Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47961
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ | - |
dc.contributor.author | สถาพร นิรันดโรภาส | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2016-06-06T09:18:43Z | - |
dc.date.available | 2016-06-06T09:18:43Z | - |
dc.date.issued | 2531 | - |
dc.identifier.isbn | 9745695971 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47961 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้เป็นวิธีการวิเคราะห์โครงแบบกึ่งข้อแข็ง ซึ่งสามารถนำไปใช้กับโครงสร้างที่มีรอยต่อที่มีลักษณะแบบ ข้อหมุน ข้อแข็ง และแบบกึ่งข้อแข็ง ในการวิเคราะห์โครงสร้างกึ่งข้อแข็ง ใช้วิธีทำซ้ำเข้าช่วย ซึ่งเป็นการวิเคราะห์แบบเชิงเส้นตามวีการรวมสติฟเนสโดยตรงหลาย ๆ ครั้งกลับไปกลับมา โดยการสมมติให้ความสัมพันธ์ของรอยต่อมีสมการโมเมนต์และมุมเปลี่ยนเป็นสมการเชิงเส้นในแต่ละรอบที่ทำการคำนวณ วิธีการทำซ้ำจะสิ้นสุดลงเมื่อค่ามุมเปลี่ยนที่ได้จากสมการเชิงเส้นที่สมมติมีค่าสอดคล้องกับสมการความสัมพันธ์จริงของรอยต่อ ผลการวิเคราะห์โครงสร้างแบบกึ่งข้อแข็งจะได้จากสมการความสัมพันธ์เชิงเส้นของรอยต่อที่ได้สมมติขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย ในการศึกษาได้หาสมการความสัมพันธ์โมเมนต์กับมุมเปลี่ยนของรอยต่อในโครงสร้างเหล็ก 4 ประเภท คือ แบบ Single Web Angle, Header Plate, Top and Seat Angle และ End Plate ซึ่งสมการความสัมพันธ์ของรอยต่อจะอยู่ในรูปแบบของสมการพหุนาม โดยขึ้นอยู่กับขนาดหรือสัดส่วนของรอยต่อ เช่น ความหนาของเหล็กฉาก ความยาวของเหล็กฉาก ความหนาของแผ่นเหล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางสลักเกลียว ฯลฯ ค่าสัมประสิทธิ์และระดับขั้นของสมการพหุนามหาได้จากการเปรียบเทียบผลการทดสอบที่ผ่านมา โครงสร้างแบบ คาน โครงข้อแข็ง และ โครงข้อหมุน ได้ใช้เป็นกรณีศึกษาเพื่อการวิเคราะห์หาผลของรอยต่อแบบกึ่งข้อแข็งที่มีต่อพฤติกรรมโครงสร้าง การวิเคราะห์ได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วย ผลของการศึกษาพบว่า โครงสร้างประเภทคานและประเภทโครงข้อแข็งจะเกิดโมเมนต์ในองค์อาคารมากน้อยขึ้นอยู่กับเฟลกซิบิลิตีของรอยต่อ กล่าวคือถ้ารอยต่อที่มีสติเฟเนสสูงโมเมนต์ลบที่ปลายองค์อาคารจะสูงกว่ากรณีที่มีสติฟเนสต่ำ อนึ่งการแอ่นตัวและการเคลื่อนที่จะขึ้นกับสติฟเนสของรอยต่อเช่นกัน สำหรับโครงข้อหมุนเมื่อรอยต่อมีสติฟเนสมากขึ้น แรงเฉือนและโมเมนต์ในองค์อาคารจะมีค่ามากขึ้นแต่แรงในแนวแกนและการแอ่นตัวของโครงสร้างจะลดลง จากการศึกษาจะพบว่ารอยต่อแบบ Single Web Angle, Header Plate และ Top and Seat Angle จะมีพฤติกรรมเชิงข้อหมุนมากกว่า แต่แบบ Top and Seat Angle จะมีขีดความสามารถในการรับแรงดัดได้มากกว่า 2 แบบแรก สำหรับรอยต่อแบบ End Plate เป็นรอยต่อที่มีความแข็งแรงมากที่สุด แต่ความแข็งยังไม่มากพอที่จะเป็นรอยต่อแบบข้อแข็งได้ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study concerns the analysis of frames with semi-rigid connections and may be applied to frames with any combinations of pinned, rigid or semi-rigid connections. An iterative method is employed in the analysis procedure. The iterative method utilizes repeated modifications to the moment-rotation function, assumed to be linear for all connections in each cycle of iteration. When a suitable set of rotations have been arrived at for the connections, a single analysis is performed based on the linear relationships assumed for the connections in the final cycle. The moment and rotation relationships for 4 types of steel framing connections were investigated : single web angle, header plate, top and seat angle and end plate connections. The actual relationships are in the form of polynomial functions of the size or dimension of the connections, such as angle thickness, angle length, plate thickness, bolt diameter etc. The coefficients and the degree of the polynomials were determined from past experimental data. Beams, frames and trusses with various types of connections were analyzed to examine the effects of semi-rigid connections on structural behavior. A computer program was employed to analyze such structures. It was found that the negative moment for beams and rigid frames were influenced by connection flexibility ; the stiffer the joint, the more negative moment at the joint. The deformations were also controlled by the connection stiffness. For trusses, stiffer connections produced more shears and moments while reducing the axial forces. The behavior of single web angle, header plate and top and seat angle connections were closed to that of a pinned connection. However, the top and seat angle connections had greater moment resistance than the single web angle and header plate. The end plate connection had the highest stiffness but were not as stiff as a rigid connection. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การวิเคราะห์โครงสร้าง (วิศวกรรมศาสตร์) | en_US |
dc.subject | โครงสร้างกึ่งข้อแข็ง | en_US |
dc.subject | รอยต่อ (วิศวกรรมศาสตร์) | en_US |
dc.subject | โครงสร้างเหล็ก | en_US |
dc.subject | คาน -- รอยต่อ | en_US |
dc.subject | โปรแกรมคอมพิวเตอร์ | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์โครงสร้างเหล็กที่มีรอยต่อ ระหว่างคานและเสาเป็นแบบกึ่งข้อแข็ง | en_US |
dc.title.alternative | Analysis of steel frames with semi-rigid beam-to-column connection | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Ekasit.L@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sathaporn_ni_front.pdf | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathaporn_ni_ch1.pdf | 650.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathaporn_ni_ch2.pdf | 927.31 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathaporn_ni_ch3.pdf | 4.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathaporn_ni_ch4.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathaporn_ni_ch5.pdf | 2.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathaporn_ni_ch6.pdf | 763.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathaporn_ni_back.pdf | 8.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.