Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48322
Title: | การศึกษาลักษณะเฉพาะทางกายภาพของฟิล์มจากวุ้นน้ำมะพร้าว |
Other Titles: | Physical characterization of nata de coco film |
Authors: | รังสิมา ชลคุป |
Advisors: | พาสวดี ประทีปะเสน สุเมธ ตันตระเธียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Pasawadee.P@Chula.ac.th sumat.t@chula.ac.th |
Subjects: | วุ้นน้ำมะพร้าว เซลลูโลส ภาชนะบรรจุอาหาร |
Issue Date: | 2538 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือศึกษาผลของการทำเยื่อวุ้นน้ำมะพร้าวให้บริสุทธิ์ด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้นร้อยละ 2 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ซม. และผลของการปรับสภาพเยื่อวุ้นมะพร้าว (ภายหลังการทำให้บริสุทธิ์) โดยใช้กรอกซัลฟูริกที่ความเข้มข้นร้อยละ 1.25-5 โดยปริมาตร ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที หรือใช้ไอน้ำที่ความดัน 586 กิโลปราสคาล ที่เวลา 1-5 ซม. ต่อสมบัติทางกายภาพของฟิล์ม นอกจากนี้ยังศึกษาสมบัติทางกายภาพของฟิล์มจากเยื่อผสมระหว่างเยื่อวุ้นมะพร้าว (ทั้งที่ไม่ผ่านและผ่านการทำให้บริสุทธิ์) กับเยื่อใยยาวที่ปริมาณร้อยละ 30-100 ของเยื่อใยยาว ผลการทดลองพบว่าฟิล์มจากวุ้นน้ำมะพร้าวที่ไม่ผ่านการทำให้บริสุทธิ์มีค่าความหนาแน่นเสมือน 912.33 kg/m³ Young’s modulus 8040.34 MN/m² ความยืดร้อยละ 2.33 ดัชนีความต้านแรงดึง 56.31 kN.m/kg ดัชนีความต้านทานแรงฉีกขาด 1.98 N.m²/kg ดัชนีความต้านแรงดันทะลุ 4.25 MN/kg และความขาวสว่างร้อยละ 41.53 การทำเยื่อวุ้นน้ำมะพร้าวให้บริสุทธิ์ด้วยด่างทำให้ฟิล์มมีค่าดัชนีความต้านแรงดันทะลุเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 และความขาวสว่างเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 การปรับสภาพเยื่อด้วยกรดซัลฟูริกเข้มข้นร้อยละ 1.25-5 โดยปริมาตร ทำให้ฟิล์มมีค่า Young’s modulus ความยืด ดัชนีความต้านแรงดึงดัชนีความต้านทานแรงฉีกขาด และดัชนีความต้านแรงดันทะลุน้อยกว่าของฟิล์มที่ไม่ได้ผ่านการปรับสภาพด้วยกรดอยู่ร้อยละ 37, 46, 45, 58 และ 57 ตามลำดับ การปรับสภาพเยื่อด้วยไอน้ำไม่มีผลต่อสมบัติทางเชิงกลของฟิล์ม แต่ทำให้คความหนาแน่นเสมือนเพิ่มขึ้นและความขาวสว่างลดลง ฟิล์มผสมระหว่างเยื่อใยยาวกับเยื่อวุ้นน้ำมะพร้าว (ทั้งที่ไม่ผ่านและผ่านการทำให้บริสุทธิ์) มีค่าความหนาแน่นเสมือน และ Young’s modulus ลดลง ขณะที่ค่าดัชนีความต้านทานแรงฉีกขาด ความขาวสว่าง และความสามารถในการซึมผ่านได้ของไอน้ำและกาซออกซิเจนเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณของเยื่อใยยาวเพิ่มขึ้น ฟิล์มของเยื่อผสมมีค่าความยืด ดัชนีความต้านแรงดึง และดัชนีความต้านแรงดันทะลุน้อยกว่าฟิล์มของเยื่อวุ้นน้ำมะพร้าวและฟิล์มของเยื่อใยยาว ฟิล์มของเยื่อวุ้นน้ำมะพร้าวมีค่าดัชนีความต้านแรงดึงสูงกว่าฟิล์มของเยื่อใยยาว |
Other Abstract: | The objectives of this research were to study the effects of various treatments to Nata pulp on the physical properties of the Nata films. Three following treatments were used : 1) purification with 2% (weight by volume) sodiumhydroxide at 100℃ for 1 hr, 2) sulfuric acid treatment (at 1.25-5% by volume and 100℃ for 30 min) after purification, and 3) steam treatment (at 586 kPa for 1-5 hr) after purification. The method used for film casting was modified from ISO 5269/2 (1980.) The physical properties of films casted from unpurified/purified Nata – long-fiber pulp mixture at various long-fiber contents were also studied. The results showed that the films of unpurified Nata pulp had apparent density of 912.33 kg/m³, Young’s modulus of 8040.34 MN/m², elongation of 2.33%, tensile index of 56.31 kN.m/kg, tear index of 1.98 N.m²/kg, burst index of 4.25 MN/kg, and brightness of 41.53%. The purification of Nata pulp resulted in the increasing of burst index (34%) and brightness (24%) of films. The sulfuric acid treatment at 1.25-5% by volume decreased by Young’s modulus, elongation, tensile index, tear index, and burst index of films by 37, 46, 45, 58 and 57%, respectively. The steam treatment up to 5 hours did not affect the mechanical properties of films, while the apparent density of the films was increased, but the brightness of the films was decreased. For the films of unpurified/purified Nata - long-fiber pulp mixture, tear index, brightness, water vapour permeability, and oxygen gas permeability were increased, while Young’s modulus was decreased as long-fiber pulp content increased. The values of elongation and burst index of either Nata pulp film or long-fiber pulp film were higher than those of mixed pulp films. Tensile index of purified Nata pulp film was higher than that of long-fiber pulp film, which was higher than that of the mixed pulp films. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีทางอาหาร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48322 |
ISBN: | 9746313991 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rungsima_cho_front.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rungsima_cho_ch1.pdf | 320.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rungsima_cho_ch2.pdf | 2.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rungsima_cho_ch3.pdf | 668.97 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rungsima_cho_ch4.pdf | 3.87 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rungsima_cho_ch5.pdf | 361.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rungsima_cho_back.pdf | 2.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.