Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47947
Title: | การสกัดแทนนินจากเปลือกเงาะ |
Other Titles: | Extraction of tannin from rambutan peel |
Authors: | สุวรงค์ วงษ์ศิริ |
Advisors: | สุเมธ ชวเดช เพียรพรรค ทัศดร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Sumaeth.C@chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Issue Date: | 2536 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานทดลองวิจัยสกัดสารแทนนินจากเปลือกเงาะ แบ่งออกเป็น 3 การทดลองย่อย การทดลองแรก คือ การสกัดแบบแช่ครั้งเดียวไม่มีการกวนผสม อุปกรณ์ทดลองเป็นขวดแก้ว (Erlenmeyer flask) ขนาดความจุ 250 มิลลิลิตร โดยพบว่าเปลือกเงาะขนาดที่เหมาะสม คือ 1-2 มิลลิเมตร การสกัดที่ช่วงอุณหภูมิ 30-70°เซลเซียส ควรใช้ตัวทำละลายเอธานอล 50% หรือสารละลาย 1% และ 3% Na2SO3 ช่วยสกัด ส่วนการสกัดที่อุณหภูมิสูง (90°เซลเซียส) ควรใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย อัตราส่วนเปลือกเงาะต่อตัวทำละลายที่เหมาะสม = 1:10 เวลาที่ใช้แช่เมื่อสกัดที่อุณหภูมิต่ำ (30-50°เซลเซียส) ยาวนานกว่า 24 ชั่วโมงยังไม่เข้าสู่สภาวะคงตัวที่อุณหภูมิสูงขึ้น (70° เซลเซียส) ใช้เวลาอยู่ในช่วง 9-24 ชั่วโมง ส่วนที่อุณหภูมิ 90°เซลเซียส ใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมง การทดลองที่ 2 คือ การสกัดแบบแช่ที่มีการกวนผสมเพื่อศึกษากราฟที่สภาวะสมดุล (Equilibrium line) และ ค่าสัมประสิทธิ์ของการแพร่ (kˊA/b) ที่อุณหภูมิสกัดต่างๆ โดยได้ความสัมพันธ์ระหว่าง kˊA/b กับอุณหภูมิของตัวทำละลาย ( เคลวิน) เป็นเส้นตรง คือ kˊA/b = 0.192 T – 56.09 เมื่อใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย และ kˊA/b = 0.203 T – 59.37 เมื่อใช้สารละลายเอธานอล 50% เป็นตัวทำละลาย ภายใต้สภาวะการทดลองคือ ขนาดเปลือกเงาะ 1-2 มิลลิเมตร อัตราส่วนเปลือกเงาะต่อตัวทำละลาย = 1:10 อุณหภูมิ 30°-70°เซลเซียส และความเร็วรอบเครื่องกวนแม่เหล็ก 500 รอบต่อนาที การทดลองที่สามคือ การสกัดกึ่งต่อเนื่องสวนทางกัน อุปกรณ์ทดลองเป็นกระบวกสแตนเลสจุ 3 ลิตร ภายในมีกระบอกเจาะรูสำหรับบรรจุเปลือกเงาะ โดยมีกระบอกทดลองทั้งหมด 6 ชุด วางไว้ในอ่างอังไอน้ำที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ เวลาที่ใช้แช่ต่อหนึ่งถังสกัด 1/2 ชั่วโมง พบว่าสารละลาย 3%/Na2SO3มีประสิทธิภาพสูงกว่าสารละลาย 1% Na2SO3 และสารละลายเอธานอล 50% เล็กน้อย แต่มีประสิทธิภาพสูงกว่าน้ำมาก เมื่อสกัดที่อุณหภูมิ 70°เซลเซียส ดังนั้นการเมสาร Na2SO3 จึงมีความเหมาะสมและไม่ก่อผลการใช้เนื่องจากต้องใช้ในกระบวนการฟอกหนังด้วย อนึ่งระบบสกัดแบบกึ่งต่อเนื่องสวนทางกัน ให้ประสิทธิภาพการสกัดสารแทนนินสูงกว่าแบบสกัดครั้งเดียวมีการกวนผสม ในขณะที่ระบบสกัดครั้งเดียวไม่มีการกวนผสมมีประสิทธิภาพต่ำสุด |
Other Abstract: | The experimental studies of tanning extraction from rambutan peel were devided into 3 main parts. The first part was the batch extraction without mixing. The extraction units were 250 ml. Erlenmeyer flasks. It was found that the optimum size of rambutan peel was 1-2 mm.. For the temperature 30-70℃, 50% ethanol, 1% and 3% Na2SO3 should be used. When the extraction temperature raised up to 90℃, pure water should be used. The optimum ratio of rambutan peel to solvent was about 1:10.The optimum extraction time was 9 and 3 hours at 70℃ and 90℃, respectively. The second study was to determine the tannin equilibrium curve and the diffusion coefficients (kˊA/b) at different temperatures by using a mixing vessel. It was found that the term of kˊA/b was linear function of the extraction temperature ( K) kˊA/b = 0.192 t – 56.09 for pure water and kˊA/b = 0.203 T – 59.37 for 50% ethanol under the studied conditions : size = 1-2 mm., the ratio of rambutan peel to solvent = 1:10, temperature = 30°-70℃ and mixing speed of the magnetic stirrer = 500 rpm. The third study was the semi – continuous counter current extraction. Six units of 3 litres stainless steel cylinders were used. Each extracter cylinder had a porous cylinder filled up with rambutan peel inside. These six units were partially immersed in the water bath. It was reveaed that for the extraction time of 1/2 hours, the 3% Na2SO3 solvent yielded a better efficiency than using 1% Na2SO3, 50% ethanol and pure water at 70℃. Therefore, Na2SO3 addition is appropriate and does not cause any harm in using since Na2SO3 is a common chemical used in tanning industry. It is concluded that the semi-continuous counter-current extraction system could improve significantly the tannin extraction efficiency in comparision with the batch with mixing system. Meanwhile, the batch without mixing system had the lowest extraction efficiency. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคมีเทคนิค |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47947 |
ISBN: | 9745815985 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suwarong_wo_front.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwarong_wo_ch1.pdf | 347.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwarong_wo_ch2.pdf | 2.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwarong_wo_ch3.pdf | 940.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwarong_wo_ch4.pdf | 3.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwarong_wo_ch5.pdf | 305.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwarong_wo_back.pdf | 2.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.