Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48651
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ | |
dc.contributor.author | วิไลวรรณ หงษ์ภู่ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2016-06-10T02:47:21Z | |
dc.date.available | 2016-06-10T02:47:21Z | |
dc.date.issued | 2533 | |
dc.identifier.isbn | 9745769517 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48651 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการประถมศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อสนับสนุนแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกในทศวรรษหน้า โดยใช้เทคนิควิจัยอนาคตแบบ EDFR การศึกษาครอบคลุมสภาพจังหวัดฉะเชิงเทรา คุณลักษณะนักเรียนที่พึงประสงค์ จุดมุ่งหมาย เนื้อหาวิชา วัยเริ่มเรียน ระยะเวลาเรียน บทบาทครูและบทบาทผู้ปกครอง ผลการวิจัยพบว่า ในทศวรรษหน้าจังหวัดฉะเชิงเทรามีแนวโน้มที่อุตสาหกรรมเบาและอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกจะขยายตัวมาตั้งมากขึ้น ในด้านการศึกษาระดับประถมศึกษานั้นคุณลักษณะนักเรียนที่พึงประสงค์ คือ เป็นคนมีทัศนคติที่ดีและรับผิดชอบต่อการทำงาน มีความรู้ด้านอุตสาหกรรมพื้นฐาน มีทักษะในการทำงานอุตสาหกรรมได้และสามารถคิดประดิษฐ์ผลผลิตทางการเกษตรมาเป็นสินค้าอุตสาหกรรมได้ การศึกษาในระดับนี้ควรมีจุดมุ่งหมายให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีและปรับตัวเองให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง รู้จักองค์ประกอบพื้นฐานของการเป็นประเทศอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร สามารถใช้ชีวิตในสังคมอุตสาหกรรมได้ดี เนื้อหาวิชาที่จะสอนควรเป็นความรู้เกี่ยวกับอาชีพใหม่ๆ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงอาชีพ รู้จักตนเอง รู้จักสิ่งแวดล้อมต่างๆ มีความรักชาติ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น รวมทั้งมีทักษะความรับผิดชอบ ความคิดสร้างสรรค์ ซื่อสัตย์ อดทน วัยเริ่มเรียนที่เหมาะสมระดับประถมศึกษาคือ เริ่มวัยเรียน 6 ปี สำหรับระยะเวลาที่ควรจะศึกษาในระดับนี้น่าจะขยายเป็น 9 ปี นอกจากนี้ยังพบว่าครูควรมีบทบาทในการพัฒนาตนเองให้มีความรู้กว้างขวาง ไวทันต่อเหตุการณ์และมีบทบาทในการพัฒนานักเรียนโดยการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ สร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ประการสุดท้ายผู้ปกครองควรให้ความรักเอาใจใส่แก่เด็กตลอดจนให้ความร่วมมือแก่ทางโรงเรียน | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study an organization of elementary education in changwat chachoengsao for supporting Eastern Seaboad Development Plan in the next decade by using EDFR technique. It covered the state of changwat chachongsao, The desired characteristics of students, educational aims, contents, school age, period of study as well as the teachers' and parents' roles. The research revealed that in next decade the light and export industries tends to expand into the area of changwat chachoengsao. In primary education, the desired characteristics of student would be the one who is good attitude and work responsibility, industries basic, skill to work in industry and to devise agriculture product to be industrial product. The primary education should aim at the ability to work with other and to adjust themselves in the changing situations, the knowledge of basic nature of industrialization and agro-industrialization. The content of teaching should cover career education, science and technology, self understanding, environmental education, nationalism, and the participation in local development including the responsibility, creativity, faithful and patient. The appropriate starting of school age is sin years old. The length of appropriate school years is 9 years. The role of teachers should include self-development, sensitive to the changing situation, the motivator to in crease the students' creativities, and the developer of the educational innovation and technology. Finally, the parents should give their love, take care of their children and co-operate with the school. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก | en_US |
dc.subject | การศึกษาขั้นประถม -- การวางแผน -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา | en_US |
dc.subject | หลักสูตร | en_US |
dc.subject | การศึกษากับการพัฒนาประเทศ | en_US |
dc.title | การจัดการประถมศึกษาในจังหวัดฉะเชิงเทราเพื่อสนับสนุนแผน พัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกในทศวรรษหน้า | en_US |
dc.title.alternative | An organization of elementary education in Changwat Chachoengsao for supporting eastern seaboard development plan in the next decade | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | พื้นฐานการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | pruet.s@chula.ac.th | |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wilaiwan_ho_front.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wilaiwan_ho_ch1.pdf | 1.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wilaiwan_ho_ch2.pdf | 9.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wilaiwan_ho_ch3.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wilaiwan_ho_ch4.pdf | 4.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wilaiwan_ho_ch5.pdf | 4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wilaiwan_ho_back.pdf | 5.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.