Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47977
Title: การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปฏิกิริยาและผลิตภัณฑ์ ของเตาไพโรไลซิสแบบไหลขึ้น
Other Titles: Study on the factors affecting reaction and products of an updraft pyrolysis furnace
Authors: สิทธิศักดิ์ อุปริวงศ์
Advisors: สุทธิรักษ์ สุจริตตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เตาไพโรไลซิสแบบไหลขึ้น เป็นเตาขนาดเล็กที่ใช้ในการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในเตา อันได้แก่ ปฏิกิริยาไพโรไลซิสเพื่อการกลั่นสลายชีวมวลโดยความร้อนให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ของก๊าซ น้ำมัน และถ่าน โดยปฏิกิริยารีดักชั่นเพื่อการผลิตก๊าซเชื้อเพลิง และปฏิกิริยาไฮโดรไลวิสเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตก๊าซเชื้อเพลิง จากผลการทดลองพบว่า ถ้าใช้แกลบเป็นวัตถุดิบ จะสามารถผลิตก๊าซที่มีค่าความร้อน 1,340 คาลอรี่ต่อกรัมได้ประมาณ 19.9 เปอร์เซ็นต์ ผลิตของเหลวทาร์ได้ 18.3 เปอร์เซ็น ซึ่งสามารถนำไปสกัดเอาน้ำมันทาร์ที่มีค่าความร้อน 5,540 คาลอรี่ต่อกรัมได้ประมาณ 3.15 เปอร์เซนต์ และผลิตถ่านแกลบมีค่าความร้อน 4,620 คาลอรี่ต่อกรัมได้ประมาณ 61.8 เปอร์เซนต์ ในกรณีใช้ขี้เลื่อยอัดเป็นวัสดุทดลอง สามารถที่จะผลิตก๊าซที่มีค่าความร้อน 1,908 คาลอรี่ต่อกรัม ได้ประมาณ 30.1 เปอร์เซ็นต์ สกัดน้ำมันทาร์มีค่าความร้อน 6,870 คาลอรี่ต่อกรัม ได้ประมาณ 10.8 เปอร์เซ็นต์ และผลิตถ่านเลื่อยอัดมีค่าความร้อน 5,540 คาลอรี่ต่อกรัมได้ประมาณ 33.9 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิ 700 °ซ. โดยกำหนดระยะเวลาเก็บกักถ่านนาน 90 นาที จะพบว่าถ่านขี้เลื่อยอัดถูกใช้ไปในปฏิกิริยารีดักชั่น ประมาณ 7-8 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก และถูกใช้ในปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส ประมาณ 4-5 เปอร์เซ็นต์ โดยการให้ไอน้ำเพื่อให้ทำปฏิกิริยาไฮโดรซิสกับถ่านคาร์บอนนั้น สามารถช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงได้ 31.35 เปอร์เซ็นต์ หรือทำให้ค่าความร้อนของก๊าซที่ผลิตได้เพิ่มขึ้นประมาณ 18.23 เปอร์เซ็นต์ ที่อัตราการให้ไอน้ำ 10 มล. ต่อนาที
Other Abstract: A lab-scale updraft biomass pyrolysis furnace was utilized for determination of chemical reactions in the furnace including destruction of biomass by pyrolytic reaction produces gas oil and charcoal reduction reaction producing fuel gas and hydrolysis reaction increasing the efficiency of fuel gas production. The results of the experiment indicated that using rice husk as raw material, the gas production was 19.9 percent by volume having calorific value of 1,340 cal/g. About 18.3 percent of liquid tar was produced and about 3.15% of oil tar having 5,540 cal/g can extracted. About 61.8% of charcoal having calorific value of 4,620 cal/g was also produced. In case of using bark pellet as raw material, production of gas having calorific value of 1,908 cal/g was 30.1 percent. About 10.8 percent of oil tar having calorific value of 6,870 cal/g was extracted. About 33.9 percent of bark pellet charcoal having calorific value of 5,540 cal/g was produced. At temperature of 700 ℃ and 90 minute retention time, it was found that about 7-8 percent by weight of bark pellet charcoal was used in reduction reaction and about 4-5 percent by weight was used in hydrolysis reaction. By feeding steam into furnace at 10 ml/min causing hydrolysis reaction increased fuel gas production by 31.35 percent and increased gas calorific value about 18.23 percent.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47977
ISBN: 9745810991
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sittisak_up_front.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Sittisak_up_ch1.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Sittisak_up_ch2.pdf3.35 MBAdobe PDFView/Open
Sittisak_up_ch3.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open
Sittisak_up_ch4.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open
Sittisak_up_ch5.pdf4.56 MBAdobe PDFView/Open
Sittisak_up_ch6.pdf851.97 kBAdobe PDFView/Open
Sittisak_up_back.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.