Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47973
Title: เครื่องอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยการถ่ายโอนความร้อนด้วยของไหล
Other Titles: Solar dryer with fluid heat transfer
Authors: สำคัญ รัตนบุรี
Advisors: วิจิตร เส็งหะพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการวิจัยนี้ได้สร้างเครื่องอบแห้งโดยอาศัยของเหลวพาความร้อนจากตัวดูดกลืนความร้อนไประบายออกที่ตัวระบายความร้อน ซึ่งวางอยู่ที่ส่วนล่างห้องอบ ห้องอบได้สร้างขึ้นด้วยโครงเหล็กฉากและปิดผนังโดยรอบด้วยโฟมกันถ่ายเทความร้อนกว้าง 66 ซม. ลึก 33 ซม. และสูง 30 ซม. เจาะรูจำนวน 7 x 11 รู มีเส้นผ่าศูนย์กลางรูละ 1 ซม. ที่ฐานห้องอบและฝาห้องอบ สำหรับเป็นช่องระบายอากาศ ช่องระบายอากาศสามารถเปลี่ยนขนาดได้โดยปิดรูบางรู ในการทดลองใช้ช่องระบายอากาศสามแบบด้วยกัน แบบแรกเปิดรูทุกรู แบบที่สอบเปิดรูทีฝากล่อง 57% แบบที่สามเปิดรูที่ฝากล่อง 31% ศึกษาโดยใช้น้ำเป็นของเหลวใช้งาน ทดลองกับช่องระบายอากาศ 3 แบบ เมื่อนำตัวดูดกลืนความร้อนไปแช่ไว้ในน้ำร้อน อุณหภูมิต่างๆ อุณหภูมิห้องอบจะเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิน้ำร้อน ขณะน้ำร้อนมีอุณหภูมิช่วง 79-81 ℃ ห้องอบมีอุณหภูมิช่วง 60-65 ℃ ผลจากการอบถั่วลิสงความหนาแน่น 2 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เมื่อใช้ตะแกรงหนึ่งชั้นด้วยช่องระบายอากาศแบบที่ 1 ช่องระบบอากาศแบบที่ 2 และช่องระบายอากาศแบบที่ 3 เปอร์เซนต์ความชื้นลดลงจาก 100% เหลือ 81% ด้วยเวลา 72 นาที 62 นาที และ 67 นาที ตามลำดับ ฉะนั้นช่องระบายอากาศแบบที่ 2 เปอร์เซนต์ความชื้นลดลงเร็วที่สุด จึงเลือกช่องระบายอากาศแบบที่ 2 อบถั่วลิสงความหนาแน่น 2 กิโลกรัมต่อตารางเมตร เมื่อใช้ตะแกรง 2 ชั้น ได้ผลว่าเปอร์เซนต์ความชื้นลดลงจาก 115% เหลือ 106% ด้วยเวลา 120 นาที นั่นคือเปอร์เซนต์ความชื้นลดลงช้ากว่าเดิม จึงเปลี่ยนให้ความหนาแน่นของถั่วลิสงลดลงเหลือ 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ได้ผลว่าเปอร์เซนต์ความชื้นลดลงจาก 100% เหลือ 81% ด้วยเวลา 70 นาที ก็ได้ผลไม่ดีกว่าอบด้วยตะแกรงหนึ่งชั้น เมื่อใช้น้ำผสมน้ำยาปรับความเย็นเป็นของเหลวใช้งาน ขณะน้ำร้อนอุณหภูมิช่วง 79-81 ℃ ผลการทดลองอบถั่วลิสงบนตะแกรงชั้นเดียวความหนาแน่น 2 กิโลกรัมต่อตารางเมตรกับช่องระบายอากาศแบบที่ 2 เปอร์เซนต์ความชื้นลดลงจาก 100% เหลือ 81% ด้วยเวลา 60 นาที ฉะนั้นเปอร์เซนต์ความชื้นลดลงดีกว่าใช้น้ำเป็นของเหลวใช้งาน จากนั้นได้สร้างช่องระบายอากาศแบบที่ 4 ขึ้น โดยดัดแปลงจากช่องระบายอากาศแบบที่ 2 ด้วยการนำมุ้งลวดไปปิดไว้ที่ฐานกล่องและฝากล่อง เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนให้สิ่งแวดล้อม ผลการทดลองอบถั่วลิสงพบว่าเปอร์เซนต์ความชื้นลดลงจาก 100% เหลือ 81% ด้วยเวลา 50 นาที ช่องระบายอากาศแบบที่ 4 จึงดีที่สุด จากนั้นตัวดูดกลืนความร้อนไปวางไว้ที่โฟกัสของจานพาราโบลาสะท้อนแสง ผลที่ได้นำมาเปรียบเทียบกับการตากแดดตามธรรมชาติ พบว่า ผลทางอัตราการแห้งไม่ดีไปกว่าการตากแดดตามธรรมชาติ
Other Abstract: A dryer was built, using liquid to transport heat from heat absorber to heat radiator which was put in the lower part of the drying room. The drying room was built out of iron angles and insulated with Styrofoam 66 cm width 33 cm depth and 30 cm height. A number of holes (7 x 11) of 1 cm diameter were bored in bottom and top sides of the drying room for ventilation. The ventilation can be changed by covering up some of the holes. Three types of ventilations were used in the experiment namely the first with all the holes. Open, the second with 57% of the top side holes open and the third 31 % of the top side holes open. The experiment was conducted by using water as the working liquid with three types of yentilation. When heat absorber was placed in hot water of controlled varying temperatures, the temperature of the drying room increased accordingly with a small time lag. When hot water has a temperature in the 79-80 ℃ range, the drying room has a temperature of 60-65 ℃. Peanuts with a density of 2 kg/m2 , when put into the dryer had the percentage of humidity decreased from 100 % to 81% after 72, 62 and 67 minutes, respectively using one layer of wire grid with first, second and third types of ventilation. Thus, the percentage of humidity decreased fastest with second types of yentilation, so it was chosen to dry peanuts with a density of 2 kg/m2 using 2 layers of wire. The percentage of humidity decreased from 115 to 106 after 120 minutes, that is, it decreased more slowly, so, the density of peanuts was changed to l kg/ m2 with the result that the percentage of humidity decreased from 100 to 81 after 70 minutes which was no better than using one layer of wire, When water mixed with coolant was used as the working liquid, it was found that with the water of temperature 79-81 ℃, peanuts with a density of 2 kg/m2 using second kind of ventilation, the percentage of humidity decreased from 100 % to 81 % after 60 minutes so it decreased better than using water alone, The fourth types of ventilation was subsequvently built by modifying the second types of ventilation by living the base and cover of drying room with wires to prevent heat loss to the environment. It was found that the percentage of humidity in peanuts decreased from 100% to 81 % after 50 minutes there by asserting that the fourth types of ventilation was best. Heat absorber was then put at the focal point of the deflecting parabola dish and compared the results with natural drying, It is found the drying rate was not better than the natural drying.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ฟิสิกส์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47973
ISBN: 9745765112
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Samkun_ra_front.pdf1.78 MBAdobe PDFView/Open
Samkun_ra_ch1.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Samkun_ra_ch2.pdf4.25 MBAdobe PDFView/Open
Samkun_ra_ch3.pdf5.68 MBAdobe PDFView/Open
Samkun_ra_ch4.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Samkun_ra_back.pdf443.02 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.