Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47631
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรวุฒิ ประดิษฐานนท์-
dc.contributor.authorสมพร รัตนบุรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-05-26T09:14:07Z-
dc.date.available2016-05-26T09:14:07Z-
dc.date.issued2536-
dc.identifier.isbn9745830577-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47631-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มุ่งวิเคราะห์การกัดเซาะและการตกตะกอนในล้ำน้ำเข็ก ช่วงท้ายเขื่อนห้วยแงดถึงหน้าเขื่อนบ้านเข็กใหญ่ ในโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนน้ำเข็ก ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยใช้โปรแกรม HEC-6 รุ่น 4.0 ช่วยวิเคราะห์การกัดเซาะและการตกตะกอนในลำน้ำ และอ่างเก็บน้ำ ขั้นตอนของการศึกษาประกอบด้วย การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่มีอยู่แล้ว และจากการสำรวจภาคสนาม การวิเคราะห์ข้อมูล การปรับเทียบแบบจำลอง และการใช้แบบจำลองในการวิเคราะห์การกัดเซาะและการตกตะกอนทั้งในกรณีที่ไม่มีการสร้างเขื่อน และกรณีที่มีการสร้างเขื่อน นอกจากนั้น ยังได้เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ครั้งนี้กับผลการวิเคราะห์ของกฟผ. ซึ่งใช้โปรแกรม HEC-6 รุ่น 3.2 ที่ใช้ความสัมพันธ์ Toffaleti ผลการศึกษาสรุปได้ว่า หลังจากมีการก่อสร้างเขื่อน และดำเนินงานโครงการผ่านไปเป็นเวลา 50 ปี จะเกิดการกัดเซาะในลำน้ำตั้งแต่ท้ายเขื่อนห้วยแงดจนถึงรูปตัดขวางที่ 14 (PH-A) ซึ่งเป็นบริเวณโรงผลิตไฟฟ้า หลังจากนั้นจะเริ่มมีการตกตะกอนตั้งแต่รูปตัดขวางที่ 13 จนถึงหน้าเขื่อนบ้านเข็กใหญ่ โดยจะมีการตกตะกอนมากที่สุดบริเวณรูปตัดขวางที่ 13 และการตกตะกอนส่วนใหญ่จะอยู่ห่างจากเขื่อนบ้านเข็กใหญ่ไปทางเหนือน้ำมากกว่า 2.5 กม.โดยขนาดของตะกอนประมาณ 78% เป็นตะกอนทราย (Silt) เมื่อเปรียบเทียบผลการศึกษาครั้งนี้กับผลการศึกษาของ กฟฝ. ปรากฏว่าแนวโน้มของการกัดเซาะและการตกตะกอนส่วนใหญ่จะใกล้เคียงกัน กล่าวคือ จะมีการกัดเซาะในลำน้ำตั้งแต่ท้ายเขื่อนห้วยแงดจนถึงรูปตัดขวางก่อนถึงโรงผลิตไฟฟ้า และจะมีการตกตะกอนที่รูปตัดขวางทางท้ายน้ำของโรงผลิตไฟฟ้าจนถึงหน้าเขื่อนบ้านแข็กใหญ่ ซึ่งจากผลการศึกษาทั้งสองครั้งแสดงให้เห็นว่าปัญหาเรื่องการกัดเซาะและตกตะกอนไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน และประสิทธิภาพของโครงการตลอดอายุการใช้งาน อนึ่ง จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าโปรแกรม HEC-6 เป็นโปรแกรมสำหรับการไหล 1 มิติ ไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการวิเคราะห์การกัดเซาะและการตกตะกอน ในกรณีที่ศึกษาลำน้ำภูเขา ที่การเปลี่ยนแปลงสภาพทางกายภาพของลำน้ำได้รับอิทธิพลจากสภาพทางธรณีวิทยามากกว่าอิทธิพลจากการกัดเซาะ และการตกตะกอนen_US
dc.description.abstractalternativeThis study is the analysis of scour and deposition on Nam Khek River from downstream of Huai Ngaet Dam to Ban Khek Yai Regulating Dam which is the part of Nam Khek Hydropower Project of Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT.). HEC-6 version 4.0 programme was used as computer assisted analysis in the study. The study comprised of data collection both from existing and fields surveying; data analysis; model calibration and analysis on present status and after the construction of dam for 50 years period. The result of this study was compared with the studied of EGAT. The result indicated that after 50 years dam operation, scouring would be from downstream of Huai Ngaet Dam to cross section No.14 (PH-A) which is the location of power house "A". Depoition would start after the power house till the approach to Ban Khek Yai Regulating Dam. The maximum deposition occur at cross section No.13 sediment deposition would be more than 2.5 Km., from Regulating Dam , 78% of sediment would be silt. The comparison of this study with the studied of EGAT. Indicated that the tendency of scour and deposition are similar and both show that souring and deposition would not effect operation and efficiency of Regulating Dam for the expected 50 years of project life. The studying show that program HEC-6 which is the one dimensional steady flow model is not appropriate to use in analysis of scouring and depositionon mountainous stream where geometric change of stream is more dominated by geologic morphology than the effect of scouring and deposition.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการกัดเซาะ (วิศวกรรมชลศาสตร์)en_US
dc.subjectการตกตะกอนen_US
dc.subjectScour (Hydraulic engineering)en_US
dc.subjectSedimentation and depositionen_US
dc.titleการวิเคราะห์การกัดเซาะและการตกตะกอน ตอนท้ายเขื่อนห้วยแงด โครงการเขื่อนน้ำเข็กโดยใช้คอมพิวเตอร์en_US
dc.title.alternativeComputer-assisted analysis of scour and deposition at downstream of Huai Ngaet Dam, Nam Khek projecten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somporn_ra_front.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_ra_ch1.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_ra_ch2.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_ra_ch3.pdf5.2 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_ra_ch4.pdf9.49 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_ra_ch5.pdf7.82 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_ra_ch6.pdf749.44 kBAdobe PDFView/Open
Somporn_ra_back.pdf13.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.