Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47886
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปณิธาน ลักคุณะประสิทธิ์ | - |
dc.contributor.author | สุมลรัตน์ รัตนสุภากร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2016-06-05T07:03:22Z | - |
dc.date.available | 2016-06-05T07:03:22Z | - |
dc.date.issued | 2539 | - |
dc.identifier.isbn | 9746330977 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47886 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 | en_US |
dc.description.abstract | เหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นเกย์ซึ่งพัดผ่านบริเวณภาคใต้ เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 และยังผลให้เสาสายส่งไฟฟ้าในจังหวัดชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ล้มพังเสียหายกว่า 30 ต้น โดยที่เสาสายส่ง 6 ต้นในจำนวนนั้นพังเสียหายในสภาพที่ยังไม่ได้ติดตั้งสายไฟฟ้านั้น ได้ก่อให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องทบทวนข้อกำหนดในการคำนวณแรงกระทำที่ใช้ในการออกแบบเสาสายส่งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลการออกแบบโครงสร้างเสาสายส่งไฟฟ้า โดยใช้ข้อกำหนดการออกแบบเสาสายส่งที่กำหนดโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และข้อกำหนดใหม่ที่เสนอโดยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออนตาริโอ ประเทศแคนาดา รวมทั้งทำการศึกษากรณีศึกษา หาค่าความเร็วลมวิกฤติของเสาสายส่งชนิด DAI (ซึ่งวิบัติเมื่อคราวพายุไต้ฝุ่นเกย์ 3 ต้น) ในสาย 230 เควี ในสภาพที่ไม่ได้ติดตั้งสายไฟฟ้า เพื่อเปรียบเทียบกับความเร็วลมเนื่องจากพายุไต้ฝุ่นเกย์ซึ่งเสนอโดย Mikitiuk และคณะ (1995) โดยทำการวิเคราะห์ทั้งแบบเชิงเส้นและไม่เชิงเส้นทางเรขาคณิต จากการเปรียบเทียบข้อกำหนดทั้งสอง พบว่า ข้อกำหนดเวสเทิร์นออนตาริโอคิดแรงลมบนโครงสร้างโดยคำนึงถึงการกระจายความเร็วตามกฏการยกกำลัง และยังพิจารณาแรงแพชโหลด (Patch load) เนื่องจากลมกระโชกกระทำเพียงบางส่วนของเสาสายส่ง ด้วยเหตุนี้ แรงลมที่กระทำบนเสาสายส่งเมื่อใช้ข้อกำหนดเวสเทิร์นออนตาริโอจึงมีค่าสูงกว่าเมื่อใช้ข้อกำหนดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ซึ่งพิจารณาการกระจายของแรงลมสม่ำเสมอและไม่คำนึงถึงแพชโหลด สำหรับในเสาสายส่ง DAI เมื่อแรงลมกระทำในทิศตั้งฉากกับสายไฟฟ้าแรงเฉือนและโมเมนต์ที่ฐานมีค่าสูงกว่าเส่อใช้ข้อกำหนดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ 25 และ 37 % ตามลำดับ และสำหรับแรงลมกระทำในทิศขนานสายไฟฟ้า แรงเฉือนที่ฐานมีค่าใกล้เคียงกัน ในขณะที่โมเมนต์ที่ฐานจะมีค่าสูงกว่าราว 8% เมื่อทำการวิเคราะห์เสาสายส่ง DAI โดยวิธีเชิงเส้น จะได้แรงภายในวิกฤติในชิ้นส่วนทแยง เมื่อใช้ข้อกำหนดการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ โดยมีค่าเท่ากับ 1.28 เท่าของกำลังรับแรงอัดของหน้าตัดของชิ้นส่วนนั้น และชิ้นส่วนที่มีแรงภายในเกินกำลังรับแรงอัดส่วนมากจะเป็นชิ้นส่วนทแยง ในกรณีของข้อกำหนดเวสเทิร์นออนตาริโอ ชิ้นส่วนส่วนมากที่มีแรงภายในเกินกำลังรับแรงอัดของชิ้นส่วนเป็นชิ้นส่วนขา โดยที่ชิ้นส่วนที่วิกฤติที่สุดเกิดแรงภายในเป็น 1.52 เท่าของกำลังรับแรงอัด สำหรับกรณีที่คิดผลของความไม่เชิงเส้นทางเรขาคณิตบนเสาสายส่ง DAI ในสภาพที่ยังไม่ได้ติดตั้งสายไฟฟ้า จะได้ความเร็วลมวิกฤติเฉลี่ย 1 ชั่วโมง เมื่อใช้ข้อกำหนดไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ และข้อกำหนดเวสเทิร์นออนตาริโอเท่ากับ 38.4-47.2 และ 28.9-39.3 เมตร/วินาที ตามลำดับ ขึ้นอยู่กับมุมที่แรงลมกระทำ และเมื่อเปรียบเทียบกับความเร็วลมเนื่องจากพายุไต้ฝุ่นเกย์ ซึ่งมีค่าประมาณ 37.5 เมตร/วินาที พบว่าข้อกำหนดเวสเทิร์นออนตาริโอให้ค่าความเร็วลมวิกฤติต่ำกว่าความเร็วลมเกย์ในเกือบทุกทิศทางของลมยกเว้นทิศทางตั้งฉาก (หรือเกือบตั้งฉาก) กับสายไฟฟ้า ซึ่งความเร็วลมสูงกว่าความเร็วลมเกย์เล็กน้อย ทำให้สามารถอธิบายการวิบัติของเสาสายส่งได้ ดังนั้นจึงสมควรพิจารณาผลของความไม่เชิงเส้นทางเรขาคณิตในการออกแบบโดยใช้ข้อกำหนดเวมเทิร์นออนตาริโอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพที่ไม่ได้ติดตั้งสายไฟฟ้า | en_US |
dc.description.abstractalternative | The Typhoon Gay that struck the upper part of Southern Thailand on November 4, 1989, causing severe damages to more than 30 transmission towers including 6 towers which failed in the unstrung condition in Chumphon and Prachuap-Khirikhan, prompted the necessity to review the adequacy of the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) guidelines for calculating forces in transmission tower design. One of the objectives of this research was to compare transmission tower design based on the existing EGAT design guidelines and the new ones proposed by the University of Western Ontario (UWO). The critical wind speed for the case study tower “DAI” (three of which failed in Typhoon Gay) in the 230 kv line with no cables erected yet was determined in order to compare it with the Gay wind speed predicted by Mikitiuk et al. (1995). Both linear and geometric nonlinear analyses were performed. Comparison of the two guidelines reveals that the UWO guidelines assume the Power Law distribution in addition to incorporating the patch load condition to account for the dynamic response from gusts acting on some parts of the towers, resulting in considerable larger forces than those depicted by the EGAT criteria which assume uniform distribution. For tower DAI, the base shear and moment for transverse wind are 25 and 37% higher than those based on the EGAT guidelines, respectively, whereas for the longitudinal wind direction, the base shears are about the same while the base moment is 8% higher for the UWO guidelines. Linear analyses of tower DAI based on the EGAT guidelines resulted in compressive force in the most critical member, which was a bracing member, were bracing members. For the case of the UWO guidelines, most of the members with resulting internal forces exceeding their capacities were leg members, with the most critical member stressed to 1.52 times its compression capacity. Geometric nonlinear analyses of the tower without cables gave rise to the critical mean hourly wind speeds (at 10 metres height) of 38.4-47.2 m/s for the EGAT guidelines and 28.9-39.3 m/s for the UWO specifications, depending on wind directions. The UWO critical wind speeds were less than the Gay wind speed of 37.5 m/s in most wind directions (except transverse or higher than the Gay wind speed). The failure of the towers could thus be predicted. Geometric nonlinearity should therefore be considered in transmission tower design especially in the unstrung condition. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การเปรียบเทียบข้อกำหนดการออกแบบและวิธีการวิเคราะห์ เพื่อการออกแบบเสาสายส่งไฟฟ้าในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | Comparison of guidelines and analysis methods for transmission tower design in Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | lpanitan@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sumolrat_Ra_front.pdf | 2.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumolrat_Ra_ch1.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumolrat_Ra_ch2.pdf | 3.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumolrat_Ra_ch3.pdf | 2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumolrat_Ra_ch4.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumolrat_Ra_ch5.pdf | 727.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumolrat_Ra_ch6.pdf | 11.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sumolrat_Ra_back.pdf | 4.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.