Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48498
Title: ผลของสารต้นตอคาร์บอนและไนโตรเจน ต่อการผลิตโปรตีเอสและเอนไซม์ในไนโตรเจน เมแทบอลิซึม ของ บาซิลลัส สับติติส TISTR 25
Other Titles: Effect of carbon and nitrogen sources on protease production and some nitrogen metabolic enzymes in Bacillus Subtilis TISTR 25
Authors: สนธยา ศรีเมฆ
Advisors: พีรดา มงคลกุล
เปี่ยมสุข พงษ์สวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Peerada.M@Chula.ac.th
Piamsook.P@Chula.ac.th
Subjects: บราซิลลัส สับติลิส
แบคทีเรีย
กลูตามิน ซินเทส
กลูตาเมต ซินเทส
กลูตาเมตดีไฮโดรจีเนส
โปรติโอลิติก เอนซัยม
สารต้นตอคาร์บอน
สารต้นตอไนโตรเจน
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการเลี้ยง Bacillus subtilis TISTR 25 ในอาหารสูตรปรับต่ำ pH 6.0 อุณหภูมิ 30°ซ และเสริมด้วยสารต้นตอไนโตรเจน พบว่า กลูตาเมท แอสปาราจีน อาร์จินีนโพรลีน และ เคซีนไฮโดรไลเสท มีผลให้การเจริญและแอคติวิติจำเพาะของเอนไซม์โปรตีเอสสูงกว่าในกลุ่มอื่น ๆ ที่ศึกษา ส่วนสารต้นตอคาร์บอนเช่น ซิเตรทและซัคซิเนท พบว่ามีบทบาทหรือ ความสำคัญต่อการผลิตโปรตีเอสน้อยกว่ากลุ่มของสารต้นตอไนโตรเจน และพบว่าสารต้นตอคาร์บอนเหล่านี้ รวมทั้งกลูโคส เมื่อเสริมในน้ำเลี้ยงร่วมกับกลูตาเมท ยังมีผลไปลดการผลิตโปรตีเอสโดยขบวนการแคแทบอไลท์รีเพรสชันอีกด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า กรดอะมิโนที่มีความเข้มข้นสูงพอเหมาะ เช่น เคซีนไฮโดรไลเสทที่ระดับความเข้มข้นสูงกว่า 0.5 เปอร์เซนต์ และกลูตาเมทที่ความเข้มข้นสูงกว่า 100 มิลลิโมลาร์ ก็สามารถลดการผลิตโปรตีเอสได้ ในการศึกษาผลของกรดอะมิโนผสมและกรดอะมิโนเดี่ยว ต่อการผลิตโปรตีนเอสพบว่า กรดอะมิโนผสมสามารถสนับสนุนการเจริญ และค่าแอคติวิตีของโปรตีเอสได้สูงกว่ากรดอะมิโนเดี่ยวอย่างชัดเจน เมื่อศึกษาผลของกรดอะมิโนเดี่ยวแต่ละชนิดพบว่า ในกรณีที่ใช้ กลูตาเมทแอสปาราจีน โพรลีน หรือเคซีนไฮโดรไลเสท จะมีผลให้เชื้อผลิตโปรตีเอสในปริมาณเท่า ๆ กัน และยังเป็นผลให้อัตราส่วนของ ซีรีนต่อเมตัลโปรตีเอสที่ผลิตได้มีค่าใกล้เคียงกันอีกด้วย การศึกษาโดยใช้สารยับยั้ง rifampin และการเปรียบเทียบผลจากการเติมกลูโคสที่ช่วงการเจริญต่างกัน ทำให้สันนิษฐานได้ว่า การควบคุมการผลิตโปรตีเอส ของ Bacillus subtilis TISTR 25 น่าจะเกิดขึ้นที่ระดับการถอดรหัสของจีนส์ที่เกี่ยวข้อง เนื่องมาจากสารต้นตอไนโตรเจน มีอิทธิพลต่อการผลิตโปรตีเอสมากกว่าสารต้นตอคาร์บอน จึงได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการผลิตโปรตีเอส กับเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในวิถีไนโตรเจน พบว่าวิถีที่เร่งโดย GS-GOGAT มีความสำคัญในการนำสารต้นตอไนโตรเจน เข้าสู่ขบวนการเมแทบอสิซึม มากกว่าวิถีที่เร่งโดย GDH และการผลิตโปรตีเอสมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับแอคติวิติของเอนไซม์ GS และ GOGAT
Other Abstract: A chemical defined medium at pH 6.0 , 30 ℃ , supplemented with nitrogen sources was more effective than that with carbon sources in increasing growth and specific activity of protease of B. subtilis TISTR 25. Gloutamate, asparagines, arginine , proline , and casein hydrolysate were good nitrogen sources, whereas citrate and succinate were good carbon sources. These carbon sources including glucose , when supplemented with glutamate , decreased protease production through the process of catabolite repression. It was also found that high concentration of amino acids such as case in hydrolysate , at concentration higher than 0.5 percent, and glutamate , at concentration higher than 100 mM , were also able to decrease protease production. Moreover, growth and protease activity in amino acid mixtures were higher than when cultured in single amino acid. Glutamate, asparagines, proline , and casein hydrolysate were comparable when using as nitrogen sources for the ability to induce protease and also for the production ratio of serine to metal protease. Studies of rifampin inhibitor and the effect of adding glucose at different growth phases suggest that the control of protease production in B. subtilis TISTR 25 should be at the transcriptional level. Due to the high influence of nitrogen source on protease production, the relationship between activities of protease and enzymes in nitrogen metabolism was studied. The results indicate that the pathway catalyzed by GS-GOGAT was more important than the GDH pathway in nitrogen metabolism In addition , protease production was inversely related to GS and GOGAT activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48498
ISBN: 9745778036
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sontya_sr_front.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Sontya_sr_ch1.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Sontya_sr_ch2.pdf467.19 kBAdobe PDFView/Open
Sontya_sr_ch3.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Sontya_sr_ch4.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open
Sontya_sr_ch5.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Sontya_sr_back.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.