Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47909
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์-
dc.contributor.authorศักดิ์ อินพิรุด-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-06T02:23:49Z-
dc.date.available2016-06-06T02:23:49Z-
dc.date.issued2533-
dc.identifier.isbn9745773638-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47909-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาผลของการยกน้ำหนักที่มีต่อความแม่นยำในการโยนลูกในกีฬาเปตองและเปรียบเทียบความแม่นยำในการโยนลูกเปตองระหว่างการฝึกด้วยวิธีฝึกโยนลูกเปตองประกอบการยกน้ำหนักกับวิธีฝึกโยนลูกเปตองอย่างเดียวกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชายชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดชุมพร จำนวน 48 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มทดลองที่ 3 และกลุ่มควบคุม ให้ทุกลุ่มมีจำนวนเท่ากันและมีความแม่นยำในการโยนลูกในกีฬาเปตองไม่แตกต่างกัน จากการทดสอบก่อนการฝึกความแม่นยำในการโยนลูกในกีฬาเปตอง และวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อก่อนการฝึกด้วย ทำการทดลองโดยให้ทุกกลุ่มฝึกกีฬาเปตองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน โดยกลุ่มทดลองที่ 1 ฝึกทักษะการโยนลูกเปตองอย่างเดียว เป็นเวลา 60 นาที กลุ่มทดลองที่ 2 ฝึกทักษะการโยนลูกเปตองเป็นเวลา 40 นาที และทำการฝึกยกน้ำหนักอีก 20 นาที กลุ่มทดลองที่ 3 ฝึกทักษะการโยนลูกเปตองเป็นเวลา 60 นาที และทำการฝึกยกน้ำหนักอีก 20 นาที และกลุ่มควบคุมปล่อยให้เล่นกีฬาเปตองเองตามลำพังเป็นเวลา 60 นาที ทำการทดสอบความแม่ยำในการโยนลูกในกีฬาเปตอง และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของทุกๆกลุ่มในวันเสาร์ ของสัปดาห์ที่ 2,4, 6 และ 8 นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธี เอช เอส ดี ของตูกี (TUKEY – HSD) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความแม่นยำในการโยนลูกในกีฬาเปตองระหว่างก่อนการฝึกกับหลังการฝึกของทุกกลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการเปรียบเทียบความแม่นยำในการโยนลูกในกีฬาเปตองหลังการฝึกพบว่า 2.1 กลุ่มทดลองที่ 3 มีความแม่นยำในการโยนลูกในกีฬาเปตองมากที่สุด 2.2 กลุ่มทดลองที่ 2 มีความแม่นยำในการโยนลูกในกีฬาเปตองมากกว่ากลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มควบคุม 2.3 กลุ่มทดลองที่ 1 มีความแม่นยำในการโยนลูกในกีฬาเปตองมากกว่ากลุ่มควบคุม ทั้งนี้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to investigate and to compare the effects of weight training on the accuracy of boule throwing in petanque. The subjects were 48 freshman male students of Chumporn Physical Education College. They were divided into four equal groups, one controlled group and three experimental groups, and were not different on accuracy by matching after pretested on the accuracy of boule throwing in petanque. And they were also pretested on muscle strength. All four groups participated in training program for 8 weeks, three-day a week. The first experimental group trained on the accuracy of boule throwing in petanque for sixty minutes. The second experimental group trained on the accuracy of boule throwing in petanque for fourty minutes plus twenty minutes in weight training. The third experimental group trained on the accuracy of boule throwing in petanque for sixty minutes plus twenty minutes in weight training. The controlled group played only in petanque for sixty minutes. They were tested after 2nd, 4th, 6th and 8th weeks. The obtained data from pretest and posttest were then analyzed by SPSSX in terms of means, standard deviations and the t-test. One-Way Analysis of Variance and Tukey-HSD were also exployed to determine the significance of difference. It was found that: 1. The accuracy of boule throwing in petanque of all groups between pre and post tested were significantly different at the level of .05 2. The results of comparison on the accuracy of boule throwing in petanque after training were: 2.1 The 3rd experimental group had the best on the accuracy of boule throwing in petanque. 2.2 The 2nd experimental group had better on the accuracy of boule throwing in petanque than the 1st experimental group and the controlled group. 2.3 The 1st experimental group had better on the accuracy of boule throwing in petanque than the controlled group. All of these were statistically significant at the level of .05.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการฝึกยกน้ำหนักen_US
dc.subjectเปตองen_US
dc.titleผลของการฝึกยกน้ำหนักที่มีต่อความแม่นยำในการโยนลูกในกีฬาเปตองen_US
dc.title.alternativeEffects of weight training on the accuracy of boule throwing in petanqueen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพลศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorlprapat@gmail.com-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sak_in_front.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Sak_in_ch1.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Sak_in_ch2.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Sak_in_ch3.pdf630.84 kBAdobe PDFView/Open
Sak_in_ch4.pdf5.6 MBAdobe PDFView/Open
Sak_in_ch5.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Sak_in_back.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.