Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48308
Title: การวิเคราะห์การอบรมเลี้ยงดูที่ได้รับและพฤติกรรมของตัวละครเอก ในวรรณคดีไทย สมัยรัชกาลที่ 2
Other Titles: An analysis of rearing practices and behaviors of main characters in Thai literature during the reign of King Rama II
Authors: วีระเกียรติ รุจิรกุล
Advisors: สุจริต เพียรชอบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: เด็ก -- การเลี้ยงดู
ตัวละครและลักษณะนิสัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการอบรมเลี้ยงดูที่ตัวละครเอกได้รับและพฤติกรรมของตัวละครเอกในวรรณคดีไทย สมัยรัชการที่ 2 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ขุนแผนและพลายงามได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยมากที่สุด สอดคล้องกับพฤติกรรมที่แสดงออก 2. ขุนช้างได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละทิ้งมากที่สุด สอดคล้องกับพฤติกรรมที่แสดงออก 3. วันทองและพระอภัยมณีได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบอัตตาธิปไตยมากที่สุด สอดคล้องกับพฤติกรรมที่แสดงออก 4. อิเหนาและสิงหไกรภพได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบปกป้องคุ้มครองและตามใจมากเกินไปมากที่สุด สอดคล้องกับพฤติกรรมที่แสดงออก 5. ตัวละครที่แสดงพฤติกรรมไม่สอดคล้องกับการอบรมเลี้ยงดูที่ได้รับมี 3 ตัว คือ สินสมุทรได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบปกป้องคุ้มครองและตามใจมากเกินไปมากที่สุด แต่แสดงพฤติกรรมซึ่งเกิดจากการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยมากที่สุด สุดสาครได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยมากที่สุด แต่แสดงพฤติกรรมซึ่งเกิดจากการอบรมเลี้ยงดูแบบอัตตาธิปไตยมากที่สุด และพระสังข์ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบปกป้องคุ้มครองและตามใจมากเกินไปมากที่สุด แต่แสดงพฤติกรรมซึ่งเกิดจากการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละทิ้งมากที่สุด
Other Abstract: The purpose of this research was to analyze the rearing practices and behaviors of main characters in Thai literature during the reign of King Rama II. The major findings of this research were as follows : 1. Khun Phan and Plai-Ngam were mainly brought up by democratic rearing practices which were relevant to their behaviors. 2. Khun Chang was mainly brought up by rejecting rearing practices which was relevant to his behaviors. 3. Wantong and Pra-Apaimanee were mainly brought up by authoritarian rearing practices which were relevant to their behaviors. 4. Inau and Singhk-Kraiphob were mainly brought up by over-protective and over-indulgent rearing practices which were relevant to their behaviors. 5. There were three characters whose behaviors were not relevant to the way they were brought up. Sinsamut was brought up by over-protective and over-indulgent rearing practices most but behaved as if he was brought up by democratic rearing practices most. Sudsakorn was brought up by democratic rearing practices most but his behaviors showed authoritarian rearing practices most. Pra-Sang was brought up by over-protective and over-indulgent rearing practices most but his behaviors was as if he was brought up by rejecting rearing practices most.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48308
ISBN: 9745692417
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weerakieat_ru.pdf98.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.