Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47556
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิชุดา รัตนเพียร-
dc.contributor.authorศศิอร รอสูงเนิน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-05-23T03:40:03Z-
dc.date.available2016-05-23T03:40:03Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746335413-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47556-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของตัวชี้นำความลึกในภาพประกอบการสอนที่มีต่อการรับรู้ความลึกในภาพของเด็กเรียนช้าโดยใช้ตัวชี้นำความลึก 7 แบบคือ ตัวชี้นำความลึกแบบแนวเส้น ตัวชี้นำความลึกแบบขนาด ตัวชี้นำความลึกแบบซ้อนกัน ตัวชี้นำความลึกแบบพื้นผิว ตัวชี้นำความลึกแบบมุมสูง ตัวชี้นำความลึกแบบซ้อนกันผสมมุมสูง และตัวชี้นำความลึกแบบผสมระหว่างแบบแนว-เส้น, ขนาด, ซ้อนกัน, พื้นผิวและมุมสูง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กเรียนช้าชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย โรงเรียนสามเสนนอก โรงเรียนวัดนิมมานรดี และโรงเรียนวัดลาดพร้าว รวมทั้งสิ้นจำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้คือภาพสไลด์ทดสอบการมองตัวชี้นำความลึกทั้ง 7 แบบ จำนวน 70 ภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way Analysis of Varience) และเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนแต่ละคู่ (Multiple Comparison) โดยวิธีของ Tukey ผลการวิจัยพบว่า 1. การรับรู้ตัวชี้นำความลึกในภาพของเด็กเรียนช้า เมื่อใช้ตัวชี้นำความลึกแบบแนวเส้น ตัวชี้นำความลึกแบบขนาด ตัวชี้นำความลึกแบบซ้อนกัน ตัวชี้นำความลึกแบบพื้นผิว ตัวชี้นำความลึกแบบมุมสูง ตัวชี้นำความลึกแบบซ้อนกันผสมมุมสูง และตัวชี้นำความลึกแบบผสมระหว่างแบบแนวเส้น, ขนาด, ซ้อนกัน, พื้นผิว และมุมสูง มีผลกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2.ตัวชี้นำความลึกแบบผสมระหว่างแบบแนวเส้น, ขนาด, ซ้อนกัน, พื้นผิวและมุมสูง มีผลต่อการรับรู้ความลึกในภาพของเด็กเรียนช้า ได้ดีกว่า ตัวชี้นำความลึกแบบพื้นผิว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ตัวชี้นำความลึกแบบผสมระหว่างแบบแนวเส้น, ขนาด, ซ้อนกัน, พื้นผิวและมุมสูง มีผลต่อการรับรู้ความลึกในภาพของเด็กเรียนช้า ได้ดีกว่า ตัวชี้นำความลึกแบบมุมสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.ตัวชี้นำความลึกแบบขนาด มีผลต่อการรับรู้ความลึกในภาพของเด็กเรียนช้าได้ดีกว่า ตัวชี้นำความลึกแบบพื้นผิวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5.ตัวชี้นำความลึกแบบซ้อนกันผสมมุมสูงมีผลต่อการรับรู้ความลึกในภาพของเด็กเรียนช้าได้ดีกว่า ตัวชี้นำความลึกแบบพื้นผิว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research study was to study and compare the effects of depth cues on perception of slow learners. The research study was conducted using seven different categories of depth cues which are: linear perspective; size; interposition; texture gradient; high angle; a combination of high angle and interposition; and a combination of linear perspective, size, interposition, texture gradient, high angle. The subjects were sixty slow learners of Prathom Suksa three from Ridtiyawannalai school, Sarmasnenork school, Watnimmanoradee school, and Watlardprew school. Seventy slides of the above 7 categories of depth cues were used as a tool. The data were then analyzed by using One – Way Analysis of Variance. Mean scores of each pair of depth cues were then compared by the Tukey Test Method. The results were as follows: 1. There was a significant difference at .01 level of slow learners’ perception of depth when viewing pictures from slides using different depth cues. 2. Slow learners perceived better when using a combination of linear perspective, size, interposition, texture gradient, high angle cue as compare to texture gradient cue at .05 level. 3. Slow learners perceived better when using a combination of linear perspective, size, interposition, texture gradient, high angle cue as compare to high angle cue at .05 level. 4. Slow learners perceived better when using size cue as compare to texture gradient cue at .05 level. 5. Slow learners perceived better when using a combination of high angle and interposition cue as compare to texture gradient cue at .05 level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสื่อการสอนen_US
dc.subjectการรับรู้ภาพen_US
dc.subjectการรับรู้ในเด็กen_US
dc.subjectPicture perceptionen_US
dc.subjectPerception in childrenen_US
dc.titleผลของตัวชี้นำความลึกในภาพที่มีต่อการรับรู้ของเด็กเรียนช้าen_US
dc.title.alternativeEffects of depth cues in pictures on the perception of slow learnersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorVichuda.r@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasi-on_ro_front.pdf970.3 kBAdobe PDFView/Open
Sasi-on_ro_ch1.pdf749.01 kBAdobe PDFView/Open
Sasi-on_ro_ch2.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
Sasi-on_ro_ch3.pdf623.47 kBAdobe PDFView/Open
Sasi-on_ro_ch4.pdf597.2 kBAdobe PDFView/Open
Sasi-on_ro_ch5.pdf696.41 kBAdobe PDFView/Open
Sasi-on_ro_back.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.