Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47557
Title: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถกับงานด้านการคลัง พ.ศ.2450-2474
Other Titles: His Royal Highness Prince Chandaburi and his financial work (1907-1931)
Authors: วันเพ็ญ สุจิปุตโต
Advisors: ปิยนาถ บุนนาค
ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: จันทบุรีนฤนาถ, กรมพระ, 2417-2474
การคลัง
ไทย -- ประวัติศาสตร์
Finance, Public
Thailand -- History
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงแนวความคิด นโยบาย บทบาทและผลงานของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการคลังของประเทศในช่วงปี พ.ศ. 2540-2474 รวมถึงต้องการประเมินผลว่าผลงานของพระองค์มีประโยชน์ ประสบความสำเร็จ และมีอุปสรรคในราชการคลังอย่างไร ผลการศึกษาพบว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงมีความคิดและแนวนโยบายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ ทรงทำงานด้วยความอุตสาหะ วิริยะ ทรงเป็นผู้มีความกล้าหาญอย่างมากในการที่จะคัดค้านในสิ่งที่พระองค์ทรงเห็นว่าจะเป็นผลเสียต่อการคลังของประเทศ ผลงานของพระองค์ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงแห่งการดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทั้งนี้เนื่องจากทรงเป็นผู้มีความรับผิดชอบงานคลังโดยตรง และไดรับมอบหมายอำนาจจากพระมหากษัตริย์ในการตัดสินพระทัยด้านการบริหารและการดำเนินการต่างๆ ผลงานที่สำคัญของพระองค์มีหลายประการคือ การปรับปรุงงานในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ การแก้ปัญหาเรื่องเงินตราของประเทศ ตลอดจนการจัดหารายได้มาใช้จ่ายภายในประเทศ รวมถึงการแก้ปัญหาเรื่องการใช้จ่ายเงินของประเทศที่มีอยู่จำนวนจำกัดให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผลจากการดำเนินงานของพระองค์ ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติอย่างมาก ที่สำคัญคือ การรวบรวมหน้าที่เกี่ยวกับพระราชทรัพย์ และการเงินของประเทศมาอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งได้ถือปฏิบัติมาจนถึงในปัจจุบันนี้ ในการดำเนินงานของพระองค์นั้น พระองค์ได้ประสบปัญหาหลายประการ ทั้งจากความยุ่งยากในการบริหารงานคลังโดยทั่วไป อำนาจการบริหารที่มีอยู่อย่างจำกัด ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อันมีส่วนทำให้นโยบายบางประการของพระองค์ไม่ประสบผลสำเร็จ รวมทั้งการถูกริดรอนอำนาจในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางด้านการใช้จ่ายเงินกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จนทำให้พระองค์ต้องทรงขอลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในปี พ.ศ. 2465 แต่แม้กระนั้นพระองค์มิได้ท้อถอยในอันที่จะทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ ยังคงทรงอุทิศตนให้กับงานทางด้านการคลังในหน้าที่ของนายกสภาการคลัง ตามที่ได้รับมอบหมายจากพระมหากษัตริย์ต่อมาตราบจนถึงสิ้นพระชนม์
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study His Royal Highness Prince Chandaburi's ideas, policies, roles and his financial works from 1907 to 1931, and to evaluate the effectiveness of his works, in regards to the management of finance. The results of this study reveal that, first, Prince Chandaburi's ideas and policies were for national benefit; second, he devoted himself completely and perseveringly to his works; third, he was highly courageous and steadfastly defiant against any actions or stipulations deemed harmful to the national financial standings; and fourth, his achievements were mainly obtained during his holding the post of the Minister of Finance. In addition, he was directly responsible for national financial affairs of the state King Rama VI gave him full authority to make appropriate decisions as well as to direct the operations. Same of his numerous great works were the improvement of the framework of the Ministry of Finance and solving national currency problems, scouring national incomes, and successfully coping with the problems of national expenditure. His work was tremendously beneficial to the entire country, especially in the drawing up of job classifications for the royal and the national treasury which was the responsibility of the Ministry of Finance. The blue print was the basis for the present day operation of our monetary system. During his administration of the Ministry of Finance, he encountered numerous obstacles. The greatest ones were the uncertainty and confusion in the operation of the Ministry in general and limited administrative authority under absolute monarchy which in effect, resulted in his inability to effectively run his job. In addition, due to his conflict with King Rama VI on national expenditures, his authority was greatly reduced. The uneasiness caused him to resign from his position in 1922, However, he was not altogether discouraged from countinuing to serve his country. He remained as the President of the Finance Council, the post appointed by King Rama VI and King Rama VII, until his death in 1931
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47557
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1983.36
ISBN: 9745622079
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1983.36
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanpen_su_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ1.91 MBAdobe PDFView/Open
Wanpen_su_ch1.pdfบทที่ 13.19 MBAdobe PDFView/Open
Wanpen_su_ch2.pdfบทที่ 25.15 MBAdobe PDFView/Open
Wanpen_su_ch3.pdfบทที่ 35.31 MBAdobe PDFView/Open
Wanpen_su_ch4.pdfบทที่ 412.16 MBAdobe PDFView/Open
Wanpen_su_ch5.pdfบทที่ 53.34 MBAdobe PDFView/Open
Wanpen_su_ch6.pdfบทที่ 6777.34 kBAdobe PDFView/Open
Wanpen_su_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.