Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48040
Title: สภาพการเกิดน้ำหลากในลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่าง
Other Titles: Occurrence of floods in the lower Phetchaburi River Basin
Authors: อินทิรา เศวตประวิชกุล
Advisors: เสรี จันทรโยธา
ชัยยุทธ สุขศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Seree.C@Chula.ac.th
Chaiyuth.S@chula.ac.th
Subjects: น้ำหลาก -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
อุทกภัย -- ไทย -- เพชรบุรี
การวิเคราะห์ระบบ
การวิเคราะห์ความถี่
อุทกวิทยา
ลุ่มน้ำเพชรบุรี
แก่งกระจาน (เพชรบุรี)
ห้วยผาก (เพชรบุรี)
ห้วยแม่ประจันต์ (เพชรบุรี)
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มุ่งหาสาเหตุของการเกิดน้ำท่วม/อุทกภัย และวิเคราะห์สภาพน้ำหลากในเชิงอุทกวิทยาของลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่าง โดยการจำลองสภาพและวิเคราะห์สภาพน้ำหลากตามสภาวะต่างๆ ที่กำหนด การจำลองสภาพน้ำหลากใช้แบบจำลอง Flood Hydrograph Package HEC-1 รุ่น 4.0 ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ โดยทำการดัดแปลงแก้ไขบางส่วนเพื่อให้ค่าสัมประสิทธิ์ Manning’n’ แปรผันตามอัตราการไหล ข้อมูลน้ำหลากที่ใช้คือข้อมูลน้ำท่ารายชั่วโมงที่ตรวจวัดที่สถานีวัดน้ำท่าต่างๆ ในลุ่มน้ำเพชรบุรีโดยกรมชลประทาน ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในแบบจำลองได้ตรวจสอบและปรับแก้ข้อมูล การศึกษาการเคลื่อนตัวของน้ำหลากบนลำน้ำเลือกวิธีการของ Muskingum-Cunge ในการจำลองสภาพ การศึกษาได้พิจารณาเป็น 2 กรณี คือ สภาพปัจจุบัน มีอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน และสภาพในอนาคต มีอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ห้วยผากและห้วยแม่ประจันต์ สาเหตุหลักของการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำพบว่าเกิดจากฝนตกหนัก อันเป็นอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เป็นหลัก และมีพายุหรือร่องมรสุมพาดผ่านเป็นครั้งคราว จากการวิเคราะห์ความถี่ของข้อมูลปริมาณน้ำหลากของแม่น้ำเพชรบุรี ที่สถานี B.3 ซึ่งอยู่ท้ายเขื่อนแก่งกระจานประมาณ 10 กิโลเมตร พบว่าปริมาณน้ำหลากลดลงประมาณร้อยละ 80 อันเป็นผลมาจากการมีเขื่อนแก่งกระจาน ที่สถานี B.2A อยู่ท้ายเขื่อนเพชร (เขื่อนทดน้ำ) ประมาณ 200 เมตร ซึ่งปริมาณน้ำท่าที่สถานี B.2A เกิดจากการรวมตัวของปริมาณน้ำท่าจากแม่น้ำเพชรบุรี ห้วยผากและห้วยแม่ประจันต์ จากการวิเคราะห์ความถี่พบว่าที่รอบปีการเกิดต่ำๆ ปริมาณน้ำหลากจะลดลงมาก แต่ที่รอบปีการเกิดสูงๆ ลดลงน้อยมาก ที่สถานี B.1A อยู่บริเวณตัวเมืองเพชรบุรีพบว่ามีการผันน้ำของสู่ทุ่งราบทางทิศตะวันออกของลุ่มน้ำก่อนถึงสถานี B.1A ทำให้ปริมาณน้ำหลากที่รอบปีการเกิดสูงๆ ทั้งก่อนและหลังมีเขื่อนแก่งกระจานมีค่าไม่ต่างกัน การจำลงสภาพน้ำหลากในสภาพปัจจุบันพบว่าปริมาณน้ำหลากที่เกิดในลุ่มน้ำตอนล่าง ส่วนมากเป็นผลจากปริมาณน้ำจากห้วยแม่ประจันต์ โดยเวลาการเคลื่อนตัวของน้ำหลากจากห้วยแม่ประจันต์ถึงลุ่มน้ำตอนล่าง (ที่สถานี B.1A) ประมาณ 43 ชั่วโมง ก่อนที่ปริมาณน้ำจะเคลื่อนตัวมาที่สถานี B.1A มีปริมาตรน้ำที่ถูกผันออกสู่ทุ่งราบในช่วงน้ำหลากเฉลี่ยประมาณ 55 ล้าน ลบ.ม. การจำลองสภาพในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงความจุเก็บกักของอ่างเก็บน้ำห้วยแม่ประจันต์เป็น 3 กรณี และกำหนดให้มีน้ำเต็มอ่างเป็นเงื่อนไขเริ่มต้น พบว่าการเปลี่ยนแปลงความจุอ่างทำให้สภาพน้ำหลากที่ด้านท้ายน้ำมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก แต่ในกรณีที่เงื่อนไขเริ่มต้นมีระดับเก็บกักต่ำสุด พบว่าการเคลื่อนตัวของน้ำหลากมาถึงตัวเมืองช้าลง 24 ชั่วโมง และอัตราการไหลสูงสุดลดลง 40% เมื่อเทียบกับสภาพปัจจุบัน
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48040
ISBN: 9746326767
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Intira_sa_front.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Intira_sa_ch1.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Intira_sa_ch2.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Intira_sa_ch3.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open
Intira_sa_ch4.pdf3.65 MBAdobe PDFView/Open
Intira_sa_ch5.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open
Intira_sa_ch6.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open
Intira_sa_ch7.pdf500.12 kBAdobe PDFView/Open
Intira_sa_back.pdf7.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.