Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47563
Title: ความคาดหวังเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารการศึกษา ในสังคมอุตสาหกรรมใหม่
Other Titles: The expectation of roles of educational administrators in the newly industrialized society
Authors: อินทิรา เทศวิศาล
Advisors: สนานจิตร สุคนธทรัพย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ผู้บริหาร
การบริหารการศึกษา
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารการศึกษาในสังคมอุตสาหกรรมใหม่ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่คาดหวังว่าสังคมไทยในทศวรรษหน้าจะเป็นสังคมอุตสาหกรรมการเกษตรและบทบาทของผู้บริหารการศึกษาควรเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบันในเรื่องของบทบาทส่วนรวมได้แก่ บทบาทในการพัฒนาคน พัฒนางานและพัฒนาตน ส่วนบทบาทเฉพาะด้านควรกระทำใน 3 ฐานะ คือ 1) บทบาทในการเป็นผู้นำ คือชี้นำสังคมโดยแสดงบทบาทในการแสวงหาโอกาสและเผชิญโอกาส นอกจากนั้นควรมีบทบาทในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ชี้ทิศทางการเรียนการสอนที่ถูกต้องให้กับครู ชี้ทิศทางให้เด็กแสวงหาทางออกที่ถูกต้อง เป็นผู้นำทางความคิดทางการศึกษา 2) บทบาทในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา ควรเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงด้านการบริหารหลักสูตร การบริหารบุคคล การบริหารการเงินหรือทรัพยากรท้องถิ่น การบริหารความสัมพันธ์กับชุมชนและบทบาทในการวางแผนและควบคุมงานให้มีคุณภาพ 3) บทบาทในฐานะผู้บริหารการศึกษา ควรจรรโลงวิชาชีพโดยสร้างจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นตัวอย่างอันดีและผลักดันให้มีใบประกอบวิชาชีพ ส่วนการที่ผู้บริหารการศึกษาจะสามารถแสดงบทบาทตามที่คาดหวังได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขเหล่านี้คือ มีความเป็นธรรมในการคัดเลือก มีการปรับปรุงบุคลิกภาพของผู้บริหาร ตลอดจนกำหนดรายได้ให้เพียงพอและกำหนดวุฒิให้จบปริญญาโททางการบริหารการศึกษา
Other Abstract: The objective of the study was to investigate the expectation of roles of educational administrators in the newly industrialized society. Research findings : The majority of the interviewees expected that in the next decade Thailand would turn to be agro-industrialized society and hence, the roles of educational administrators should also be changed. In general, the educational administrators should perform the roles of personnel and task development as well as self development. As for specific roles, they should cover three aspects. The first aspect was administrator as a leader. By this, they should play proactive roles in seeking and facing opportunities, preserving environments and local intellectuals, being instructional leaders, suggesting the right direction for students. The second role, as a school administrator, involved change in the administration of curriculum, personnel, finance and other resources, school-community relations, educational planning and control. The last role, as an educational administrator, they should maintain professionalism through creating professional ethics, being a role model and encouraging the application of teacher license. The facilitating conditions that would enable the administrators to perform these roles were : merit selection, improvement of administrators’ personalities, adequate income and having master’s degree in educational administration.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47563
ISBN: 9745796581
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Intira_te_front.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Intira_te_ch1.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Intira_te_ch2.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open
Intira_te_ch3.pdf656.86 kBAdobe PDFView/Open
Intira_te_ch4.pdf5.38 MBAdobe PDFView/Open
Intira_te_ch5.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open
Intira_te_back.pdf4.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.