Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47726
Title: การทำเสถียรตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียโรงย่างแร่สังกะสี
Other Titles: Stabilization of wastewater sludge from a zinc roaster plant
Authors: ศักดา วรพิพัฒน์
Advisors: วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์
บุญยง โล่ห์วงศ์วัฒน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Wongpun.L@Chula.ac.th
Boonyong.L@Chula.ac.th
Subjects: สังกะสี
ตะกอนน้ำเสีย
น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาถึงการทำลายฤทธิ์ตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียโรงย่างแร่สังกะสีโดยกระบวนการทำให้แข็งตัวเป็นก้อนด้วยวัสดุประสานประเภทซีเมนต์ ซึ่งได้แก่ ปูนขาว ปูนซีเมนต์ และปูนซีเมนต์ผสมเถ้าลอยลิกไนต์ โดยทำการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของตะกอนที่ผ่านการทำลายฤทธิ์ ได้แก่ กำลังรับแรงอัด ความหนาแน่น ความซึมน้ำ วิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในน้ำสกัดและทดสอบการชะละลายของโลหะหนัก ซึ่งได้แก่ อาร์เซนิค แคดเมียน โครเมียม ปรอท ตะกั่ว และสังกะสี เพื่อเป็นการยืนยันความสามารถในการทำลายฤทธิ์ตะกอนทั้งนี้การสกัดสารใช้วิธีการทดสอบตามมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม และพิจารณาเลือกวัสดุประสานที่มีประสิทธิภาพในการทำลายฤทธิ์ตะกอนได้ดีที่สุดในอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมและประหยัด จากการทดสอบสรุปได้ว่า ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภท 1 มีประสิทธิภาพในการทำงานฤทธิ์ตะกอนได้ดีกว่าวัสดุประสานอื่นๆ ที่ใช้ในการศึกษาที่อัตราส่วนผสมปูนซีเมนต์ร้อยละ 40 เทียบกับน้ำหนักตะกอนแห้งสามารถทำให้ตะกอนแข็งตัวมีคุณสมบัติทางกายภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสิ่งปฏิกูลที่ผ่านการทำให้แข็งตัวเป็นก้อนของกระทรวงอุตสาหกรรมความเข้มข้นของโลหะหนักในน้ำสกัดต่ำกว่ามาตรฐานสารพิษของกระทรวงอุตสาหกรรม สามารถนำไปกำจัดโดยวิธีการฝังกลบได้ ในการกำจัดตะกอนนี้ มีค่าใช้จ่ายเป็นค่าวัสดุประสาน ค่าขนส่ง ค่าฝังกลบ รวมประมาณ 775 บาทต่อตะกอนน้ำเสีย 1 ตัน หรือประมาณ 15 บาทต่อปริมาณสังกะสีออกไซด์ที่ผลิตได้ 1 ตัน
Other Abstract: A laboratory study was conducted to investigate the stabilization by solidification process of wastewater sludge generated from zinc ore roaster plant by using cementitious binders namely, lime, silica cement, Portland cement and the mixture of silica cement and lignite fly ash. Physical properties including compressive strength, density, permeability and leachability of heavy metals such as As, Cd, Cr, Hg, Pb and Zn were studied to assess the effectiveness of the binders in retaining the hazardous constituents within their matrix. Leachability was determined by the Extraction Test procedure of the Ministry of Industry. And the most economical mixture of binders was also considered. From the study, it is concluded that Portland cement type 1 at a mixing ratio of 40% to the dry weight sludge, is the proper binder. It has higher efficiency in stabilization and solidification than other binders. And the stabilized product met the physical properties criteria promulgated by the Ministry of Industry. The concentrations of heavy metals in the leachate were lower than the standards. The stabilized product is suitable for final disposal in a secured landfill. The estimation cost for binder, transportation, and landfilling is about 775 baht per one metric ton of raw wastewater sludge of 15 baht per one metric ton of Zinc Oxide (ZnO) produced.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47726
ISBN: 9746328832
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakda_vo_front.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_vo_ch1.pdf628.33 kBAdobe PDFView/Open
Sakda_vo_ch2.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_vo_ch3.pdf6.89 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_vo_ch4.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_vo_ch5.pdf13.24 MBAdobe PDFView/Open
Sakda_vo_ch6.pdf482.65 kBAdobe PDFView/Open
Sakda_vo_ch7.pdf303.25 kBAdobe PDFView/Open
Sakda_vo_back.pdf9.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.