Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48581
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพนิดา ดามาพงศ์-
dc.contributor.authorวารี วณิชปัญจพล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-09T10:04:22Z-
dc.date.available2016-06-09T10:04:22Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746367447-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48581-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและให้อันดับที่คุณภาพบริการพยาบาลที่ผู้ป่วยคาดหวังและตามที่ผู้บริหารในกลุ่มงานการพยาบาลรับรู้ความคาดหวังของผู้ป่วย และศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อคุณภาพบริการพยาบาล เมื่อการเปรียบเทียบความคาดหวังกับการรับรู้บริการตามมาตรฐานเชิงกระบวนการในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงธารณสุขที่เข้าร่วมโครงการควบคุมคุณภาพการพยาบาลของเครือข่ายสถานบริการสาธารณสุข ประชากรคือผู้ป่วยและผู้บริหารในกลุ่มงานการพยาบาล สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยประกอบด้วยผู้ป่วยนอกจำนวน 400 คน ผู้ป่วยในจำนวน 400 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารในกลุ่มงานการพยาบาลคือผู้บริหารในระดับกลุ่มงานการพยาบาล และพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 408 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยปรับปรุงจากมาตรฐานเชิงกระบวนการของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข แล้วนำไปหาความตรง หาความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. การเปรียบเทียบบริการพยาบาลที่ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในคาดหวัง และที่ผู้บริหารในกลุ่มงานพยาบาลรับรู้ความคาดหวังของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน อยู่ในระดับเดียวกันคือ ระดับมาก 2. การเปรียบเทียบบริการพยาบาลที่ผู้ป่วยนอกคาดหวังและที่ผู้บริหารในกลุ่มงานการพยาบาลรับรู้ความคาดหวังผู้ป่วยนอกพบว่า ส่วนใหญ่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพบว่าผู้บริหารในกลุ่มงานการพยาบาลรับรู้ความคาดหวังของผู้ป่วยนอกมากกว่าที่ผู้ป่วยนอกคาดหวัง ส่วนบริการพยาบาลที่ผู้ป่วยในคาดหวังและที่ผู้บริหารในกลุ่มงานการพยาบาลรับรู้ความคาดหวังของผู้ป่วยในพบว่า ทุกมาตรฐานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยพบว่าผู้บริหารในกลุ่มงานการพยาบาลรับรู้ความคาดหวังของผู้ป่วยในมากกว่าที่ผู้ป่วยในคาดหวัง 3. การให้อันดับที่แก่บริการพยาบาล ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในและผู้บริหารในกลุ่มงานการพยาบาลให้อันดับที่แก่บริการพยาบาลตรงกันทุกมาตรฐาน 4. การรับรู้คุณภาพบริการพยาบาลตามมาตรฐานเชิงกระบวนการ เมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังต่อบริการกับการรับรู้บริการภายหลังที่ผู้ป่วยได้รับบริการแล้ว พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยคะแนนความคาดหวังต่อบริการสูงกว่าการรับรู้บริการ เมื่อนำค่าเฉลี่ยความคาดหวังบริการไปลบด้วยค่าเฉลี่ยการรับรู้บริการ พบว่า การรับรู้คุณภาพบริการพยาบาลของผู้ป่วยนอกมีค่าเป็นลบ มีความไม่พึงพอใจในระดับมาก ทุกมาตรฐาน ส่วนการรับรู้คุณภาพบริการพยาบาลของผู้ป่วยในมีค่าเป็นลบ ความไม่พึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางทุกมาตรฐานen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study, to compare and to rank patients' expectation and nurse administrators' perception of patients' expectation on nursing service quality, and to study level of patients' satisfaction after compared their expectation and perception, medical hospital and regional centers and general hospitals under the jurisdiction of the Ministry of Public Health. The research subjects, consisted of 400 out patients, 400 in patients and 408 nurse administers, were randomly selected through multi stage sampling technique. The instruments were adapted from standard of nursing in medical hospital and regional centers and hospital and were tested for content validity and reliability. The data were analyzed by using arithmetic mean, standard deviation and t-test. The major findings were as follows : 1. Out patients' and in patients' expectation on nursing service and nurse administrators' perception of out patients and in patients expectation on nursing service are more level. 2. Out patients' expectation on nursing service and nurse administrators' perception of out patients' expectation are statistically significant difference at the level of .01. Nurse administrators perceived patients' expectation more than that of out patients themselves. In patients' expectation on nursing service and nurse administrators' perception of in patents' expectation are statistically significant difference at the level of .01. Nurse administrators percieved in patients' expectation more than that of in patients themselves. 3. The ranking score of nursing service given by out and in patents are similar to those of nurse administrators. 4. Patients' expectation and patients perceptions of nursing service quality is significant difference a .01 level. Expectation of both in and out patients on nursing service is higher than their perception. Nursing service quality satisfaction scores of out patient is more level in every standard, while that of in patient is moderate level.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleความคาดหวังของผู้ป่วยต่อบริการพยาบาลและการรับรู้ ของผู้บริหารการพยาบาลต่อความคาดหวัง ของผู้ป่วยโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุขen_US
dc.title.alternativePatiens' expectation toward nursing services and nurse administrators' perception toward the patients' expectation medical hospital and regional centers and general hospitals under the jurisdiction of the Ministry of Public Healthen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPanida.D@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waree_wa_front.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Waree_wa_ch1.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Waree_wa_ch2.pdf5.34 MBAdobe PDFView/Open
Waree_wa_ch3.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open
Waree_wa_ch4.pdf6.47 MBAdobe PDFView/Open
Waree_wa_ch5.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open
Waree_wa_back.pdf6.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.