Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48124
Title: พฤติกรรมของแผ่นหลังคาอาร์ชบาง รูปทรงกระบอกทำด้วยคอนกรีตเสริมใยแก้ว
Other Titles: Behavior of a circular thin arch roof made of glass fibre reeinforced concrete
Authors: ศักดิ์ชัย สกานุพงษ์
Advisors: ทักษิณ เทพชาตรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: คอนกรีตเสริมใยแก้ว
วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันในวงการก่อสร้างได้มีการนำวัสดุที่ค้นคิดขึ้นใหม่ๆ มาใช้กันอย่างกว้างขวางเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ประหยัดค่าก่อสร้างและให้ความสวยงามคอนกรีตเสริมใยแก้วเป็นวัสดุชนิดหนึ่งที่จะสนองความต้องการสิ่งเหล่านี้ได้เป็นอย่างดีเพราะเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง ทนทาน สามารถผลิตเป็นรูปทรงต่างๆ ได้ นอกจากนี้ยังเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบาช่วยลดน้ำหนักของโครงสร้างลงได้ อย่างไรก็ตามในวงการก่อสร้างเมืองไทยยังไม่ค่อยนิยมใช้วัสดุประเภทนี้มากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะยังไม่มีการค้นคว้าและศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตเสริมใยแก้วที่ใช้วัสดุที่ผลิตภายในประเทศกันอย่างจริงจัง ดังนั้นในการวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาคุณสมบัติการรับแรงอัด แรงดึง แล้วนำมาออกแบบก่อสร้างโครงหลังคาอาร์ชบางโค้งรูปทรงกระบอกเพื่อใช้ศึกษาหาพฤติกรรมต่างๆ ภายใต้การรับน้ำหนักบรรทุกแบบต่างๆ การตรวจสอบกำลังของคอนกรีตเสริมใยแก้วซึ่งมีอัตราส่วนผสม ทราย:ซีเมนต์ = 1:3 น้ำ:ซีเมนต์ = 0.35 และใยแก้วยาว 3.5 ซม. ปริมาณ 5% โดยน้ำหนักพบว่าการรับแรงอัดคอนกรีตเสริมใยแก้วจะเกิดการวิบัติในแนวระนาบที่ใยแก้วจัดเรียงตัวอยู่ โดยมีค่าเฉลี่ยหน่วยแรงอัดประลัย 342 กก/ซม [superscript 2] ส่วนในการรับแรงดึงของคอนกรีตเสริมใยแก้ว เนื้อคอนกรีตกับใยแก้วประสานกันดีเมื่อความเครียดไม่เกิน 0.00032 และเมื่อความเครียดเกินจากนี้เนื้อคอนกรีตจะเกิดการแตกร้าวและแรงดึงทั้งหมดจะถูกถ่ายให้ใยแก้วรับจนถึงจุดวิบัติ โดยมีค่าเฉลี่ยหน่วยแรงดึงประลัย 75 กก/ซม [superscript 2] ส่วนโมดูลัสยืดหยุ่นในการทดลองแรงอัดและแรงดึงจะมีค่าใกล้เพียงกันมากคือ อยู่ระหว่าง 17x10 [superscript 4] ถึง 25x10 [superscript 4] กก/ซม[superscript 2] การทดลองหาพฤติกรรมของแผ่นหลังคาอาร์ชบางโค้งรูปทรงกระบอกพบว่าในช่วงอีลาสติก ความเครียดจะแปรเปลี่ยนเป็นสัดส่วนโดยตรงกับหน่วยแรงดัดการแปรเปลี่ยนของน้ำหนักบรรทุกและระยะโก่งก็จะมีลักษณะเป็นเส้นตรงเช่นเดียวกัน ค่าความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักบรรทุกกับระยะโก่งที่ได้จาการคำนวณจะต่างกับการทดลองประมาณ 6% สำหรับในช่วงเกินอีลาสติกเมื่อกำหนดให้การกระจายหน่วยแรงดัดเป็นไปตามทฤษฎีของ Allen พบว่า การคำนวณและการทดลองจะให้ลักษณะพฤติกรรมที่คล้ายกัน แต่การคำนวณจะให้ระยะโก่งตัวมากกว่าการทดลอง ส่วนค่าเฉลี่ยความเหนียวของอาร์ชมีค่าประมาณ 3.45 และอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักบรรทุกที่จุดวิบัติกับน้ำหนักบรรทุกที่จุดแตกร้าวมีค่าประมาณ 2.21
Other Abstract: Newly developed materials, nowadays, are widely used in building construction. The purposes are to speed up construction time, reduce cost and creat aesthetics. Glass fibre reinforced concrete (G.R.C.) is one which can meet all these requirement. Higher strength, durability and lighter weight than ordinary concrete are its main favorable properties. Besides, the G.R.C. can easily be formed into various designed shapes. The G.R.C., however, is still not widely used in Thailand. This may be due to lack of research work to study the properties of G.R.C. made locally. This research, therefore was to study the compression and tension properties of the local made G.R.C.. Then, circular thin arch roofs were built from G.R.C. and tested to study their behavior under loadings. The results of G.R.C. specimens having proportions of sand: cement = 1:3, cement ratio = 0.35, and 5% by weight of glass fibre, 3.5 cm. in length, are as follows: In compressive tests, failure occurred in the plane of orientation of the fibre with the average ultimate compressive strength of 342 kg/cm2. In tensile tests, within the elastic range, concrete and glass fibre carried tensile load together. Cracks were formed when tensile strain reached the value of 0.00032, thereafter glass fibre alone carried the load up to failure with the average tensile strength of 75 kg/cm2. Modulus of elasticity was about the same in tension and compression with the average value in the range of 17x104 to 24x104 kg/cm2. Tests of circular thin arch roofs showed that strain varied linearly with flexural stress in the elastic range. Linearity was also observed in the load and deflection relation. In this range, load-deflection curves obtained theoretically deviated from the experimental curves with a maximum discrepancy of 6 percent. In the plastic range, load-deflection curves, computed by using the stress distribution proposed by Allen yielded satisfactory result. Ductility was found to be in the range of 3.45. The ratio of ultimate load to cracking load, on the other hand, was 2.21.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48124
ISBN: 9745636622
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sakchai_sk_front.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open
Sakchai_sk_ch1.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Sakchai_sk_ch2.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open
Sakchai_sk_ch3.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open
Sakchai_sk_ch4.pdf13.21 MBAdobe PDFView/Open
Sakchai_sk_ch5.pdf480.68 kBAdobe PDFView/Open
Sakchai_sk_back.pdf3.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.