Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48116
Title: | จังหวะและทำนองในเพลงฉ่อยและลำตัด |
Other Titles: | The rhythm and melody of Thai traditional flok songs-choy and lamtat |
Authors: | วัฒนะ บุญจับ |
Advisors: | สุดาพร ลักษณียนาวิน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Sudaporn.L@Chula.ac.th |
Subjects: | เพลงฉ่อย ลำตัด เพลงพื้นเมือง -- ไทย (ภาคกลาง) ภาษาไทย -- พยางค์ ภาษาไทย -- จังหวะเสียง จังหวะ (ภาษาศาสตร์) ทำนอง (ภาษาศาสตร์) การหยุด (ภาษาศาสตร์) การลงเสียงหนักเบา |
Issue Date: | 2532 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาจังหวะและทำนองในเพลงฉ่อยและลำตัดซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านตามแนวภาษาศาสตร์ เนื้อหาสำคัญของวิทยานิพนธ์แบ่งเป็น 2 ตอน คือจังหวะของเพลงฉ่อยและลำตัด กับ ทำนองของเพลงฉ่อยและลำตัด จากการศึกษาพบว่า ถึงแม้ว่าเพลงฉ่อยและลำตัดจะมีฉันทลักษณ์คล้ายกัน แต่ในเวลาร้องเพลงทั้ง 2 ประเภทแล้วจังหวะและทำนองของเพลงทั้งสองมีความแตกต่างกันหลายประการ ผลจากการเปรียบเทียบพบว่า จำนวนหน่วยจังหวะ จังหวะหยุด และหน่วยระหว่างการหยุดในแต่ละบาทของเพลงฉ่อยมีน้อยกว่าลำตัด และหน่วยจังหวะที่มีพยางค์เกิน 2 พยางค์ มักปรากฎในลำตัดน้อยกว่าเพลงฉ่อย นอกจากนั้นแล้วพิสัยของเสียงในการร้องเพลงฉ่อยยังแคบกว่าลำตัดอีกด้วย จากผลการวิเคราะห์จึงสามารถสรุปได้ว่า เพลงฉ่อยและลำตัดมีความแตกต่างกันทั้งในแง่จังหวะและทำนอง ในแง่จังหวะ เพลงฉ่อยมีหน่วยจังหวะและจังหวะหยุดในแต่ละบาทน้อยกว่าลำตัด ทั้งจำนวนพยางค์ในแต่ละหน่วยจังหวะของเพลงฉ่อยก็มีน้อยกว่าลำตัด ข้อแตกต่างเหล่านี้ทำให้จังหวะในการร้องลำตัดกระแทกกระทั้นและรวดเร็วกว่าเพลงฉ่อย ในแง่ทำนอง พิสัยของเสียง ที่ใช้ในการร้องเพลงฉ่อยก็แคบกว่าลำตัดมาก จึงทำให้ทำนองเสียงในการร้องเพลงฉ่อยเรียบกว่าการร้องลำตัด ความแตกต่างของจังหวะและทำนองของเพลงฉ่อยและลำตัดดังกล่าวนี้เอง จึงทำให้เพลงฉ่อยมีความเนื่องแบบกลมกลืนทั้งในจังหวะและทำนอง (rhythmic and melodic conjunct) ในขณะที่ลำตัดมีจังหวะและทำนองที่มีความเนื่องแบบไม่กลมกลืน (rhythmic and melodic disjunct)ในระหว่างการร้อง |
Other Abstract: | The objective of this thesis is to study the rhythm and melody in Choy and Lamtat, two types of Thai traditional folk music through a linguistic approach. The contents of this thesis are divided into two part : first an analysis of the rhythm of Choy and Lamtat, followed by an analysis of their melodies. The research finds that, although Choy and Lamtat use a similar poetic form, the singing, rhythm and melody is much different. The analysis reveals that the number of rhythmic units, pauses and pause defined-units of each metrical unit of Choy is smaller than that of Lamtat, Additionally, in Lamtat a rhythmic unit consisting of more than two syllables occurs more frequently than in Choy. Furthermore, the average pitch level in singing Choy is narrower than that of Lamtat. The results of the analysis can be summarized in that Choy and Lamtat are different in both rhythm and melody. In terms of rhythm, Choy has fewer rhythmic units and pause in each metrical unit and fewer syllables in each rhythmic unit than does Lamtat. These differences make the rhythm of Choy is much narrower than Lamtat, making the intonation contour of singing Choy smoother than Lamtat. The rhythm and melody of the Choy and Lamtat types are distinct in that Choy uses “rhythmic and melodic conjunct” in singing, while Lamtat uses “rhythmic and melodic disjunct” in singing. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48116 |
ISBN: | 9745760056 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wattana_boo_front.pdf | 1.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wattana_boo_ch1.pdf | 750.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wattana_boo_ch2.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wattana_boo_ch3.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wattana_boo_ch4.pdf | 6.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wattana_boo_ch5.pdf | 508.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wattana_boo_back.pdf | 8.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.