Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47711
Title: การเปรียบเทียบค่าประมาณพารามิเตอร์ จากแบบแผนการสุ่มตัวอย่างต่างแบบ
Other Titles: A comparison of the estimation of parameter values from various sampling designs
Authors: สมชัย วงษ์นายะ
Advisors: อุทุมพร จามรมาน
สรชัย พิศาลบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Utumporn.J@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบค่าประมาณพารามิเตอร์ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างต่างแบบและต่างขนาด โดยที่ค่าพารามิเตอร์ในที่นี้คือค่ามัชฌิมเลขคณิตและค่าความแปรปรวน และเพื่อเปรียบเทียบค่าประมาณพารามิเตอร์ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง 7 วิธี กับที่ได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2531 โดยใช้ข้อมูลจากคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคนที่สอบปลายปี ปีการศึกษา 2531 ของจังหวัดสระบุรี ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน 7,335 คน แล้วนำวิธีการสุ่มตัวอย่างทั้ง 7 วิธีคือ วิธีสุ่มอย่างง่าย วิธีการสุ่มแบบมีระบบ วิธีการสุ่มตามชั้นที่ใช้ขนาดของโรงเรียนเป็นตัวแปรแบ่งชั้น วิธีการสุ่มตามชั้นที่ใช้คุณภาพของโรงเรียนเป็นตัวแปรแบ่งชั้น วิธีการสุ่มตามชั้นที่ใช้อำเภอเป็นตัวแปรแบ่งชั้น วิธีการสุ่มตามชั้น 2 ระยะ ที่ใช้อำเภอและขนาดของโรงเรียนเป็นตัวแปรแบ่งชั้น และวิธีการสุ่มตามชั้น 2 ระยะ ที่ใช้อำเภอและคุณภาพของโรงเรียนเป็นตัวแปรแบ่งชั้น มาสุ่มตัวอย่างในขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ความเชื่อมั่น 90%, 95% และ 99% โดยการสุ่มซ้ำ 1,000 ครั้ง เพื่อเปรียบเทียบผลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยในข้อแรก ส่วนวิธีการสุ่มตัวอย่างของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2531 นำมาสุ่มตัวอย่างด้วยขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 1,340 คน เพื่อเปรียบเทียบผลกับวิธีการสุ่มตัวอย่างทั้ง 7 วิธี ทั้งที่มีขนาดของกลุ่มตัวอย่างน้อยกว่าและเท่ากัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ในวิธีการสุ่มตัวอย่าง 7 วิธี ด้วยขนาดของกลุ่มตัวอย่างต่างกัน 3 ขนาด รวม 21 แบบ วิธีการสุ่มแบบมีระบบ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ความเชื่อมั่น 99% ให้ค่าเฉลี่ยของกำลังสองของความแตกต่างระหว่างค่าประมาณพารามิเตอร์กับค่าพารามิเตอร์และส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยของค่าประมาณพารามิเตอร์น้อยที่สุด 2. ในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเท่ากัน วิธีการสุ่มแบบมีระบบให้ค่าเฉลี่ยของกำลังสองของความแตกต่างระหว่างค่าประมาณพารามิเตอร์กับค่าพารามิเตอร์และค่าส่วนเบี่ยงเบนของค่าประมาณพารามิเตอร์น้อยกว่าวิธีการสุ่มแบบอื่นๆ 3. กลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่กว่า ให้ค่าเฉลี่ยของกำลังสองของความแตกต่างระหว่างค่าประมาณพารามิเตอร์กับค่าพารามิเตอร์และค่าส่วนเบี่ยงเบนของค่าประมาณพารามิเตอร์น้อยกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเล็กกว่า ไม่ว่าจะใช้วิธีการสุ่มแบบใดก็ตามใน 7 วิธี 4. วิธีการสุ่มตัวอย่างของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2531 ให้ค่าเฉลี่ยกำลังสองของความแตกต่างระหว่างค่าประมาณพารามิเตอร์กับค่าพารามิเตอร์และค่าส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยของค่าประมาณพารามิเตอร์มากกว่าวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอื่นๆ
Other Abstract: The purposes of this study were to compare the estimate of parameter from various sampling design and sample sizes as well as to compare the estimate of parameter calculated from seven sampling methods with those of the Office of the National Primary Education Commission sampling plan in the academic year of 1988. In this study, the parameters were the arithmetic mean and the variance. The data used in this study were the Mathematic achievement scores of 7,335 Prathomsuksa 6 students from Saraburi Province in the academic year of 1988. The students were taken from the schools under the jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission. For the first purpose of the study, seven sampling methods (simple random sampling, systematic sampling, three different stratified random samplings, and two different stratified two-stage random sampling) were applied to three sample sizes: 90%, 95% and 99% confidence (using repeated sampling of 1,000 times). The estimate of parameter among various sampling designs were compared. For the second purpose, the sampling plan in 1988 of the Office of the National Primary Education Commission were applied with the sample size of 1,340 students. The research results were as follow: 1. From the seven sampling methods with three different sample sizes (21 types), the systematic sampling with the sample size taken at the 99% confidence provided the lowest average square difference between the estimate of parameter and parameter and the lowest average deviation of the estimate of parameter. 2. From the samples with the same sample sizes, the systematic sampling provided the lower average square difference between the estimate of parameter and parameter and the lower average deviation of the estimate of parameter than other sampling method. 3. The larger samples provided the lower average square difference between the estimate of parameter and parameter and the lower average deviation of the estimate of parameter than the smaller ones. 4. The sampling plan of the Office of the National Primary Education Commission provided the highest average square difference between the estimate of parameter and parameter and the highest average deviation of the estimate of parameter.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47711
ISBN: 9745793671
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_wo_front.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_wo_ch1.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_wo_ch2.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_wo_ch3.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_wo_ch4.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_wo_ch5.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_wo_back.pdf8.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.