Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48347
Title: การศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นที่กระทำผิดกฎหมาย
Other Titles: A study of prevalence of depression in the adolescences with conduct
Authors: วรพร อินทบุหรั่น
Advisors: บดี ธนะมั่น
ดวงใจ กสานติกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Bodi.D@Chula.ac.th
Duangjai.K@Chula.ac.th
Subjects: ความซึมเศร้า -- ในวัยรุ่น
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นที่กระทำผิดกฎหมาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ วัยรุ่นที่กระทำผิดกฎหมายในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางจำนวน 300 คน โดยแบ่งเป็นสถานฝึกและอบรมบ้านกรุณา จำนวน 150 คน สถานแรกรับบ้านเมตตา จำนวน 90 คน สถานฝึกและอบรมบ้านปรานี จำนวน 30 คน และสถานกักและอบรมบ้านอุเบกขา จำนวน 30 คน โดยใช้แบบทดสอบ CES-D (Center of Epidemiological Studies Depression Scale) และแบบสอบถามที่เกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่า 1. ความชุกของภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นที่กระทำผิดกฎหมายเท่ากับร้อยละ 66.3 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ 2.1 ปัจจัยทางด้านร่างกาย ได้แก่ การเจ็บป่วยทางด้านจิตใจของบิดา และพี่น้อง (ที่ระดับ .01) การเจ็บป่วยทางด้านจิตใจของมารดา (ที่ระดับ .05) 2.2 ปัจจัยทางจิตสังคม ได้แก่ สถานภาพทางการศึกษา รายได้ของครอบครัว สถานที่ที่วัยรุ่นกระทำผิดกฎหมายอยู่ในขณะเก็บข้อมูล ความสัมพันธ์ระหว่างวัยรุ่นที่กระทำผิดกฎหมายกับบิดมารดาและพี่น้อง การเจ็บป่วยทางด้านจิตใจของวันรุ่นที่กระทำผิดกฎหมาย การคาดหวังต่ออนาคตในภายภาคหน้า (ที่ระดับ .01) ระยะเวลานานที่ศาลตัดสินให้เข้าอยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก และวิธีการแก้ปัญหาเมื่อสมาชิกคนในคนหนึ่งเกิดปัญหาขึ้น (ที่ระดับ .05)
Other Abstract: The purpose of this study was to study of prevalence of depression and related factors to depression in the adolescences with conduct. The subjects were three hundred adolescences with conduct in the central delinquent home. In Karuna Home was one hundred and fifty adolescences, Metta Home was ninety adolescences, Pranee Home was thirty adolescences and Ubegka Home was thirty adolescences. Depression was labeled as depression or not by CES-D (Center of Epidemiological Studies Depression Scale) and the another test about psychosocial factors of depression. The finding of this study conclude that 1. The prevalence of depression in adolescences with conduct was 66.3 percent. 2. Factors that significant relationship with depression in adolescences with conduct were 2.1 Biological factors were mental illness of their father, their siblings at the .01 and their mother at the .05 2.2 Psychosocial factors were educational status, family incomes, the place where they stayed, the relationship between the adolescences with conduct with their parents and their siblings, their mental illness, their expectations about the future at the .01, the amount of time that was presented in the delinquent home by the judge and the method that family used when their members had a problem at the .05
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48347
ISBN: 9745793957
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Woraporn_in_front.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Woraporn_in_ch1.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Woraporn_in_ch2.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
Woraporn_in_ch3.pdf713.11 kBAdobe PDFView/Open
Woraporn_in_ch4.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open
Woraporn_in_ch5.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Woraporn_in_back.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.