Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48407
Title: การลดปริมาณสารหนูในน้ำด้วยกระบวนการโคแอกกูเลชั่นสำหรับชนบท
Other Titles: Removal of arsenic in water by coagulation process for rural areas
Authors: สมศักดิ์ อินทรการุณเวช
Advisors: สุทธิรักษ์ สุจริตตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สารหนู
น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การรวมตะกอน
การรวมตะกอน
สารส้ม
ปูนขาว
จาร์เทส
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เกี่ยวข้องกับการออกแบบอุปกรณ์กระบวนการโคแอกกูเลชันสำหรับชนบทและศึกษาประสิทธิภาพของอุปกรณ์กระบวนการโคแอกกูเลชันสำหรับชนบท โดยทำการทดลองเปรียบเทียบกับอุปกรณ์จาร์เทสต์ ใช้โคแอกกูแลนท์สองชนิดคือ สารส้ม และปูนขาว ดำเนินการทดลองแบบแบทช์ (Batch) น้ำดิบที่ใช้ในการทดลองแบ่งออกเป็นสองชนิดคือ น้ำดิบจากบ่อตื้น ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และน้ำดินสังเคราะห์ที่เตรียมจากสารประกอบโชเดียมอาร์เซเนตผสมกับน้ำประปา ทำการทดลองที่ระดับความเข้มข้นสารหนูในน้ำประมาณ 4.5 และ 1.2 มิลลิกรัมต่อสิตร แปรค่าปริมาณสารส้มตั้งแต่ 20-160 มิลลิกรัมต่อลิตรที่พีเอช 6.6-6.9 และแปรค่าปริมาณปูนขาวตั้งแต่ 10-400 มิลลิกรัมต่อลิตรที่พีเอช 9. 1% 11.4 ผลการวิจัยพบว่า สารส้มสามารถให้ประสิทธิภาพการกำจัดมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ที่ปริมาณการใช้สารส้มมากกว่า 120 มิลลิกรัมต่อลิตรขึ้นไป และมีพีเอชที่เหมาะสม 6.6-6.9 สำหรับปูนขาวพบว่าสามารถให้ประสิทธิภาพการกำจัดมากกว่า 78 เปอร์เซ็นต์ ที่ปริมาณการใช้ปูนขาวมากกว่า 300 มิลลิกรัมต่อลิตรขึ้นไป และมีพีเอชที่เหมาะสม 11.1-11.4 การกรองด้วยถังทรายกรองช้าที่อัตราการกรอง 0.3 เมตร3 / เมตร2 ชั่วโมง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้เพียงเล็กน้อยและมีอายุการกรองสั้น ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าประสิทธิภาพของอุปกรณ์กระบวนการโคแอกกูเลชันสำหรับชนบทสามารถเปรียบเทียบได้อย่างใกล้เคียงกับอุปกรณ์จาร์เทสต์
Other Abstract: This study was concerned with the design of coagulation process for rural areas and its efficiency. The comparision between the coagulation process for rural areas, jar test was investigated by batch experiment. Alum and Calcium hydroxide were used as coagulants. There were two kinds of raw water, first, was raw water from Ronphiboon District, Nakornsrithammaraj Provice and second, was synthetic water prepared by dissolving Sodium arsenate with tap water to be concentration of arsenic at 4.5 and 1.2 mg/l. Alum and Calcium hydroxide were varied concentration between 20-160 mg/l. In pH range 6.6-6.9 and between 10-400 mg/l. In pH range 9.1-11.4 respectively. It was found that the efficiency of arsenic removal is more than 90% when used Alum hydroxide over 120 mg/l. at the optimum pH 6.6-6.9 and the efficiency of arsenic removal by using Calcium hydroxide is more than 78% at concentration over 300 mg/l. and the optimum pH 11.1-11.4. There are found, however, filtered by slow sand filter with overflow rate 0.3m3./m2./hr. can increased only few efficiency and short filter run with not more than 1,050 liters. The results of the study shows that the efficiency between coagulation process for rural areas and jar test are not different.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48407
ISBN: 9745765163
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsak_in_front.pdf10.36 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_in_ch1.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_in_ch2.pdf18.16 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_in_ch3.pdf9.8 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_in_ch4.pdf11.22 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_in_ch5.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_in_ch6.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_in_ch7.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Somsak_in_back.pdf10.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.