Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47867
Title: การพัฒนาระบบควบคุมกลุ่มลิฟต์
Other Titles: Development of group elevator control system
Authors: วรวุฒิ จิตขจรวานิช
Advisors: กฤษดา วิศวธีรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Krisada.V@chula.ac.th
Subjects: ลิฟต์ -- การควบคุม
เครื่องควบคุมลิฟต์
การควบคุมอัตโนมัติ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้กล่าวถึงการพัฒนาระบบกลุ่มลิฟต์โดยสาร โดยเน้นที่การออกแบบโครงสร้างระบบควบคุม การพัฒนาวิธีการเลือกส่งลิฟต์ และการพัฒนาโปรแกรมที่สามารถตรวจสอบสมรรถนะของวิธีการเลือกส่งลิฟต์นั้น โครงสร้างระบบที่ออกแบบเป็นโครงสร้างแบบกระจายศูนย์การควบคุม ซึ่งเครื่องควบคุมลิฟต์เดี่ยวแต่ละตัวจะทำหน้าที่เป็นทั้งตัวควบคุมลิฟต์และตัวควบคุมกลุ่ม เครื่องควบคุมแต่ละตัวจะทำงานประสานกันได้ด้วยการติดต่อกันทางสายสื่อสาร ซึ่งใช้ส่งข้อมูลด้วยกระแส วิธีเลือกส่งลิฟต์ที่ใช้ในการควบคุมกลุ่ม ได้แก่ การเลือกส่งลิฟต์ไปรับเมื่อมีการกดเรียก และการจัดการทราฟฟิกของลิฟต์ วิธีการเลือกส่งลิฟต์ที่พัฒนาขึ้น ใช้หลักการของการพิจารณาเวลารอลิฟต์ และการคำนวณค่าประเมินการจอดและการเดินทาง ทำให้ลดค่าเวลารอลิฟต์เฉลี่ยลงได้ประมาณ 50% และลดโอกาสการเกิดการรอลิฟต์นานได้มากกว่า 80% เมื่อเทียบกับการเลือกส่งลิฟต์แบบไม่มีหลักเกณฑ์ การคำนวณค่าประเมินการจอดและค่าประเมินการผ่านที่ชั้นต่างๆ จะช่วยทำให้ลดเวลารอลิฟต์ลงได้อีก 5-15% การทดสอบทั้งหมดกระทำผ่านโปรแกรมจำลองระบบลิฟต์และโปรแกรมสร้างชุดข้อมูลจำลองการใช้ลิฟต์ ซึ่งพัฒนาขึ้นภายใต้งานวิจัยวิทยานิพนธ์นี้
Other Abstract: This thesis describes the development of a group elevator control system. Its emphasis is on the designing of control system structure, the development of calls allocation algorithm and the development of computer program for testing the system. The distributed control system was chosen to be the suitable configuration, and a multidrop current loop transmission was designed to be used in the system. Various methods of hall call assignment algorithm have been studied and compared by the elevator simulation program, then the waiting time minimization methods had been developed. It was found that the waiting time can be reduced by 50% and the probability of long waiting can be decreased 80% when compared to uncontrolled assignment. The method was modified by adding the consideration of probable stopped and passed floor. It was found that the modified methods can reduce the waiting time by 5-15% compared to that of non-modified methods.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47867
ISBN: 9745698598
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worawut_ch_front.pdf18.8 MBAdobe PDFView/Open
Worawut_ch_ch1.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Worawut_ch_ch2.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Worawut_ch_ch3.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Worawut_ch_ch4.pdf4.47 MBAdobe PDFView/Open
Worawut_ch_ch5.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open
Worawut_ch_ch6.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open
Worawut_ch_ch7.pdf10.52 MBAdobe PDFView/Open
Worawut_ch_ch8.pdf731.06 kBAdobe PDFView/Open
Worawut_ch_back.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.