Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48516
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุกับพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียน ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Gausal factors related to aggressive behavior of students in Bangkok Metropolis
Authors: สมพร สุทัศนีย์
Advisors: พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์
ดิเรก ศรีสุโข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Puntip.S@Chula.ac.th
Derek.s@chula.ac.th
Subjects: ความก้าวร้าวในเด็ก -- ไทย
สังคมประกิต
เด็ก -- การดูแล -- ไทย
นักเรียนประถมศึกษา -- สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคม -- ไทย
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมก้าวร้าว โดยศึกษาในลักษณะของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ทั้งทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยด้าน การอบรมเลี้ยงดู อิทธิพลกลุ่มเพื่อน ลักษณะตัวเด็ก และลักษณะภูมิหลังของครอบครัว กับพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และสังกัดสำนักงานประถมศึกษากรุงเทพมหานคร และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนจำนวน 390 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนดังกล่าวได้จากการสุ่มหลายขั้นตอน โดยการสุ่มแบบง่าย จากแต่ละสังกัดโรงเรียนได้จำนวน 6 โรงเรียน และสุ่มแบบง่ายจากโรงเรียนดังกล่าวได้ 11 ห้องเรียน ใช้นักเรียนทุกคนจาก 11 ห้องเรียนเป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 4 ฉบับและแบบทดสอบสติปัญญา 1 ฉบับ กลุ่มตัวอย่างได้รับการขอร้องให้ตอบแบบสอบถามการบอรมเลี้ยงดู 7 แบบ คือ การใช้อำนาจควบคุม เข้มงวดกวดขัน ลงโทษทางกาย ให้ความคุ้มครอง ประชาธิปไตย รักตามใจ และปล่อยปละละเลย แบบสอบถามอิทธิพลกลุ่มเพื่อนซึ่งประกอบด้วย การแสดงแบบและการให้แรงเสริม แบบสอบถามความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ และแบบวัดพฤติกรรมก้าวร้าว และตอบแบบทดสอบสติปัญญา Standard Progressive Matrices Test แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เส้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ตัวแปรที่ใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุทั้งสี่กลุ่ม สามารถร่วมกันอธิบายพฤติกรรมก้าวร้าวได้ประมาณร้อยละ 51 2. ตัวแปรกลุ่มที่มีอิทธิพลเชิงสาเหตุต่อพฤติกรรมก้าวร้าวในระดับสูงสุดได้แก่ อิทธิพลกลุ่มเพื่อน สามารถอธิบายพฤติกรรมก้าวร้าวได้ประมาณร้อยละ 38 3. ตัวแปรที่มีอิทธิพลเชิงสาเหตุต่อพฤติกรรมก้าวร้าวเรียงตามลำดับผลทางตรงและทางอ้อมรวมกัน คือ การให้แรงเสริม การแสดงแบบ การอบรมเลี้ยงดู แบบรักตามใจ อายุ (ของเด็ก) การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้อำนาจควบคุม ลงโทษทางกายให้ความคุ้มครอง และแบบประชาธิปไตย 4. ตัวแปรที่มีอิทธิพลเชิงสาเหตุทางตรงต่อพฤติกรรมก้าวร้าว ได้แก่การให้แรงเสริม การอบรมเลี้ยงดูแบบใช้อำนาจควบคุม ลงโทษทางกาย ให้ความคุ้มครองและประชาธิปไตย การให้ความคุ้มครองมีอิทธิพลเชิงสาเหตุทางลบกับพฤติกรรมก้าวร้าว 5. ตัวแปรที่มีอิทธิพลเชิงสาเหตุทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมก้าวร้าว ได้แก่ อายุของเด็ก การแสดงแบบ และการอบรมเลี้ยงดูแบบรักตามใจ 6. ตัวแปรที่มีอิทธิพลเชิงสาเหตุทางอ้อมต่อพฤติกรรมก้าวร้าว ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษาของพ่อแม่ รายได้ของครอบครัว และความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่
Other Abstract: This research was designed to study the antecedents of aggressive behavior by studying the model of both direct and indirect causal relation between child-rearing practices, peer group influences, biosocial characteristics of the child, family background with aggressive behavior of students in Bangkok Metropolis The study included 390 students of pratom suksa six from the primary schools under the jurisdiction of the Bangkok Metropolitan Administration and office of Bangkok Metroolitan Primary Education, and matayom suksa three from the secondary schools under the jurisdiction of the Department of General Education in Bangkok Metropolis and from the private schools under the supervision of the office of the Private Education Commission on during the academic year 1986. The sample was selected through multi-stage sampling. Six schools were randomly selected from all groups of schools. Eleven classrooms were selected from theses schools. All students in the classrooms were the subjects of this study. Data were collected by means of using four rating scale questionnaires and a mental ability test. The first questionnaire comprised of seven child-rearing practices including authoritarian, firm-discipline, physical punishment, overprotection, democracy, permissiveness and rejection. The second questionnaire covered peer group influences of modeling and reinforcement. The third questionnaire dealt with parent relationship. The fourth one was the questionnaire of aggressive behavior. The Standard Progressive Matrices was used as a measure of intelligence. Data were analyzed through Path analysis. The findings were as follows: 1. The four groups of variables chosen for this study accounted for the variance of aggressive behavior about 51 per cent. 2. The influences of peer group affected aggressive behavior at the highest level and accounted for the variance of aggressive behavior about 38 per cent 3. The variables that affected aggressive behavior according to the order of the quantity of total causal effects were reinforcement modeling, permissiveness, the age of students, authoritarian, physical punishment, overprotection and democracy 4. The following variables had direct causal influence upon aggressive behavior : reinforcement, authoritarian, physical punishment, overprotection, and democracy. Overprotection had a negative direct causal influence. 5. The age of the subjects, modeling and permissiveness, had not only direct but also indirect causal influences upon aggressive behavior. Furthermore sex of the subjects, parent education, family income, and parent relationship had only indirect causal influence on aggressive behavior.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48516
ISBN: 9745676373
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somporn_su_front.pdf867.32 kBAdobe PDFView/Open
Somporn_su_ch1.pdf5.76 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_su_ch2.pdf4.41 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_su_ch3.pdf2.36 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_su_ch4.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open
Somporn_su_ch5.pdf807.36 kBAdobe PDFView/Open
Somporn_su_back.pdf7.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.