Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47665
Title: การศึกษาการดำเนินงานกองทุนยาและเวชภัณฑ์ประจำหมู่บ้านในภาคเหนือ
Other Titles: A study on the operation of health cooperatives in the northern region
Authors: ศักดา ลิ้มโสภาธรรม
Advisors: วชิระ สิงหะคเชนทร์
ณัฐดนัย อินทรสุขศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: กองทุนยาประจำหมู่บ้าน
สาธารณสุข -- ไทย (ภาคเหนือ)
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาการดำเนินงานกองทุนยาประจำหมู่บ้านอันเป็นรูปแบบการดำเนินงานที่จัดตั้งขึ้นโดยชุมชน โดยมีการจัดวางรูปแบบองค์กรบริหารงานในรูปของคณะกรรมการดำเนินงานและคณะกรรมการควบคุมกำกับงานทั้งนี้ในการเริ่มต้นจัดตั้งกองทุนยาประจำหมู่บ้านได้เริ่มต้นจากการเตรียมชุมชนให้มีความเข้าใจวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนยาประจำหมู่บ้าน แล้วให้กลุ่มผู้นำชุมชนในหมู่บ้านไปเผยแพร่การดำเนินงานและดำเนินการจัดตั้งกองทุนยาประจำหมู่บ้านต่อไป วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาถึงการดำเนินงานกองทุนยาประจำหมู่บ้านโดยเก็บตัวอย่างหมู่บ้านในจังหวัดภาคเหนือเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและหาทางปรับปรุงและหารูปแบบที่เหมาะสมในการดำเนินงานกองทุนยาประจำหมู่บ้านซึ่งผลสรุปแสดงให้เห็นว่ากองทุนยาประจำหมู่บ้านโดยส่วนใหญ่กำลังประสบปัญหาที่ต้องการได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งพอสรุปปัญหาสำคัญได้ 2 ประเด็นดังนี้คือ 1. ปัญหาในการดำเนินงาน 2. ปัญหาการจัดการ 1. ปัญหาในการดำเนินงาน 1) ความเข้าใจวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนยาประจำหมู่บ้าน ได้พบว่ามีร้อยละ 69.00 ซึ่งเป็นเพียงความเข้าว่ามียาที่จำเป็นไว้ใช้ในหมู่บ้านแต่ยังไม่ทราบถึงคุณและโทษของยา นอกจากนี้ความเข้าใจยังเป็นไปอย่างผิดๆ เนื่องจากถูกชักชวนกลุ่มผู้นำในหมู่บ้านให้คล้อยตามในขณะที่กลุ่มผู้นำชุมชนก็ยังมีความเข้าใจวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนยาประจำหมู่บ้านน้อยมาก 2) การติดตามผลการดำเนินงานกองทุนยาประจำหมู่บ้านของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพบว่ามีการติดตามผลการดำเนินงานเดือนละ 1 ครั้งร้อยละ 60.00 และ 2 ครั้งร้อยละ40.00 ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ก็ต้องติดตามผลงานสาธารณสุขอื่นๆ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้การสนับสนุนขาดความต่อเนื่อง และเป็นจุดอ่อนให้มียานอกประเภทเข้ามาจำหน่าย 3) ปัญหาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ เกิดจากการประเมินทัศนะความรู้สึกของคณะกรรมการที่มีต่อสิ่งตอบแทนต่ำเกินไปและสิ่งตอบแทนก็ไม่มีแรงจูงใจที่จะกระตุ้นการปฏิบัติงานของคณะกรรมการให้สูงขึ้น 2. ปัญหาการจัดการ 1) ความร่วมมือในระหว่างคณะกรรมการพบว่าความร่วมมือของคณะกรรมการมีน้อยมาก เช่นในการสั่งยามีเพียงร้อยละ 10.00 ส่วนที่มีบทบาทมากได้แก่ การตัดสินใจแก้ไขปัญหาซึ่งมีถึงร้อยละ 70.00 ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากการขาดความสำนึกในหน้าที่และขาดความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตน และการทำงานร่วมกัน 2) ปัญหาทางด้านบัญชีความยุ่งยากทางด้านบัญชีเกิดขึ้นเนื่องจากการขาดความเข้าใจ และไม่ทราบวิธีการลงบัญชีซึ่งส่วนหนึ่งอาจเกิดจากรูปแบบบัญชีไม่เหมาะสมกับสภาพการใช้งานดั้งนั้นจึงพบอยู่เสมอว่ากรรมการที่ร่วมรับผิดชอบในการทำบัญชีพากันละทิ้งงานอยู่เสมอ 3) ปัญหาการจัดส่งยาและซื้อยาเข้าสู่กองทุนยาประจำหมู่บ้าน พบว่ามีระยะเวลาของการสั่งซื้อยาโดยเฉลี่ยเท่ากับ 49.40 วัน/ครั้ง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีระยะเวลาที่ทอดยาวนานมากทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนยา นอกจากนี้ยังมีปัญหาการได้ยาไม่ครบเนื่องจากส่วนกลางขาดการวางแผนการผลิตและการจัดส่งยา
Other Abstract: This thesis is a study on the work of health cooperatives and discusses their relevant problems. At present, health cooperatives play an important role in society. They are founded by the community and are composed of two parts: a governing board and a working committee. The understanding of the objectives and their dessimination among people are necessary steps towards the establishment of this organization. However, most health cooperatives are now facing two major problems. This conclusion is obtained from the findings of research done in villages in the northern provinces of Thailand. A. Problems in operation 1. The objectives are not clear to most of the people. Statistics show that only sixty-nine percent know how to use the right kind of medicine for the treatment. Some even do not know the harm the same type of medicine can do to those who misuse of abuse it. There are still a lot of misunderstandings of how to administer certain drugs. The functions of health cooperative are not truly appreciated. 2. It is reported that the public health officers follow up the work once (60 percent of officers) or twice (40 percent) a month, apart from the supervision of the work in other areas. This results in the lack of continuous commitment and leads to the distribution of new types of medicine . 3. The working staff’s incentives and morale are also affected. They have negative feelings towards the reward system which is considered of little value and certainly cannot highly motivate the ,. B. Problems in management 1. There is little cooperation among the committee themselves. Only 10 percent are involved in the making of an order for medicine and 70 percent in the decision making. This might be caused by the lack of responsibility, together with not enough understanding of each other’s role and the importance of group work. 2. The problems in accounting arise because an insufficient knowledge and a lack of understanding of the system which might be impractical for the present situation. Also, the committee responsible often takes little interest or even leaves the job undone. 3. The making of an order for medicine is done on average once every forty days. As a result, there is not enough medicine in the stock. This leads to an inefficient delivery of medicine, i.e. the list is often incomplete because of no definite planning in advance.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พาณิชยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47665
ISBN: 9745636568
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakda_li_front.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_li_ch1.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_li_ch2.pdf7.85 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_li_ch3.pdf6.63 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_li_ch4.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_li_back.pdf4.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.