกชนจะก่อให้เกิดความรับผิดชอบระหว่างประเทศแก่คู่สัญญาฝ่ายรัฐ หรืออาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งได้ว่า การไม่ปฏิบัติตามสัญญาซึ่งรัฐได้เข้าทำสัญญาในฐานะรัฐอธิปไตยนั้น รัฐผู้ละเมิดจะเกิดความรับผิดชอบระหว่างประเทศ ประสิทธิภาพของข้อกำหนดดังกล่าวนี้ขึ้นอยู่กับแนวความคิดทางกฎหมายของรัฐคู่สัญญาในหลายประเทศสัญญาเช่นนี้อาจจะถูกเปรียบเทียบว่าเป็นสัญญาทางปกครอง ซึ่งให้อำนาจรัฐคู่สัญญาในการแก้ไขหรือ เพิกถอนสัญญาแต่ฝ่ายเดียว ในทางตรงกันข้ามประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมถือว่าสัญญา เช่นนี้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ทางกฎหมายของสัญญาทางแพ่ง ซึ่งคู่สัญญามีความเสมอภาคกัน และมีความเป็นอิสระในกำหนดข้อผูกพันต่างๆ ในสัญญา จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อสัญญาโดยปราศจากความยินยอมอันร่วมกันของคู่สัญญา ด้วยเหตุนี้ การเลือกกฎหมายใช้บังคับกับสัญญาจึงเป็นเงื่อนไขหน่งที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของข้อกำหนด เพื่อความมั่นคงและสิทธิพิเศษ ถ้าหากว่ากฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญาเป็นกฎหมายภายในและรัฐคู่สัญญา ซึ่งยึดถือแนวคิดของสัญญาทางปกครองนั้นสามารถอ้างได้ว่าการแก้ไข หรือเพิกถอนสัญญาของคนนั้นเป็นการกระทำโดยชอบ ในทางกลับกัน หากคู่สัญญาเลือกแต่กฎหมายระหว่างประเทศ หรือกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศผสมกันได้เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญา ย่อมเป็นการับรองความมั่นคงของสัญญา การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด เพื่อความมั่นคงและสิทธิพิเศษจะก่อให้เกิดความรับผิดชอบของรัฐตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศen_US
dc.description.abstractalternativeThis research has an objective to determine the legal status of stabilization and preferential clauses in contract concluded between State and foreign private investors. The author of this thesis finds that besides a contractual feather of the clause named stabilization and preferential clauses, this clause may be also regarded as State promise or unilateral acts under the international law aspect. Thus, breach of contract by unilateral change the terms of contract without any consent from the private party could bring Stage party to engage international responsibility. In other word, breach of contract concluded by Stage as sovereign must engage international responsibility from State violators. The effectiveness of these clauses depends on the legal concept recognized by State party. In many countries this contract may be assimilate an administrative contract which empower State party to amend or annul unilaterally the terms of contract. In opposition, the other countries especially the industrialized countries believe that this contract based on the legal principle of civil contract, all parties are equal and free to adopt any terms of contract. It is not possible to change the terms of contract without any mutual consent of the parties. Consequently, choice of law is one of the condition of the effectiveness of stabilization and preferential clause. If law governing that such contract is municipal law and State party is under administrative contract concept, State can justify the influence of its amendment or annulment of contractual engagement. On the contrary, if the contrary, if the parties adopt solely international law or municipal law and international law as applicable law, contract has been ensured for their stabilizations. The non-respect of stabilization and preferential clauses engage contractual State responsibility in the light of international law.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสัญญาของรัฐen_US
dc.subjectสัญญา (กฎหมายระหว่างประเทศ)en_US
dc.subjectกฎหมายระหว่างประเทศen_US
dc.subjectความตกลงระหว่างประเทศen_US
dc.titleข้อกำหนดเพื่อความมั่นคงและสิทธิพิเศษในสัญญา ระหว่างรัฐกับเอกชนต่างประเทศen_US
dc.title.alternativeStabilization clause and preferential rights in contracts concluded between government and foreign investorsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorchum_phorn@hotmail.com-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rachada_ch_front.pdf805.69 kBAdobe PDFView/Open
Rachada_ch_ch1.pdf804.38 kBAdobe PDFView/Open
Rachada_ch_ch2.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Rachada_ch_ch3.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open
Rachada_ch_ch4.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open
Rachada_ch_ch5.pdf4.8 MBAdobe PDFView/Open
Rachada_ch_ch6.pdf914.59 kBAdobe PDFView/Open
Rachada_ch_back.pdf519.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.