Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48214
Title: | ต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนเลี้ยงครั่ง |
Other Titles: | Cost and return on investment of lac cultivation |
Authors: | สำราญ เหรียญนุกูล |
Advisors: | วนิดา สุบรรณเสณี ดุษฎี สงวนชาติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ครั่ง -- การเพาะเลี้ยง การวิเคราะห์ผลตอบแทน ต้นทุน อัตราผลตอบแทน -- ไทย |
Issue Date: | 2532 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เนื่องจากต่างประเทศมีความต้องการครั่งจากประเทศไทยมาก แต่การผลิตและการส่งออกครั้งของประเทศไทยในแต่ละปีไม่สม่ำเสมอ เพื่อแก้ไขปัญหานี้สถานีวิจัยผลิตผลของป่า กรมป่าไม้จึงมีการศึกษาถึงวิธีการเพาะเลี้ยงครั่งและส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเพาะเลี้ยงครั่งเป็นอาชีพ แต่การส่งเสริมเพื่อให้เกิดการลงทุนจะต้องมีสิ่งจูงใจเพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุน สิ่งจูงใจก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนเลี้ยงครั่ง ดังนั้นวัตถุประสงค์หลักในการวิจัยเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนจากการลงทุนเลี้ยงครั่ง ในการศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนเลี้ยงครั่งนั้น แยกการศึกษาเป็น 2 วิธีคือ วิธีแรก ศึกษาถึงต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนเลี้ยงครั่งด้วยวิธีปลูกสวนป่าก้ามปูเพื่อใช้เพาะเลี้ยงครั่ง ผู้วิจัยได้สำรวจข้อมูลจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของสถานีวิจัยผลิตผลของป่า กรมป่าไม้ ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย โดยใช้พื้นที่ในการวิจัย 300 ไร่ ผลการศึกษาปรากฏว่าต้นทุนการเลี้ยงครั่งด้วยวิธีปลูกสวนป่าก้ามปูเพื่อใช้เพาะเลี้ยงครั่ง เฉลี่ยไร้ละ 3,612.16-3,688.28 บาท รายได้เฉลี่ยไร่ละ 5,619.32-6,786.80 บาท (ไม่รวมค่าจำหน่ายต้นก้ามปูซึ่งเกิดจากการตัดสางและเลิกใช้ต้นก้ามปูเมื่อสิ้นสุดโครงการ) ส่วนอีกวิธีหนึ่งศึกษาถึงต้นทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนเลี้ยงครั่งด้วยวิธีเช่าต้นไม้มีสามารถเพาะเลี้ยงครั่งได้ สำรวจข้อมูลจากเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงครั่งโดยการเช่าต้นไม้เลี้ยงครั่งโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สุ่มตัวอย่างผู้เพาะเลี้ยงครั่งโดยการเช่าต้นไม้เลี้ยงครั่ง จำนวน 10 ราย จากจังหวัดเลย บุรีรัมย์ อุดรธานี ขอนแก่น มหาสารคาม ผลการศึกษาปรากฏว่าต้นทุนการเลี้ยงครั่งด้วยวิธีเช่าต้นไม้ที่สามารถเพาะเลี้ยงครั่งได้เฉลี่ยต่อ 1 ต้นเท่ากับ 370.49-375.55 บาท รายได้เฉลี่ยต่อ 1 ต้น เท่ากับ 530.16 บาท นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนเลี้ยงครั่งของทั้ง 2 วิธี ปรากฏว่า วิธีปลูกสวนป่าก้ามปูเพื่อใช้เพาะเลี้ยงครั่งมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 9 ปี สำหรับวิธีเช่าต้นไม้ที่สามารถเพาะเลี้ยงครั่งได้มีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 4 ปี ปัญหาที่สำคัญของการลงทุนเพาะเลี้ยงครั่ง คือ เกษตรกรขาดความรู้ความชำนาญในการเพาะเลี้ยงครั่งให้ได้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี ซึ่งเกษตรกรสามารถขอความช่วยเหลือได้จากสถานีวิจัยผลิตผลของป่า กรมป่าไม้ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว |
Other Abstract: | The supply of lac never meets the great demand from foreign countries. In Thailand fluctuation in lac products always causes problems of lac export every year. In order to solve the problem, The Forest Products Research Division of the Royal Forest Department is now carrying out program on how to cultivate and promote lac cultivation to farmers. The promotion must centre on an incentive to invest. Thus the main objective in this research is to reveal how lac cultivation will benefit the farmer. In this study, The cost and return on investment of lac cultivation were divided into two categories. Firstly, the study was made on the cost and return on investment of lac cultivation from rain tree plantation. The Data were collected from the forest officers in Pak chong Distrct, Nakhon ratchasima and in Phu kradung District, Loei. The research area covered about 300 rai. The average cost of production of lac was 3,612.16-3,688.28 baht per rai. The average revenue was 5,619.32-6,786.80 baht per rai. (excluding the revenue of the extra income from selling timber after annual thinning and from overmatured trees). Secondly, the study was made on the cost and return on investment of lac cultivation from renting a tree. The study used the Simple Random Sampling among producers in the areas of Loei, Buri ram, Udon thani, Khon Kaen and Mahasarakham to obtain 10 samples. The results from the study revealed that the average cost of production of lac from renting a tree was 370.49-375.55 baht. The average revenue was 530.16 baht. An analysis of return on investment was also made on these two categories of cultivation of lac. The result of the analysis showed that the payback period for the first category was about 9 years, while payback period for the second category was about 4 years. The main problem of lac cultivation is lack of knowledge and experience in lac cultivation to cultivate higher product and good quality. But this problem can be solved if assistance was obtained from The Royal Forest Department. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 |
Degree Name: | บัญชีมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบัญชี |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48214 |
ISBN: | 9745764108 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Samran_ri_front.pdf | 2.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samran_ri_ch1.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samran_ri_ch2.pdf | 2.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samran_ri_ch3.pdf | 1.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samran_ri_ch4.pdf | 10.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samran_ri_ch5.pdf | 3.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samran_ri_ch6.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Samran_ri_back.pdf | 2.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.