Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48127
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรัชนี ขวัญบุญจัน-
dc.contributor.authorวัฒนา ประกอบแสง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-08T00:44:31Z-
dc.date.available2016-06-08T00:44:31Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.isbn9746321145-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48127-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อเปรียบเทียบความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารของนักเรียนตามตัวแปรที่ตั้งของโรงเรียน ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 480 คน เป็นนักเรียนโรงเรียนในเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล 240 คน และนักเรียนโรงเรียนนอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล 240 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 476 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด นักเรียนมีความรู้ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำในเรื่อง อาหารที่ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต อาหารที่ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง อาหารหญิงหลักคลอด ประโยชน์ของผักและผลไม้ที่มีสีเหลือง ปริมาณน้ำที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน อาหารที่สารบอแรกซ์ และประเภทของสารอาหาร นักเรียนโรงเรียนในเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลและนักเรียนโรงเรียนนอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนโรงเรียนในเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลมีความรู้ดีกว่านักเรียนโรงเรียนนอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล 2. นักเรียนมีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี นักเรียนโรงเรียนในเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลและนักเรียนโรงเรียนนอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลมีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่สถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนโรงเรียนในเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลมีทัศนคติดีกว่านักเรียนโรงเรียนนอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล 3. นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี นักเรียนโรงเรียนในเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาล และนักเรียนโรงเรียนนอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectบริโภคศึกษาen_US
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภคen_US
dc.titleพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือen_US
dc.title.alternativeFood consumption behaviors of prathom suksa six students under the Jurisdiction of the Office of the Nation Primary Education Commission in the Northeastern Regionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพลศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorRajanee.Q@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Watana_pr_front.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Watana_pr_ch1.pdf953.93 kBAdobe PDFView/Open
Watana_pr_ch2.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open
Watana_pr_ch3.pdf912.32 kBAdobe PDFView/Open
Watana_pr_ch4.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open
Watana_pr_ch5.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open
Watana_pr_back.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.