Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48195
Title: การพัฒนาระบบการกระจายยาที่หออายุรกรรมพิเศษ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: The development of drug distribution system at private medicine ward in Chulalongkorn Hospital
Authors: วรรณี อิทธิวัฒนกุล
Advisors: สุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์
ภิรมย์ กมลรัตนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sutathip.P@Chula.ac.th
Pirom.K@Chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาล -- ระบบการจ่ายยา
ยา
การใช้ยา
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อหารูปแบบระบบกระจายยาที่เหมาะสมและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ สำหรับโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ขนาดใหญ่ โดนนำหลักการกระจายยาแบบยูนิ]โด๊สมาประยุกต์ใช้ กำหนดปริมาณการใช้ยาเม็ด ยาฉีด และ ยาน้ำ ไม่เกิน 24 ชั่วโมง และแสดงผลจากการพัฒนาระบบการกระจายยา ได้แก่ ผลต่อระบบการกระจายยา ผลต่อปริมาณงานของบุคลากรทางการแพทย์ และต้นทุนโดยรวมของการดำเนินงาน นอกจากนี้ได้ทำการสำรวจความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง โดยทำการคัดเลือกหอผู้ป่วย 1 แห่ง ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เพื่อทำการศึกษาในช่วงเวลา ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2538 – กุมภาพันธ์ 2539 ผลการศึกษาการพัฒนาระบบการกระจายยา พบว่าสามารถนำมาใช้ได้ในทางปฏิบัติ โดยมีหลักในการปฏิบัติ คือ เภสัชกรเป็นผู้รับคำสั่งแพทย์เอง การกำหนดปริมาณยาเม็ด ยาฉีด และ ยาน้ำให้มีปริมาณการใช้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง การมีแบบบันทึกการใช้ยาของผู้ป่วย และแบบบันทึกการจัดยาของฝ่ายเภสัชกรรม การมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการใช้ยาของผู้ป่วย สำหรับผลที่เกิดจากการพัฒนาระบบการกระจายยา มีดังนี้ คือ ผลต่อระบบการกระจายยา พบมูลค่ายาเม็ดและยาฉีดลดลง 66350.48 บาท (80.88%) และ 234,583.50 บาท (66.20%) คิดเป็นมูลค่ายาคงคลังลดลงโดยรวมทั้งสิ้น 318,629.48 บาท (68.98%) การศึกษาผล[ต่]อปริมาณงานทั้งหมดของแผนกพยาบาลไม่พบความแตกต่างก่อนและหลังมีการเปลี่ยนแปลงระบบ สำหรับผลต่อปริมาณงานของฝ่ายเภสัชกรรม พบว่างานในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดยาหรือใบสั่งยาของเภสัชกร และผู้ช่วยเภสัชกร เพิ่มขึ้นจากในระบบเดิม 1723.65% และ 216.19% ตามลำดับ (∝ = 0.05) ส่วนงานที่ไม่เกี่ยวกับใบสั่งยาหรือการจัดยาทั้งของเภสัชกรและผู้ช่วยเภสัชกร พบว่าไม่แตกต่างกันทั้งสองระบบ ผลการศึกษาต้นทุนโดยรวมของการดำเนินงานพบว่า ต้นทุนในการดำเนินงานในระบบการกระจายยาแบบใหม่สูงกว่าในระบบเดิม เฉลี่ยวันละ 372.90 บาท ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน พบว่า ส่วนใหญ่มีความพอใจระบบการกระจายยาแบบใหม่ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าระบบการกระจายยาที่พัฒนามาแล้วนี้สามารถนำมาใช้ได้ในทางปฏิบัติจริง แต่ผลที่เกิดจากการพัฒนาระบบการกระจายนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีผลอีกหลายประการที่ไม่ได้ทำการศึกษาได้แก่ การที่มีเภสัชกรขึ้นไปปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย ดูแลและจัดการเรื่องยา ทำให้พยาบาลมีเวลาในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น การที่ผู้ป่วยได้รับยาถูกต้อง และปลอดภัย ทำให้ระยะเวลาที่ผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาลลดลง การลดอัตราความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาเหล่านี้ล้วนแต่น่าจะได้มีการศึกษาต่อไป
Other Abstract: The objective of this study was to develop the suitable and practical drug distribution system model for a very large teaching hospital. By adapting the unit dose drug distribution system, allowed only 24-hours period of use of the medications. After setting up the model, showed the results of the model on the drug distribution system itself, on the total workloads of the pharmacy and the nursing departments that were involved, and the total inventory cost of the model. The questionnaires about the attitudes of the health care personels involved were also evaluated. The study was done at the private medicine ward in Chulalongkorn hospital during May 1995 to February 1996. The development of the new drug distribution system model was done by the application of the concept of the unit dose drug distribution system. The pharmacist was directly in the patients’ drug usage by directly copying the physiciant’s [order] from the order sheet into the pharmacy’s patient drug profile and limited to a 24-hour supply of medications. From this model, the cost of the floor stock for the tablets and injections decreased 66,350.48 Baths (80.88%), and 234,583.50 Baths (66.20%), respectively. The total cost of floor stock decreased by 318,629.48 Baths (68.98%). The total workload of the nursing department was not significantly difference before and after implementing the model. However, after implementing the model, the workload of the pharmacy department involving in drug dispensing done by the pharmacist and the assistants increased significantly to 1,723.65% and 216.19%, respectively (∝ = 0.05). The average daily total inventory cost for implementing this model was 372.90 Baths higher. Most personel involved in implementing the model were satisfied with this new system. The study suggested that the new drug distribution system may be practical and applicable for use in other hospital. However, this study was only looked mainly at the distribution system. There are still other effects, such as leaving the nurses with more free times, shorten patient’s length of hospital stay and decreasing of the medication errors, which have not been studied yet and should be explored further.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48195
ISBN: 9746333682
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannee_it_front.pdf911.99 kBAdobe PDFView/Open
Wannee_it_ch1.pdf716.56 kBAdobe PDFView/Open
Wannee_it_ch2.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_it_ch3.pdf866.31 kBAdobe PDFView/Open
Wannee_it_ch4.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_it_ch5.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Wannee_it_back.pdf9.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.