Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48140
Title: ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายอั้งยี่ : ซ่องโจรในประเทศไทย
Other Titles: The problems of enforcting the low of secret society offnces and criminal association offences in Thailand
Authors: สุรจิต พัฒนสาร
Advisors: มุรธา วัฒนะชีวะกุล
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: อั้งยี่
อาชญากรรมองค์การ -- ไทย
การบังคับใช้กฎหมาย -- ไทย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความผิดฐานอั้งยี่ : ซ่องโจร เป็นบทบัญญัติในทางอาญาที่มีเจตนารมย์และวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์และสวัสดิภาพของสาธารณชนเป็นประการสำคัญ โดยมุ่งถึงการกระทำบางอย่างที่มีพฤติกรรมอันอาจจะก่อให้เกิดความหวาดหวั่น ทำให้สังคมเกิดอัตราเสี่ยง (degree of risk) ทั้งนี้เนื่องจากการกระทำในลักษณะนี้เกิดจากการที่บุคคลหลายคนได้ร่วมมือกันกระทำ ซึ่งลักษณะของการร่วมมือนี้ทำให้ความผิดนั้นร้ายแรงขึ้น การกระทำบางอย่างมีความประสงค์มุ่งหมายเป็นการถาวร เพื่อเตรียมการหรือจัดวางแผนการในการกระทำผิด ซึ่งนับว่าเป็นภัยต่อความสงบสุขของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้การกระทำดังกล่าว ยังได้ก่อความยุ่งยากแก่การปราบปรามและการพิสูจน์ความผิด จากประวัติและความเป็นมา ความผิดฐานอั้งยี่ : ซ่องโจรได้มีมาแต่สมัยโบราณ แต่อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาปรากฏว่าการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวได้ประสบปัญหาในทางปฏิบัติ กล่าวคือ ในส่วนของความผิดอั้งยี่ ไม่ปรากฏมีการบังคับใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัตินัก ทั้งๆ ที่ในปัจจุบันอาชญากรรมที่เกิดจากการร่วมกันกระทำความผิดของบุคคลเป็นแก๊งค์ หรือ เป็นองค์กร นับวันจะมีแนวโน้มทวีมากขึ้นในสังคม ซึ่งต่างกับความผิดฐานซ่องโจรที่มีการบังคับใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ที่ผ่านมามักจะพบว่า การบังคับใช้ของพนักงาน เจ้าหน้าที่ได้เป็นไปในลักษณะของการสนองนโยบายของรัฐในช่วงขณะใดขณะหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้การบังคับใช้มักจะอยู่เพียงในขั้นตอนของเจ้าพนักงานตำรวจเท่านั้น ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวในขั้นเจ้าพนักงานตำรวจนี้เป็นไปเพื่อนโยบายการสร้างความสงบสุขแก่สังคมมากกว่าการหวังผลในทางคดี ด้วยเหตุนี้ผู้ถูกจับกุมในความผิดดังกล่าวจึงมีสถิติเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในชั้นศาลน้อยมาก โดยส่วนใหญ่ มักได้รับการปล่อยตัวไปหลังจากถูกควบคุมตัวในชั้นสอบสวนมาระยะหนึ่ง จากการปฏิบัติของพนักงานตำรวจที่ยึดถือนโยบายการสร้างความสงบสุขแก่สังคมโดยอาศัยบทบัญญัติความผิดฐานซ่องโจรนี้เอง ที่ผ่านมาจึงมักถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสื่อมวลชนและประชาชนโดยเสมอว่า พนักงานตำรวจมักอาศัยความผิดดังกล่าวไปในทางที่ไม่ชอบ และเป็นการกระทบต่อหลักการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน นอกจากนี้จากการวิจัยพบว่าปัญหาและอุปสรรคของการยังคับใช้กฎหมายอั้งยี่ : ซ่องโจรมีหลายประการ เป็นต้นว่า ในด้านนโยบายของรัฐ ปรากฏว่ารัฐยังให้ความสำคัญต่อปัญหาอาชญากรรมในลักษณะดังกล่าวน้อยมาก ในด้านรูปแบบและวิธีการดำเนินการของอาชญากรรมในความผิดดังกล่าว มักมีลักษณะเป็นการปกปิด ทั้งนี้เพราะเป็นความผิดที่อยู่ในขั้นตอนของการเริ่มต้น ความผิดตามกฎหมายอาญา ทั้งกิจการที่เนื่องมาจากอาชญากรรมดังกล่าว สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนบางกลุ่ม นอกจากนี้วิธีดำเนินการของอาชญากร ได้พยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับองค์กรของรัฐ ประกอบกับตัวอาชญากรมักเป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญ และมีปัจจัยสนับสนุนในการคงอยู่ และการปฏิบัติขององค์กร ทั้งทางด้านการเงินและจากหน่วยงานของรัฐ ในส่วนขององค์ของรัฐจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันรัฐยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อปัญหาอาชญากรรมดังกล่าวโดยตรง นอกจากนี้โครงสร้างขององค์กรในกระบวนการยุติธรรมก็ยังไม่เอื้ออำนวยต่อการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งการขาดการประสานงานในองค์กรที่เกี่ยวข้อง ด้านประชาชนเองก็ยังขาดการตระหนักในปัญหาอาชญากรรมดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากการขาดข้อมูล การมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องต่อการปฏิบัติของเจ้าพนักงาน รวมตลอดทั้งความไม่มั่นใจในการคุ้มครองของรัฐ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เราอาจสันนิษฐานเบื้องต้นว่า สภาพปัญหาของอาชญากรรมที่เกิดจากการร่วมกันของบุคคลเป็นกลุ่ม หรือเป็นองค์การมักจะมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพของกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย หรือ กระบวนการยุติธรรมของฝ่ายบริหาร กล่าวคือ อาชญากรรมดังกล่าวจะมีความสลับซับซ้อน และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น หากกระบวนการบังคับใช้กฎหมายและการบริหารงานยุติธรรมยังบกพร่องและขาดประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงต้องมีนโยบายที่แน่ชัดต่อปัญหาอาชญากรรมดังกล่าว สำหรับกลไก หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ควรมีโครงสร้างและมีปัจจัยที่สามารถสนองตอบต่อปัญหาอาชญากรรมดังกล่าวอย่างจริงจัง นอกจากนี้ในส่วนบุคลากรเอง ควรมีการพัฒนาเพื่อความเป็นนักปฏิบัติการ หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถทันต่อปัญหาอาชญากรรมในลักษณะดังกล่าวโดยตรงในส่วนของประชาชน รัฐต้องนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอาชญากรรมดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้ทราบและตระหนักถึงผลกระทบอันเนื่องมาจากการกระทำของกลุ่มอาชญากรดังกล่าว อันจะเป็นการป้องกันการเข้าร่วมและให้การสนับสนุนต่อกลุ่มอาชญากรดังกล่าว
Other Abstract: The offences of secret society and criminal association are criminal provisions which have a main purpose to protect public interest and welfare. Specifically, the offences aim at actions which may provoke panic to the public, and thus create certain degree of risk. The main reason for such enactments is because the acts are committed by a group of offenders in correct which resulted in the increasing of the offences’ dangerousness. Some acts are part of the permanent scheme leading to other offenses which are most dangerous to public domain. Besides, such acts are difficult to subdue and legally difficult to prove for their convictions. History shows that these offenses existed in the remote past and enforcing the law has never been easy for variety of reasons. With respect to the offense of Secret Society, there has never been any attempt to utilize the provisions despite of the fact that the offense has actually and increasingly been committed by both private parties and associations. On the contrary, frequent enforcements of criminal association provisions show the practice of the law-enforcer who are more than willing to use the law to state policy during particular period of time. Moreover, this practice seems to be prevalent in the police phrase of the criminal justice system. Such police practice was aiming at peace keeping task rather than obtaining criminal conviction. Therefore, the arrest rate and the number of cases go on trial differ drastically. As a result, most of the accused have been released after certain period of interrogation. The police practice regarding peace keeping, rather than obtaining criminal conviction using criminal association provision is subjected to much criticism from both news media and the public. Most of the intiques based their view on the alleged abuse of the penal provisions by the police to undermine citizen’s civil-rights. Through research, this writer finds that there are many problems pertaining to the enforcement of these two offenses, for example, the government policy regarding such crimes is dubious; the special characteristic of the crimes is that most of the time they are kept in concealment because they are means through which other crimes shall follow, they satisfy the needs to protect the interest of certain influential groups; their sophisticated acts lead the actors unconfronted with the authorities; their leaders are white collar criminals with knowledge, experiences and are equipped with the necessary contingency to ward-of any suppression attempt-in some case their supports are obtained from the government agencies themselves. Nowadays, there is no state’s agency that is directly responsible for the prevention of these offenses. Besides, the formal structure of the criminal justice system is not adequate for the enforcement of such legal provisions. Furthermore, the lack of cooperation among authorities concern creates more problems. With regard to the public, there is a lack of awareness of the problems for many reasons, for example, they are not informed, having misconception of officials’ practices, and having no confident in the state’s protections. Nevertheless, it is this writer assumption that the problems of organized crime is relating to the problems of law-enforcement’s effectiveness, that is, the more complicated and dangerous the crimes are the less effective the law enforcement authorities be. For this reason the state should have a clear policy toward the problems. With regard to law enforcement apparatus, there shall be state agencies with special structure that are fully equipped with measures to realistically respond to the problem. Personnel working for the agencies should be trained for their specialization and expertise in the area. With regard to the public, they should be made aware of the problems by informing them of the affectation of the offenses so they will refrain from conspiring or aiding such wrongdoing.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48140
ISBN: 9745681989
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surajit_pa_front.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Surajit_pa_ch1.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Surajit_pa_ch2.pdf5.74 MBAdobe PDFView/Open
Surajit_pa_ch3.pdf10.99 MBAdobe PDFView/Open
Surajit_pa_ch4.pdf7.57 MBAdobe PDFView/Open
Surajit_pa_ch5.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open
Surajit_pa_back.pdf6.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.