Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47787
Title: การศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพของชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของเมืองพัทยา
Other Titles: Study of community's element for enhancing the Identity of Pattaya City
Authors: วสิษฐ พรหมบุตร
Advisors: ดุษฎี ทายตะคุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Dusadee.T@Chula.ac.th
Subjects: การพัฒนาเมือง -- ไทย -- พัทยา (ชลบุรี)
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงและเสริมสร้างลักษณะทางด้านกายภาพของเมืองพัทยาโดยการพัฒนาองค์ประกอบทางด้านกายภาพและองค์ประกอบทางด้านจินตภาพให้อยู่ในดุลยภาพที่เหมาะสมกับชุมชนเมืองท่องเที่ยวชายทะเล ผลการศึกษาทราบถึงเอกลักษณ์สาธารณะ จินตภาพสาธารณะและปัญหาด้านโครงสร้างของชุมชนซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักทางกายภาพ 6 ประการได้แก่ทางเข้า,เส้นทาง,เส้นขอบ,ศูนย์ชุมชน,ย่านและภูมิสัญลักษณ์รวมถึงความหมายอันเป็นความประทับใจที่มีต่อเมืองพัทยาทั้งในระดับชุมชนและในระดับย่าน จากการรับรู้ของกลุ่มบุคคลเป้าหมาย 3 กลุ่มคือผู้ศึกษา บุคคลท้องถิ่น นักท่องเที่ยว ซึ่งพบว่าเอกลักษณ์สาธารณะได้แก่รูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษกล่าวคือการปกครองในระบบสภาและผู้จัดการนคร,ความหลากหลายและผสมผสานกันอย่างซับซ้อนทั้งด้านกายภาพและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง,สถานบันเทิงเริงรมณ์ซึ่งเป็นสิ่งสนับสนุนบทบาททางด้านการท่องเที่ยวของชุมชน จินตภาพสาธารณะอันประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักทางกายภาพ 6 ประการคือทางเข้ามีป้ายบอกนอกเขตเมืองและกลุ่มอาคารเป็นองค์ประกอบที่ช่วยกระตุ้นเตือนให้ทราบว่ากำลังเดินทางเข้าสู่ชุมชน เส้นทางซึ่งเป็นสื่อนำให้องค์ประกอบต่างๆ มีความสัมพันธ์ได้แก่ถนนสายหลัก,ถนนสายรองซึ่งเชื่อมโยงทั้งพื้นที่ของชุมชน เส้นขอบซึ่งเป็นสิ่งแบ่งแยกองค์ประกอบ 2 ประเภทออกจากกันอย่างชัดเจนได้แก่แนวชายทะเล,เขาพระตำหนักซึ่งเป็นขอบเขตของแผ่นดินกับพื้นทะเลและเป็นข้อกำหนดด้านการขยายตัวของชุมชน ศูนย์ชุมชนซึ่งเป็นแหล่งรวมของทั้งผู้คนและมันอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับย่านได้แก่ชายหาดและบาร์เบียร์โดยพิจารณาได้จากความคับคั่งของผู้คนและยวดยาน ย่านซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของอาคารและความหลากหลายของกิจกรรมได้แก่ย่านการค้า-บริการพัทยากลาง,ย่านบาร์เบียร์พัทยาใต้ ภูมิสัญลักษณ์เป็นจุดเด่นและสามารถใช้เป็นจุดอ้างอิงของพื้นที่ได้แบ่งเป็นจุดเด่นที่มองเห็นได้ในระยะไกลได้แก่กลุ่มอาคารสูง,เขาพระตำหนัก ส่วนจุดเด่นที่มองเห็นได้ในระยะใกล้ได้แก่ป้ายโฆษณาต่างๆ ในส่วนของปัญหาด้านองค์ประกอบทางกายภาพซึ่งเกิดจากความไม่ชัดเจนขององค์ประกอบดังกล่าวจำแนกเป็นเส้นทางไร้เอกลักษณ์,เส้นทางชาความสมบูรณ์ได้แก่ถนนพัทยา-นาเกลือและถนนพัทยาสายสองซึ่งเป็นเส้นทางสายรองภายในชุมชน จุดที่สับสนยุ่งเหยิงและบริเวณที่สับสนยุ่งเหยิงไร้เอกลักษณ์ได้แก่บริเวณจุดตัดของถนนสายหลักกับถนนสายรองที่สำคัญรวมถึงความพลุกพล่านในบริเวณศูนย์ชุมชน บริเวณที่ขาดความต่อเนื่องจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งกับพื้นที่และสิ่งปลูกสร้างโดยเฉพาะพื้นที่และอาคารริมน้ำและชายทะเล จุดเด่นไร้คุณภาพได้แก่สิ่งปลูกสร้างที่มีคุณค่าในระดับที่ต่ำเช่นป้ายโฆษณาที่ไร้ระเบียบทำให้ปรากฎคุณค่าต่อการรับรู้ในระดับที่ต่ำ ในส่วนของความหมายอันเกิดจากความประทับใจที่มต่อพื้นที่เมืองพัทยาใต้ได้แก่ความเป็นชุมชนชายทะเลที่มีการปกครองในรูปแบบพิเศษและศูนย์กลางด้านบริการที่มีความหลากหลายของกิจกรรม,ชุมชนชาวประมงดั้งเดิม,ศูนย์การค้าระดับสากลและสถานบันเทิงเริงรมณ์ที่มีชื่อเสียง จากผลของศึกษาสรุปได้ว่าเมืองพัทยาในปัจจุบันมีลักษณะเฉพาะที่ควรแก่การปรับปรุง,แก้ไขและพัฒนาทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อการเสริมสร้างให้ชุมชนมีลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกภาพและยังเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ชาวเมืองอีกด้วย
Other Abstract: The purpose of this thesis is to improve and enhance the physical characteristics of Pattaya City by developing and balancing image elements of its community. The result of the study can be concluded that the public image consists of the physical elements such as gateway, path, edge, node, district and landmark. While paths play the important role of linkages of all elements, edges act as constraints for community expansion for example shoreline and Kao Phrathamnak, then nodes are the centres of people and vehicles for example beaches and bar beers, and districts appear from the transformation of building and variety of activities for example business and services center in central Pattaya, bar beer zones in south Pattaya, and lastly landmarks for example the group of buildings, Kao Phrathamnak and the advertising billboards are the referent points for visitors. Problems found in the study are firstly characterless path and incomplete path for example Pattaya-Na-Klua and the Second Pattaya road, secondly the point and area of confusions; ie., the inter-section of major and minor roads, the concentration of node, thirdly the isolate area ; ie., offshore and seaside building area, fourthly poor quality landmarks ;ie., advertising billboards. The meaning of the Pattaya City perceived by our target groups are the variety of activities, international shopping centre and reputable entertainments. In sum, the physical characteristics of Pattaya City are very significant to develop and enhance in order to build up its identity and better quality of life.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47787
ISBN: 9746335499
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wasis_pr_front.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
Wasis_pr_ch1.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open
Wasis_pr_ch2.pdf7.72 MBAdobe PDFView/Open
Wasis_pr_ch3.pdf11.04 MBAdobe PDFView/Open
Wasis_pr_ch4.pdf17.83 MBAdobe PDFView/Open
Wasis_pr_ch5.pdf6.76 MBAdobe PDFView/Open
Wasis_pr_back.pdf13.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.