Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47887
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เกรียงศักดิ์ สายธนู | - |
dc.contributor.advisor | วิมล เหมะจันทร | - |
dc.contributor.author | สุมา เมืองใย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2016-06-05T14:44:31Z | - |
dc.date.available | 2016-06-05T14:44:31Z | - |
dc.date.issued | 2531 | - |
dc.identifier.isbn | 9745689025 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47887 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 | en_US |
dc.description.abstract | ได้ทำการวิเคราะห์หาปริมาณแบคทีเรียทั้งหมด (total viable count), โคไลฟอร์ม (coliform), ฟิคลอลโคไลฟอร์ม (fecal coliforms), Salmonella spp. และมารีนวิบริโอ (Marine vibrios) ในหอยตะโกรม (Crassostrea lugubris), หอยนางรมปากจีบ (C.commercialis) และหอยแครง (Anadara sp.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการวิเคราะห์พวกมารีนวิบริโอนั้นจะศึกษาทั้งชนิดและปริมาณ ในขณะเดียวกันก็ได้ทดลองเปรียบเทียบวิธีการวิเคราะห์หาแบคทีเรียพวกโคไลฟอร์มและฟิคอลโคไลฟอร์มโดยวิธีที่แตกต่างกัน 8 วิธี เป็นวิธี multiple tube dilution techniques 6 วิธี และวิธี direct plate count 2 วิธี ผลการเปรียบเทียบวิธีการในการวิเคราะห์หาปริมาณโคไลฟอร์มทั้งหมด และฟิคอลโคไลฟอร์มใน หอยตะโกรมและหอยนางรมปากจีบไม่พบนัยสำคัญทางสถิติของความแตกต่างของค่าที่ได้จากวิธีการต่างๆ แต่ในตัวอย่างหอยแครงพบว่าปริมาณของโคไลฟอร์มทั้งหมดค่าที่ได้จากวิธีการ multiple tube dilution techniques จะแตกต่างจากวิธี direct plate count อย่างมีนัยสำคัญโดยค่าที่ได้จากวิธี direct plate count จะสูงกว่าส่วนปริมาณฟิคอลโคไลฟอร์มในตัวอย่างหอยแครงจากวิธีการต่าง ๆ ไม่พบนัยสำคัญทางสถิติของความแตกต่างเช่นกัน วิธีที่ดีที่สุดในการศึกษาครั้งนี้คือวิเคราะห์หาปริมาณโคไลฟอร์มทั้งหมดโดยใช้อาหาร MacConkey Broth และวิเคราะห์หาปริมาณของฟิคอลโคไลฟอร์มโดยใช้อาหาร EC. Medium เพียงอย่างเดียว คุณภาพของหอยจากแหล่งเพาะเลี้ยงและจากตลาดพบว่าปริมาณแบคทีเรียทั้งหมด และโคไลฟอร์มในตัวอย่างหอยทุกชนิดจากตลาดจะสูงกว่าตัวอย่างที่มาจากแหล่งเพาะเลี้ยง ส่วนปริมาณมารีนวิบริโอในหอยจากแหล่งเพาะเลี้ยงจะพบสูงกว่า ตรวจไม่พบ Salmonella spp. ในตัวอย่างหอยทุกชนิดที่เป็นตัวอย่างจากตลาดรวมทั้งหอยตะโกรมและหอยนางรมปากจีบจากแหล่งเพาะเลี้ยง แต่ตรวจพบในหอยแครงที่เก็บมาจากแหล่งเพาะเลี้ยงจังหวัดสุราษฎร์ธานีในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2530 ผลการพิสูจน์เพื่อแยกแยะชนิดของมารีนวิบริโอที่ได้จากหอยทั้งหมด พบว่ามีมารีนวิบริโอที่พบมาอย่ 3 ชนิด คือ Vibrio parahaemolytieus, V. alginolyticus ซึ่งพบมากในหอยทุกชนิด และ Vibrio sp. .ซึ่งมีลักษณะโคโลนีแบบ MV 2 คือมีโคโลนีสีเหลืองและตรงกลางนูน (ambonate) บน TCBS ซึ่งไม่สามารถแยกชนิดได้โดยจะพบมากในหอยแครง ซึ่งสัณนิษฐานว่าเป็นวิบริโอชนิดใหม่ | en_US |
dc.description.abstractalternative | On the investigation of microbiological quality of Crassostrea lugagris, C. commercialis and Anadara spp. From various culture areas and markets, total viable count, total coliforms, fecal coliforms, Salmonella spp. and marine viobrios were determined. Special attentions were paid in the species identification and density of marine viobrios. In addition, comparison of 8 methods for determining the total coliforms and fecal coliforms were also undertaken. There were 6 methods of multiple tube dilution methods and 2 methods of direct plate count. There were no significant differences among methods used in determining total coliforms and fecal coliforms in oysters, C. ligubris and C. commercialis. However in cockle, the total coliforms determined by the direct plate count were significantly higher than those determined by the multiple tube dilution techniques. But there were no significant differences among methods used in determining the fecal coliforms in cockles. The best methods proposed from this study for determining total coliforms and fecal coliforms were using MacConkey Broth and EC. Medium respectively. The result revealed that total viable count and coliform bacteria in samples from markets were higher than those from culture areas. However, high density of marine vibrios were detected in samples from culture area. According to the results of species identification, 3 species of marine vibrios were the most abundant. They were Vibrios parahaemolyticus, V. alginolytieus and Vibrios sp. The latter was characterized as yellow colony and ambonate when growing on TCBS. It was likely to be a new species which was found in high density in cockles. Salmonella spp. Were not found in all bivalves from markets. They were not found in oysters from culture area. However, Salmonella spp. were detected in cockles collected from culture area in Surat Thani during August, 1987. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | คุณภาพทางจุลชีววิทยาของหอยนางรมและหอยแครง จากแหล่งเพาะเลี้ยงและจากตลาด โดยเน้นแบคทีเรียพวกมารีนวิบริโอ | en_US |
dc.title.alternative | Microbiological quality of oysters and cockles from culture areas and markets with emphasis on marine vibrios | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์ทางทะเล | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | Wimon.H@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suma_ma_front.pdf | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suma_ma_ch1.pdf | 3.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suma_ma_ch2.pdf | 2.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suma_ma_ch3.pdf | 12.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suma_ma_ch4.pdf | 1.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suma_ma_ch5.pdf | 976.47 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suma_ma_back.pdf | 3.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.