Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48136
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิศา ชูโต-
dc.contributor.authorสนธยา รื่นภาคเพ็ชร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-08T01:07:23Z-
dc.date.available2016-06-08T01:07:23Z-
dc.date.issued2535-
dc.identifier.isbn9745810568-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48136-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความหมายของคำตอบที่อยู่ตรงกลางในมาตรประมาณค่าที่แตกต่างกัน 3 คำตอบ คือ ปานกลาง ไม่แน่ใจ ไม่มีความคิดเห็น และเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงของการเลือกคำตอบที่อยู่ตรงกลางในมาตรประมาณค่า เมื่อวัดซ้ำโดยเปลี่ยนคำตอบที่อยู่ตรงกลาง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 320 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อการอบรมเลี้ยงดูวัยรุ่นและแบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม 2 ครั้ง โดยเปลี่ยนคำตอบที่อยู่ตรงกลางให้ต่างกันและสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ปรากฏผลการวิจัยดังนี้ 1. ความหมายของคำตอบตรงกลางที่ใช้คำว่า “ปานกลาง” “ไม่แน่ใจ” และไม่มีความคิดเห็นนั้น หมายความว่าเป็นกลางร้อยละ 81.01, 54.58 และ 53.88 ตามลำดับ หมายความว่าไม่แน่ใจ ร้อยละ 13.50, 35.88 และ 21.02 ตามลำดับ หมายความว่า ไม่มีความคิดเห็นร้อยละ 1.98, 1.91 และ 16.88 ตามลำดับ และหมายความว่า ไม่ได้เป็นกลางร้อยละ 3.51, 7.63 และ 8.22 ตามลำดับ 2. เมื่อใช้คำตอบปานกลางซ้ำ 2 ครั้ง มีการเปลี่ยนแปลงคำตอบคือ เปลี่ยนจากเลือก “ปานกลาง” ในครั้งที่ 1 เป็นเลือกคำตอบอื่นในครั้งที่ 2 ร้อยละ 9.84 จากเลือกคำตอบอื่นในครั้งที่ 1 เป็นเลือก “ปานกลาง” ในครั้งที่ 2 ร้อยละ 13.95 เมื่อเปลี่ยนคำตอบจาก “ปานกลาง” เป็น “ไม่แน่ใจ” มีการเปลี่ยนแปลงจากเลือก “ปานกลาง” เป็นเลือกคำตอบอื่นร้อยละ 16.40 และจากเลือกคำตอบอื่นเป็นเลือก “ไม่แน่ใจ” ร้อยละ 5.87 เมื่อเปลี่ยนคำตอบจาก “ไม่แน่ใจ” เป็น “ไม่มีความคิดเห็น” มีการเปลี่ยนแปลงจากเลือก “ไม่แน่ใจ” เป็นเลือกคำตอบที่อื่นร้อยละ 6.11 และจากเลือกคำตอบอื่นเป็นเลือก “ไม่มีความคิดเห็น” ร้อยละ 6.65 เมื่อเปลี่ยนคำตอบ “ไม่มีความคิดเห็น” เป็น “ปานกลาง” มีการเปลี่ยนแปลงจากเลือก “ไม่มีความคิดเห็น” เป็นเลือกคำตอบอื่นร้อยละ 4.98 และจากเลือกคำตอบอื่นเป็นเลือก “ปานกลาง” ร้อยละ 13.10en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study were to analyze the meaning of the middle responses namely neutral, undecided and no opinion in rating scle and to compare change in middle responses when scales were repeatly rate. The sample group comprised of 320 pupils in Mathayomsuksa six, by assigning them into four groups. Rating scale with four different types of middle response wording were used to measure pupils opinion in the questionnaire concerning of adolescent rearing practices. Interviewing was applied to access pupils’s middle responses meaning. Data were analyzed by frequency and percentage. The finding are as follows. 1. The meaning of middle responses wording of “neutral”, “undecided” and “no opinion” are interpreted as neutral by 81.01%, 54.58%, 53.88% and are interpreted as undecided by 13.50%, 35.88%, 21.02% and as no opinion by 1.98%, 1.91% and 16.88% followed by as not neutral 3.51%, 7.63% and 8.28% respectively. 2. There are changes in middle responses when different wording are applied and scales are repeatly rated. 9.84% shifts from the first “neutral” middle response to the non-middle response, while 13.59% shifts from the non-middle response to middle response when scale is repeated. When “undecided: is substituted for “neutral” in the middle response, 16.40% shifts from middle response to non-middle response while 5.87% shifts from the non-middle response to “undecided” middle response in second rating. When “no opinion” is substituted for “neutral” middle response, 4.98% shifts from middle response to non-middle response, while 13.10% shifts from non-middle response to the “neutral” middle response in the second rating.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการวิเคราะห์ความหมายของคำตอบที่อยู่ตรงกลางในมาตรประมาณค่าen_US
dc.title.alternativeAn analysis of the middle response meanings in rating scaleen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNisa.X@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sontaya_ru_front.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Sontaya_ru_ch1.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Sontaya_ru_ch2.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open
Sontaya_ru_ch3.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Sontaya_ru_ch4.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open
Sontaya_ru_ch5.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Sontaya_ru_back.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.