Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48361
Title: | บทบาทของข้าราชการปกครองส่วนภูมิภาค ในการพัฒนาการเมืองการปกครองท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีภาคใต้ของประเทศไทย |
Other Titles: | The role of regional-administrative government : a case study of Southern region of Thailand |
Authors: | สุคิด ลั่นซ้าย |
Advisors: | วิทยา สุจริตธนารักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ข้าราชการฝ่ายปกครอง การปกครองท้องถิ่น -- ไทย (ภาคใต้) ระบบข้าราชการ ไทย (ภาคใต้) -- การเมืองและการปกครอง |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองในปี 2475 แล้ว ประเทศไทยได้ลอกเลียนรูปแบบการปกครองของประเทศตะวันตกมาใช้ โดยมีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองมากมายหลายครั้ง แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงรูปแบบเท่านั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบบและสภาพแวดล้อมแบบกระบวนการพัฒนา ในที่สุดกลายสภาพเป็นสมัยใหม่แต่ไม่พัฒนา อำนาจที่แท้จริงอยู่ในมือของบรรดาข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ระบบราชการกลายเป็นสถาบันที่มีอำนาจทางการเมืองเหนือสถาบันทางการเมืองอื่นจนกลายเป็นลักษณะการเมืองระบบราชการ บทบาทของข้าราชการมิได้มีเฉพาะในระดับรัฐบาลเท่านั้น แม้แต่ในระดับท้องถิ่นข้าราชการก็มีบทบาทอยู่อย่างมากด้วย ทั้งนี้เพราะระบอบการปกครองของไทยไม่มีการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่นอย่างแท้จริง การพัฒนาทางการเมืองที่เป็นอยู่จึงเป็นแบบที่ข้าราชการเป็นผู้กำหนดขึ้น ประชาชนเองก็เห็นว่าข้าราชการเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เป็นคนชั้นสูงในสังคมเป็นผู้ทันสมัย เป็นข้าราชการมากกว่าเป็นผู้รับใช้ประชาชน ประชาชนจึงเกิดความเคารพเชื่อถือ ในตำแหน่งหน้าที่ราชการจนกลายเป็นประเพณี ประชาชนมีที่ท่าว่าจะเป็นฝ่ายยอมรับและอยู่ในโอวาทของข้าราชการ ประชาชนมีความรู้สึกกว่าการเมืองการปกครองเป็นหน้าที่ของรัฐบาลประชาชนเป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามเท่านั้น จึงอาจจะกล่าวได้ว่าเมื่อระบบราชการเข้ามามีบทบาททางการเมืองมากจะทำให้การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมีน้อย การปกครองท้องถิ่นไทยได้วิวัฒนาการมาช้านานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ก็มีปัญหาและอุปสรรคมากมายหลายประการทำให้การเมืองการปกครองท้องถิ่นพัฒนาไปอย่างเชื่องช้ามากเป็นต้นว่า ปัญหาเกี่ยวกับหลักการปกครองตนเอง ปัญหาเกี่ยวกับการควบคุม ปัญหาเกี่ยวกับการคลัง ปัญหาอันเนื่องมาจากองค์การปกครองท้องถิ่นเอง จากการที่ข้าราชการปกครองส่วนภูมิภาคได้เข้าไปมีอำนาจหน้าที่ในองค์การปกครองท้องถิ่นอย่างมากมาแต่ต้นทั้งในด้านการร่วมมือประสานงานการควบคุม และการดำรงตำแหน่งในองค์การปกครองท้องถิ่น จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจทำการศึกษาว่าข้าราชการปกครองได้มีบทบาทในการพัฒนาการเมืองการปกครองอย่างไรแค่ไหนเพียงใด แนวความคิดและทฤษฎีการพัฒนาทางการเมืองที่หยิบยกนำมาใช้เป็นกรอบในการศึกษาวิจัยก็คือ 1. การพัฒนาทางการเมืองในความหมายของการสร้างประชาธิปไตย ตามแนวความคิดช่อง Gabriel A Almond, Sidney Verba และ G. Bingham Powel ทั้งนี้เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นจุดหมายปลายทางของระบบการเมืองไทย 2. การพัฒนาทางการเมืองในความหมายของการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองตามแนวคิดของ Lucian W Pye Myron Weiner ทั้งนี้เพราะการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นเรื่องที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตย 3. การพัฒนาทางการเมืองในความหมายของการสร้างสถาบันการเมือง ตามแนวความคิดของ Samuel P Huntington ทั้งนี้เพราะองค์การปกครองท้องถิ่น เป็นสถาบันทางการเมืองในระดับท้องถิ่นที่เป็นราชฐานของระบอบประชาธิปไตย สมมติฐานของการศึกษาวิจัยมีอยู่ว่า 1. บทบาทของข้าราชการปกครองในการปลูกฝังและพัฒนาอุดมการทางการเมือง เพื่อสร้างระบบประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้นสัมพันธ์กับทัศนคติของตัวข้าราชการเองและความรู้ความเข้าใจและการแสดงออกของประชาชนในท้องถิ่น 2. บทบาทของข้าราชการปกครองในการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองระดับท้องถิ่นด้วยการกระตุ้นจูงใจนั้นสัมพันธ์กับการมองเห็นความสำคัญของการปกครองท้องถิ่นและการให้โอกาสแก่ประชาชนในท้องถิ่น 3. บทบาทของข้าราชการปกครองในการสร้างเสถียรภาพให้แก่องค์การปกครองท้องถิ่นนั้นสัมพันธ์กับความเป็นสถาบันทางการเมืองขององค์การปกครองท้องถิ่น 4. บทบาทของข้าราชการการปกครองในการสนับสนุนความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจเพื่อนำไปสู่การกระจายอำนาจการบริหารและการปกครองนั้นสัมพันธ์กับนโยบายของรัฐบาลและความพร้อมในการปกครองตนเองของท้องถิ่น จากการศึกษาวิจัยในกรณีภาคใต้ของประเทศไทยโดยอาศัยความร่วมมือช่วยเหลือจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด นายอำเภอ ผู้ตรวจการส่วนท้องถิ่นและปลัดอำเภอจำนวนทั้งสิ้น 311คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่า 1. ข้าราชการปกครองส่วนภูมิภาคมีจิตใจที่สนับสนุนหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยมีทัศคติที่ดีต่อการกระจายอำนาจการปกครองให้แก่ท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ข้าราชการเชื่อว่าตนเป็นผู้รอบรู้และเข้าใจเรื่องการเมืองการปกครองดีกว่าประชาชน ในขณะที่ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในทางการเมืองและยังมองไม่เห็นคุณค่าของประชาธิปไตย ข้าราชการปกครองจึงต้องมีบทบาทในการปลูกฝังและพัฒนาอุดมการณ์ทางการเมืองเพื่อสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น 2. ข้าราชการปกครองส่วนภูมิภาคเห็นว่าประชาชนในท้องถิ่นมีความสำนึกทางการเมืองต่ำมาก ขาดความรู้สึกในประสิทธิภาพทางการเมือง และมองไม่เห็นความสำคัญของการปกครองท้องถิ่น ประชาชนจึงมีความรู้สึกเฉื่อยเฉยต่อการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ข้าราชการปกครองจึงต้องให้การศึกษาอบรม ชี้นำ และกระตุ้นจูงใจให้ประชาชนมีความกระตือรือร้นที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น 3. ข้าราชการปกครองส่วนภูมิภาคเห็นว่าองค์การปกครองท้องถิ่นมีความเป็นสถาบันทางการเมืองน้อยมาก เนื่องจากองค์การปกครองท้องถิ่นไม่สามารถสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างเพียงพอ องค์การปกครองท้องถิ่นถูกควบคุมอย่างเข้มงวด มีความขัดแย้งทางการเมืองในกิจการของท้องถิ่นอยู่เนืองๆ ข้าราชการปกครองจึงมีความรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ของตนที่ต้องพิทักษ์หรือประครองการปกครองท้องถิ่นให้เป็นตามกฎหมายและมีความต่อเนื่อง 4. ข้าราชการปกครองส่วนภูมิภาคมีความเห็นว่ารัฐบาลไม่ค่อยจะเชื่อมั่นและไว้วางใจในองค์การปกครองท้องถิ่นมากนัก จึงไม่มีการกระจายอำนาจเพื่อส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอย่างจริงจังจริงใจ ในทรรศนะข้องข้าราชการแล้วประชาชนยังไม่พร้อมที่จะปกครองตนเองความรู้สึกของข้าราชการก็คือจะเอาอย่างไรก็ตามใจรัฐบาล ข้าราชการปกครองต้องแสดงบทบาทอย่างนี้ต่อไปจนกว่ารัฐบาลจะปล่อยให้องค์การปกครองท้องถิ่นปกครองตนเอง 5. อย่างไรก็ตามบทบาทที่ข้าราชการปกครองคาดหวังว่าควรจะมีควรจะเป็นตามความคิดเห็นกับบทบาทที่เป็นจริงในการพัฒนาทางการเมืองการปกครองท้องถิ่นยังมีช่องว่างอยู่มาก |
Other Abstract: | It was since 1932 that Thailand has been copying pattern of Western country's political system with an aim of making Thai government a democratic one. There have been many changes, mostly in form while the system remain the same. It becomes a case of modernization without development. The real power rests in the hands of officials both military and civilian. Bureaucratic system prevails over other political institutions so much so that Thai political system is named a bureaucratic polity. The role of the officials reaches down to the local level making them dominant at that level as well. This is due mainly to concentration of power at the centre. The people in general accept that officials are capable, they are social elite, as well as they are modern. They hardly think of officials as being civil servants. It thus becomes a kind of tradition that people obey officials. People tend to think that the officials are responsible for governing while people only follow. With officials are so dominant in politics, people's participation in politics will be less. Thai local government has developed from the period of King Rama V but faced so many obstacles that it grew only very slowly. Main problems are the self government, supervision, financial arrangement and organization. Since officials of the Department of Local Government have been playing very significant role in local government, it is interesting to find out about the extent of the role of these officials in political development. Conceptual and theoretical framework utilized in this study are as follow : 1. Democracy as an end result of political development as propouded by Gabriel A. Almond, Sidney Verba and G. Bingham Powell, 2. Political participation as a product of political development according to ideas of Lucian W. Pye and Myron Weiner, 3. Political development as the creation of political institutions according to openion of Samuel P. Huntington. This study hypothesizes that 1. The role of the official in inculcating and developing political ideology leading to functioning of democracy in the region corresponds with the official's attitude and understanding as well as political expression of the people in the region. 2. The role of the official in promoting people's participation in local political affair corresponds with the official's understanding of the significance of local government as well as giving chances to local people. 3. The role of the official in creating stability for the local government corresponds with the institutionalization of the local government. 4. The role of the official in supporting freedom of policy making and decision making leading to decentralization corresponds with the government's own policy and the readiness of the local people for self-government. This study is enhance by cooperation of the governors, deputy-governnors, secretaries of the province, district chiefs, local government superintendants and deputy-district chiefs, the total number of which is 311. The conclusion from the study are listed below. 1. Regional-administrative officials support democratic government, favour decentralization and people's participation in politics. They are aware that they are better informed especially in political affairs than common people. Since the people lack proper understanding and cannot perceive the value of democracy, it becomes a task of the officials to incalcate and develop political ideology among the local people. 2. Regional-administrative officials think that local people's political consciousness is very low. Local people do not possess the feeling of political effectiveness, cannot perceive the significance of local government, and as such they do not actively take part in political activity. It becomes the responsibility of the officials to educate people in political participation. 3. The extent of institutionalization of the local government is rated low in the opinion of the regionals administrative officials. Since local government body cannot effectively respond to the need of the local people, it is rather strictly controled. Coupled with conflicts of political nature in the region, the officials feel obliged to take care of local government. 4. Regional-administrative officials feel that the government is not confident in the working of local government, and as much, decentralization is hard to come by. The officials are of the idea that people are not ready for self-government. People accept what the government decides for them. This is why officials still have to play protector's role until self-government is possible. 5. Regional-administrative officials' expectation of t their role and the actual role they play in political development and local government shows a wide gap. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปกครอง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48361 |
ISBN: | 9745626945 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sukid_lu_front.pdf | 1.88 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukid_lu_ch1.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukid_lu_ch2.pdf | 3.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukid_lu_ch3.pdf | 3.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukid_lu_ch4.pdf | 4.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukid_lu_ch5.pdf | 5.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukid_lu_ch6.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukid_lu_back.pdf | 7.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.