Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48277
Title: เขตอำนาจศาลในคดีเกี่ยวกับแรงงาน
Other Titles: Court's jurisdiction over labour cases
Authors: วรพงศ์ มนตรีกุล ณ อยุธยา
Advisors: เกษมสันต์ วิลาวรรณ
มุรธา วัฒนะชีวะกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ศาลแรงงาน
ข้อพิพาทแรงงาน
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การระงับข้อพิพาทแรงงานโดยศาล ไม่ว่าศาลในที่นี้จะเรียกว่า “ศาลแรงงาน” หรือชื่ออย่างอื่น วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งขึ้นมาก็เพื่อต้องการยุติข้อพิพาททางแรงงานที่เกิดขึ้น มิให้ลุกลามต่อไปโดยเร็วที่สุด โดยลักษณะและเขตอำนาจของศาลแรงงานนั้นจะแตกต่างกันออกไปตามระบบการแรงงานสัมพันธ์ที่ต่างกัน ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งศาลแรงงานขึ้น เป็นไปตามระบบการแรงงานสัมพันธ์ระบบอนุญาโตตุลาการบังคับ ปัจจุบันศาลแรงงานไทยได้จัดตั้งขึ้นมานานถึง 7 ปีแล้ว ย่อมมีข้อขัดข้องและความไม่เหมาะสมเกิดขึ้นหลายประการ เพราะสภาพสังคมและเศรษฐกิจย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปัญหาทางด้านแรงงานก็มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะชี้ให้เห็นถึงปัญหาข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับศาลแรงงานของไทย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในคดีเกี่ยวกับแรงงาน ซึ่งมีปัญหาเกิดขึ้นแยกพิจารณาได้เป็น 2 ส่วนคือ 1. ในส่วนที่เกี่ยวกับเขตศาลที่ยังไม่เปิดโอกาสให้ความสะดวกแก่คู่กรณีใช้สิทธิยื่นฟ้องได้เท่าที่ควร 2. ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจพิจารณาของศาล ศาลแรงงานในปัจจุบันมีอำนาจครอบคลุมอยู่เฉพาะคดีเกี่ยวกับแรงงานส่วนแพ่งเพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีคดีเกี่ยวกับแรงงานส่วนแพ่งอื่นๆ และคดีเกี่ยวกับแรงงานส่วนอาญาไปอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรมธรรมดาอื่น ซึ่งน่าจะเป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งศาลแรงงาน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอความเห็นว่า ควรมีการเปิดโอกาสให้มีการฟ้องคดีให้สะดวกขึ้น และควรที่จะรวบรวมคดีเกี่ยวกับแรงงานส่วนแพ่งอื่นๆ ที่ปัจจุบันไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงาน รวมทั้งคดีเกี่ยกับแรงงานส่วนอาญาให้มาอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงาน
Other Abstract: Labour disputes resdution by Court, whether it is called Labour Court or in other names, has the objective to case labour disputes as prompt as possible. Feature and jurisdiction of Labour Courts vary in compliance to labour relation system. Accordingly, jurisdiction of each Labour Court will be different as the labour relation system is different. Thailand has established the Labour Court basing on the so-called compulsory arbitration labour relation system. It is now 7 years since Thai Labour Court establishment. Many obstructions and inappropriateness naturally has arisen from the constant changes of social and economic environment. This thesis will point out the obstruction pertinent to Thai Labour Court, especially to the Labour Court’s jurisdiction over labour disputes which can be considered into 2 parts : 1. The problem of unconvenience for the parties to file a claim with the Court causing from the jurisdictional matter. 2. The problem of types of cases that can be brought to the Labour Court, since the Labour Court has limited jurisdiction over some types of civil cases. There are still some civil labour cases and criminal labor cases subject to other ordinary justice Court which may be inconsistent with the objectives of Labour Court’s establishment. Thus, this thesis proposes that the filling of a complaint should be more convenience and extends the jurisdiction of the Labour Court to all types of Civil Labour cases, including the types presently are not subject to the Labour Court jurisdiction, and also criminal labour cases.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48277
ISBN: 9745692677
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Voraphong_mo_front.pdf2.62 MBAdobe PDFView/Open
Voraphong_mo_ch1.pdf5 MBAdobe PDFView/Open
Voraphong_mo_ch2.pdf11.43 MBAdobe PDFView/Open
Voraphong_mo_ch3.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open
Voraphong_mo_ch4.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open
Voraphong_mo_ch5.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open
Voraphong_mo_back.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.