Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48447
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประวิตร นิลสุวรรณากุล | - |
dc.contributor.advisor | ศักดิ์ เกี่ยวการค้า | - |
dc.contributor.author | วิชิต ฉัตรพิริยกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2016-06-09T03:34:42Z | - |
dc.date.available | 2016-06-09T03:34:42Z | - |
dc.date.issued | 2530 | - |
dc.identifier.isbn | 9745671509 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48447 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 | en_US |
dc.description.abstract | การตรวจสอบด้านสินเชื่อเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกของการตรวจสอบภายในของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งโดยทั่วไปมุ่งเน้นตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารประกอบรายการการจัดขั้นคุณภาพของสินเชื่อที่ให้ไป และประเมินระบบการควบคุมภายในว่าถูกต้องเหมาะสมหรือไม่เท่านั้น รายงานการตรวจสอบที่ฝ่ายบริหารได้รับ ส่วนใหญ่แสดงถึงข้อบกพร่องของเอกสารและการปฏิบัติงานบางประการเท่านั้น ข้อมูลดังกล่าวถึงแม้ว่าจะมีความสำคัญ แต่ก็เป็นเพียงข้อมูลบางส่วนสำหรับผู้บริหารระดับสูง ฉะนั้น เพื่อให้รายงานการตรวจสอบมีข้อมูลเพียงพอสำหรับผู้บริหารระดับสูงภายใต้สถานการณ์ของการแข่งขันในปัจจุบันและอนาคต ผู้ตรวจสอบภายในของธนาคารพาณิชย์ จึงควรขยายบทบาทให้ครอบคลุมถึงการตรวจสอบการบริหารงานในธนาคารทุกขึ้นตอน เพื่อประเมินผลการดำเนินงานด้านสินเชื่อทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารระดับสูงเห็นภาพที่สมบูรณ์ในเรื่องนี้ อันจะส่งให้มีการวางนโยบายและการตัดสินใจเกี่ยวกับงานด้านสินเชื่ออย่างรอบรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ การศึกษาเรื่องการตรวจสอบการบริหารสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์นี้ ผู้เขียนได้ศึกษาวิธีและแนวการตรวจสอบที่ใช้ปฏิบัติจริง รวมทั้งได้ปรับปรุงเพิ่มเติมวิธีการตรวจสอบบางเรื่องให้ละเอียดยิ่งขึ้นตามความเหมาะสม นอกจากนี้ยังได้ศึกษาปัญหาจากการตรวจสอบการบริหารและแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น เพื่อให้ธนาคารหด้รับข้อมูลที่มีประโยชน์ในการบริหารสินเชื่อมากที่สุด การตรวจสอบการบริหารสินเชื่อ ประกอบด้วย (1) การตรวจสอบการวางแผนด้านสินเชื่อ เพื่อประเมินการวางแผนสินเชื่อทุกขั้นตอน ตรวจแผนงานว่ามีความสอดคล้องกับนโยบายสินเชื่อที่ธนาคารกำหนด และต้องมีความเป็นไปได้เพื่อนำไปปฏิบัติ (2) การตรวจสอบการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน และการปฏิบัติงานด้านสินเชื่อเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติ รวมทั้งระบบการควบคุมภายในว่าเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติที่ธนาคารกำหนดหรือไม่ (3) ตรวจสอบการประเมินผลคุณภาพสินเชื่อ เพื่อสอบทานการจัดขั้นสินเชื่อว่าถูกต้องหรือไม่ ขั้นตอนของการตรวจสอบการบริหารที่สำคัญที่จะขาดมิได้ คือ ต้องตรวจการบริหารการตลาดด้านสินเชื่อ ซึ่งได้แก่การตรวจสอบการวางแผนการตลาดด้านสินเชื่อ การปฏิบัติการตลาดด้านสินเชื่อ และการประเมินแผนการตลาดสินเชื่อ เพื่อประเมินกลยุทธ์ทางการตลาดว่าสามารถนำมาใช้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่ เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงได้รับรายงานการตรวจสอบที่ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารสินเชื่อทั้งระบบ และสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารสินเชื่อโดยส่วนรวมได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มำให้ธนาคารได้รับผลประโยชน์สูงสุดจาการให้สินเชื่อ อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบการบริหารสินเชื่ออาจมีข้อจำกัดด้านเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบ เนื่องจากในระยะเวลาสั้นๆ พนักงานตรวจสอบอาจจะไม่สามารถประเมินความเหมาะสมของกาบริหารสินเชื่อทุกขั้นตอนได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น เพื่อให้การตรวจสอบการบริหารสินเชื่อมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ธนาคารอาจจัดตั้งหน่วยงานภายในฝ่ายตรวจสอบ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารสินเชื่อโดยเฉพาะแยกจากหน่วยงานที่ตรวจสอบด้านทั่วไป พนักงานตรวจสอบเหล่านี้อาจจะถูกคัดเลือกมาจากหลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเช่น ฝ่ายสินเชื่อ ฝ่ายหนี้สินและหลักทรัพย์ หรือฝ่ายกฎหมาย เป็นต้น ซึ่งพนักงานเหล่านี้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้านอยู่แล้ว และสิ่งสำคัญที่จะขาดมิได้คือ ต้องพยายามให้พนักงานตรวจสอบมีความคิดทางการบริหาร กล่าวคือ จะต้องรู้จักกำหนดวัตถุประสงค์ขึ้นก่อน แล้วจึงวางแผนงานเพื่อทำให้งานนั้นบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และสุดท้ายต้องรู้จักนำแผนที่วางไว้นั้นไปปฏิบัติให้สัมฤทธิผล การมีความคิดเช่นนี้จะทำให้มองภาพต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ และทำงานอย่างมีระบบ ผลงานที่ออกมาก็จะสมบูรณ์ | en_US |
dc.description.abstractalternative | Credit audit, the first essential step in the internal audit work of a commercial bank, is generally designed to verify the validity of supporting documents, the classification of credits, and to evaluate the suitability of the internal control system. Presently, the audit reports received by the management mainly indicate shortcomings in documents and performance in certain aspects. Those data, despite their importance, represent only a portion of data needed by top executives. Therefore, to ensure that audit reports contain adequate information for top executives on current and future circumstances of competition, internal auditors of a commercial bank should extend their role to cover the audit of every administrative step in the bank so as to provide comprehensive evaluation of credit operation for the top executives to enable them to have a complete picture in this field work. With such data, suitable policies and judgement can be made and the objectives of the bank can also be achieved. In studying management audit of domestic credit of a commercial bank, the author directed his attention to the methods and audit program in actual practice, also more detailed audit methods in respect of certain matters as may be necessary. The study further covered problems encountered in management audit and possible guidelines for overcoming those problems so that the bank may acquire most useful data for its credit management. The management audit of credit consists of (1) credit planning audit by evaluating every step of credit planning and examinating such plans to determine their compatibility with the credit policy set up by the bank, and their feasibility when they are put into credit operation; (2) audit of every step of credit operation, in case a computerized system is used, study of the internal control system to ascertain whether it is being performed in accordance with the bank’s related regulations; and (3) audit of the evaluation of credit quality to find out the propriety of credit classification. An indispensable step in management audit is the marketing management audit in respect of credit. This includes the examination of marketing plans for audit, credit marketing operation, and evaluation of credit marketing plans in order to assess the applicability of the marketing strategy in relation to the achievement of the desired objectives. Such will provide top executives with audit reports containing comprehensive data for the entire credit management system that enable them to arrive at proper decisions regarding proper credit administration, and thereby bring the bank the highest benefit from its credit service. However, management audit of credit may have time limit. Auditor may not be able to efficiently evaluate all steps of suitable management of credit process. In addition, to increase efficiency in its management audit of credit, the bank may set up an internal audit unit being exclusively responsible for the management audit of credit. This is to be a unit separate from other general audit work. Personnel of the unit may be selected from those people in the credit department, the loans and securities department, or the legal department, for instance, since these personnel possess experience and knowledge in this specific field. Another important factor that should not be overlooked is that efforts should be made to instill administrative thinking in such person. That is to say, they must first specify objectives and then make plans to achieve those in advance. Lastly, they should also know how to implement their plans effectively. Thinking in this way will enable them to see things in the right perspective, to work systematically, and to obtain perfect results. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การตรวจสอบภายใน | en_US |
dc.subject | สินเชื่อ | en_US |
dc.subject | ธนาคารพาณิชย์ | en_US |
dc.title | การตรวจสอบการบริหารสินเชื่อภายในประเทศของธนาคารพาณิชย์ | en_US |
dc.title.alternative | Management audit of domestic credit of a commercial bank | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | บัญชีมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การบัญชี | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Vichit_cha_front.pdf | 1.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichit_cha_ch1.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichit_cha_ch2.pdf | 5.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichit_cha_ch3.pdf | 3.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichit_cha_ch4.pdf | 8.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichit_cha_ch5.pdf | 3.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichit_cha_ch6.pdf | 2.45 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichit_cha_ch7.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Vichit_cha_back.pdf | 6.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.