Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48027
Title: การศึกษาโครงสร้างของตัวแปลภาษาวอตฟิฟ
Other Titles: A study of structure of Watfiv compiler
Authors: ศศิธร มโนดำรงธรรม
Advisors: วิชาญ เลิศวิภาตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: wichan@cp.eng.chula.ac.th
Subjects: ภาษาฟอร์แทรน
ภาษาคอมพิวเตอร์
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตัวแปลภาษาคือโปรแกรมสำหรับแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถตีความได้ซึ่งทำให้ผู้เขียนโปรแกรมไม่ต้องคอยพะวงกับรายละเอียดของขั้นตอนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยเหตุนี้เองจึงมีการพยายามพัฒนาตัวแปลภาษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อช่วยผู้เขียนโปรแกรมและในขณะนี้ที่สถาบันบริการคอมพิวเตอร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเตรียมตัวแปลภาษาที่ใช้ในการแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องให้กับผู้เขียนโปรแกรมด้วยเช่นกัน ตัวแปลภาษาที่ใช้อยู่นี่คือตัวแปลภาษาวอตฟิฟ ทำงานภายใต้การควบคุมของระบบโอเอสริเอสวัน ของเครื่องไอบีเอ็ม 3031 ซึ่งจะทำงานได้รวดเร็วแต่เนื่องจากยังไม่มีผู้ศึกษาในรายละเอียดของตัวแปลภาษานี้จึงทำให้เป็นการยากที่จะเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างในตัวแปลภาษาในเวลาต่อมา ดังนั้นการใช้ตัวแปลภาษานี้จึงใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรการศึกษาโครงสร้างหลักของตัวแปลภาษา จะช่วยให้เข้าใจขั้นตอนการดำเนินงานของตัวแปลภาษานี้และสามารถปรับปรุงการทำงาน ในการศึกษาโครงสร้างของตัวแปลภาษาวอตฟิฟ นอกจากจะศึกษาจากเอกสารที่มีอยู่แล้ว ยังได้ทดสอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมซึ่งทำหน้าที่ช่วยในการทดสอบ (GTF) ตรวจสอบโมดูลที่ถูกเรียกใช้งานในการกำหนดงานแต่ละลักษณะ ผลของการทดลองปรากฏว่า โครงสร้างของตัวแปลภาษาวอตฟิฟมีเพียงเฟสเดียวคือ ‘WATFIV’ ในเฟสดังกล่าวยังได้แบ่งออกเป็นโมดูลหลักๆ ซึ่งแต่ละโมดูลจะทำหน้าที่แตกต่างกันดังนี้ 1.การจัดการข้อมูลนำเข้า/ข้อมูลออก: จะทำหน้าที่ในการอ่านข้อมูล และการเขียนข้อมูล ทั้งในช่วงการแปลและการทำงานจริง 2. การจัดการหน่วยความจำ : จะทำหน้าที่จัดแบ่งเนื้อที่ทำงานให้กับข้อมูลนำเข้าและข้อมูลออก และตัวควบคุมระบบ 3. การขัดจังหวะ : จะทำหน้าที่ขัดจังหวะโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ทั้งในช่วงการแปลและช่วงทำงานจริง 4. การคิดบัญชี : จะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลต่างๆเพื่อเก็บเป็นสถิติ เช่น เวลาที่ใช้ในการพิมพ์, ปริมาณเนื้อที่ที่เก็บข้อมูล, ฯลฯ 5. ฟังชันก์ของระบบควบคุม : จะทำหน้าที่ในการเรียกใช้โปรแกรมต่างๆ ตลอดการทำงาน 6. โปรแกรมประกอบ : จะทำหน้าที่ในการสร้างและใช้ชุดโปรแกรม จากการที่โมดูลหลักต่างๆ ทำหน้าที่แตกต่างกันนี้เอง จะเห็นได้ว่าถ้ามีการศึกษารายละเอียดและเปลี่ยนแปลงค่าพารามิเตอร์บางตัวในโมดูลนั้นๆแล้ว จะทำให้การใช้งานในปัจจุบันมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Other Abstract: The compiler is a program that translates the high level language into the machine language can be worked by the computer machine. This will relieve the programmer from the worry about the complicated procedural steps of the computer machine. Accordingly, the compiler has been improved more efficiently to assist the programmer. At that moment, Computer Service Center, Chulalongkorn University is also provided such a compiler. The available compiler is ‘WATFIV’, controlled by OS/VSI of IBM 3031.However, due to the lack of experts in its details, and the difficulty in its development have resulted to inefficient application. Therefore, to study its structure will enable to understand procedural steps of its operation which will improve the work. Apart from studying with the documents, we also made an experiment with the computer by using the testing program (GTF), to inspect the module for assigning the work. The result is that the structure of the WATFIV consists only of one phase, ‘WATFIV’. That phase is divided into several main module with different function as follow: 1. Input/Output: to read and print data during the compilation time and the execution time. 2. Core Management: to arrange the work area for the input and output. 3. Interrupt Handling: to arrange the processing of program interrupts. 4. Accounting: to accumulate the data of each job for the statistics, print time and storage figures at the end of each job 5. Operating System Dependent Routines: to localize all operating system functions and calls to few modules. 6. Subprogram Facilities: to managed all of the subprogram. Because of the difference in main module we can see that if we examine its function and parameters in the main modules carefully, we can apply them to use with the present work efficiently.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมซอฟต์แวร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48027
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasithorn_ma_front.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_ma_ch1.pdf635.66 kBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_ma_ch2.pdf7.59 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_ma_ch3.pdf8.44 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_ma_ch4.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_ma_ch5.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_ma_back.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.