Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47800
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสรจักร เกษมสุวรรณ-
dc.contributor.authorรักบุญ คงสำราญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-03T03:16:57Z-
dc.date.available2016-06-03T03:16:57Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746344358-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47800-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractงานศึกษาวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของรัฐ ลักษณะของความรับผิด ทฤษฎีของความรับผิด และองค์ประกอบของความรับผิดชอบของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อนำไปสู่การพิจารณาเรื่องความรับผิดชอบของประเทศอันเกิดจากดาวเทียมตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ กิจกรรมในอวกาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมด้านดาวเทียมเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูงและอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ในกรณีต่างๆ มากมาย ดังนั้นเมื่อดาวเทียมที่อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น รัฐก็จำต้องเข้ามารับผิดชอบในความเสียหายดังกล่าว แต่จากการศึกษาวิจัยพบว่ากฎหมายระหว่างประเทศอันเกี่ยวกับความรับผิดชอบของรัฐตามหลักกฎหมายทั่วไปนั้นยังไม่มีความแน่นอน เนื่องจากแต่เดิมนั้นความรับผิดชอบของรัฐจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการกระทำที่มีเจตนา ถ้าผู้กระทำไม่มีเจตนาผู้นั้นก็ไม่ต้องรับผิด แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นมาจากดาวเทียมไม่ได้เกิดขึ้นมาจากการกระทำที่มีเจตนาหรืออาจเป็นการกระทำที่พิสูจน์เจตนาได้ยาก จึงทำให้กฎหมายระหว่างประเทศเรื่องความรับผิดชอบของรัฐไม่สามารถที่จะนำมาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างเพียงพอ ด้วยเหตุนี้เองจึงมีอนุสัญญาที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบระหว่างประเทศสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นมาจากวัตถุโคจรในอวกาศขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้เป็นภาคีตามอนุสัญญานี้จึงทำให้ระบบของความรับผิดเด็ดขาดตามอนุสัญญานี้ยังไม่ถูกนำมาปรับใช้กับประเทศไทย ดังนั้นความรับผิดชอบของประเทศไทยอันเกิดจากดาวเทียมจึงจำเป็นเป็นที่จะต้องนำเอาหลักความรับผิดชอบของรัฐตามหลักกฎหมายทั่วไปมาใช้ในการตัดสิน การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงควรที่จะต้องเข้ามาร่วมกันพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศเรื่องความรับผิดชอบของรัฐให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะทำให้ปัญหาความไม่แน่นอนของกฎหมายระหว่างประเทศเรื่องความรับผิดชอบของรัฐที่เกิดขึ้นมาจากการใช้ห้วงอวกาศหมดสิ้นไปen_US
dc.description.abstractalternativeThis research has its purposes to study on the issues of state responsibility, nature of responsibility, theories of responsibility and elements of state responsibility under the international law in order to examine state responsibility of Thailand caused by satellite under the international law. Outer Space activities, especially satellite activities are high risk activities which may cause many damages. Therefore, the state shall be bound to responsible for such damages caused by its satellites. This research found that the general international law concerning state responsibility is not precise. The former principle of state responsibility has only applied to intended act and unintended actor should not be liable for any damages. On the other hand, damages caused by satellite only occur from unintended act or from an act that is difficult to prove the actor’s intension. For this reason, the rule of state responsibility under the international law could not apply to such case. The Convention on International Liability for Damage Caused by Space Objects has, consequently, been introduced to respond to the case. At present, Thailand is not a party to this Convention. The absolute liability system of this Convention will not be applied to Thailand. Rather, the rule of state responsibility under the general international law is applied to state responsibility of Thailand concerning the satellite. It is also suggested that the cooperation for development of international law concerning state responsibility should be encouraged in order to eliminate its uncertainty caused by the use of outer space.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectดาวเทียมในโทรคมนาคม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectความรับผิดชอบของรัฐen_US
dc.subjectความรับผิดชอบ (กฎหมาย)en_US
dc.subjectความรับผิดในอุบัติเหตุของยานอวกาศen_US
dc.subjectกฎหมายระหว่างประเทศen_US
dc.subjectOuter Space Treatyen_US
dc.subjectLiability Conventionen_US
dc.subjectดาวเทียมen_US
dc.subjectอวกาศen_US
dc.titleความรับผิดชอบของประเทศไทยอันเกิดจากดาวเทียมตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศen_US
dc.title.alternativeThailand's responsibility under international law concerning satellitesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rakbun_ko_front.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Rakbun_ko_ch1.pdf506.85 kBAdobe PDFView/Open
Rakbun_ko_ch2.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open
Rakbun_ko_ch3.pdf7.09 MBAdobe PDFView/Open
Rakbun_ko_ch4.pdf5.93 MBAdobe PDFView/Open
Rakbun_ko_ch5.pdf3.47 MBAdobe PDFView/Open
Rakbun_ko_ch6.pdf5.12 MBAdobe PDFView/Open
Rakbun_ko_ch7.pdf775.26 kBAdobe PDFView/Open
Rakbun_ko_back.pdf951.63 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.