Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48681
Title: โปรแกรมนอนลีเนียและการจำลองแบบสำหรับการเลือกสรรหลักทรัพย์
Other Titles: Nonlinear programming and simulation models for securities selection
Authors: วิชัย มงคลปิยะธนา
Advisors: ก้องเกียรติ โอภาสวงการ
อัจฉรา จันทร์ฉาย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: หลักทรัพย์
การลงทุน
โปรแกรมนอนลิเนีย
การจัดกลุ่มหลักทรัพย์
อัตราผลตอบแทน
ความเสี่ยง
การเลือกสรรหลักทรัพย์
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงวิธีการคัดเลือกและจัดสัดส่วนของเงินทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ที่เหมาะสม โดยนำวิธีการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาประยุกต์เข้ากับทฤษฎีการลงทุน เพื่อสร้างวิธีและกฎเกณฑ์ของการคัดเลือกหลักทรัพย์เข้ากลุ่มหลักทรัพย์และการจัดสัดส่วนของเงินทุน การคัดเลือกหลักทรัพย์จะพิจารณาถึงสภาพคล่องของการซื้อขายหลักทรัพย์ อัตราส่วนของผลตอบแทนชดเชยความเสี่ยงต่อค่าความเสี่ยงและการกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ในหลายๆ อุตสาหกรรม ส่วนการจัดสัดส่วนเงินทุนในกลุ่มหลักทรัพย์จะจัดด้วยตัวแบบโปรแกรมนอนลีเนีย (nonlinear programming model) วิธีดังกล่าวจะให้กลุ่มหลักทรัพย์ที่มีผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาจะนำผลตอบแทนจากการลงทุนด้วยวิธีโปรแกรมนอนลีเนียเปรียบเทียบกับการจัดสัดส่วนเงินทุนด้วยการสุ่มอย่างสม่ำเสมอ (uniform random) โดยสมมติฐานว่าการจัดกลุ่มหลักทรัพย์และจัดสัดส่วนเงินทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ด้วยวิธีโปรแกรมนอนลีเนียจะให้ผลตอบแทนมากกว่าวิธีการจำลองแบบชนิดสุ่ม (random simulation) นอกจากนี้ยังได้เปรียบเทียบผลตอบแทนจากการลงทุนด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้นกับผลตอบแทนจากการลงทุนของ – การคัดเลือกหลักทรัพย์อย่างสุ่มและจัดสัดส่วนเงินทุนอย่างสุ่ม – การคัดเลือกหลักทรัพย์อย่างสุ่มและจัดสัดส่วนเงินทุนโดยให้ทุกหลักทรัพย์มีสัดส่วนเท่ากัน – การคัดเลือกหลักทรัพย์อย่างสุ่มและจัดสัดส่วนเงินทุนโดยพิจารณาถึงน้ำหนักของสภาพคล่องของการซื้อขายหลักทรัพย์ การวิเคราะห์และทดสอบผลทางสถิติพบว่า 1. วิธีการคัดเลือกหลักทรัพย์ตามกฎเกณฑ์โดยพิจารณาถึงสภาพคล่องของการซื้อขายหลักทรัพย์อัตราส่วนของผลตอบแทนชดเชยความเสี่ยงต่อค่าความเสี่ยง และการกระจายลงทุนในหลักทรัพย์ในหลายๆ อุตสาหกรรม และจัดสัดส่วนของเงินทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ด้วยตัวแบบโปรแกรมนอนลีเนีย จะให้ผลตอบแทนจากการลงทุนมากกว่าการลงทุนด้วยวิธีอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ 2. ระยะเวลาการถือทรัพย์ในแต่ละงวดลงทุนทั้ง 6 แบบ ไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าระยะเวลาการถือหลักทรัพย์แบบใดจะให้ผลตอบแทนสูงกว่าการถือหลักทรัพย์แบบอื่นๆ 3. จากตัวอย่างการทดลองสุ่มค่าสัดส่วนของเงินทุน จำนวนตัวอย่างละ 100 ครั้ง เปรียบเทียบกับค่าสัดส่วนของเงินทุนที่ได้จากตัวแบบโปรแกรมนอนลีเนีย ผลปรากฏว่าการลงทุนด้วยสัดส่วนของเงินลงทุนที่ได้จากตัวแบบโปรแกรมนอนลีเนีย จะให้ผลตอบแทนมากกว่าการลงทุนด้วยสัดส่วนของเงินทุนอย่างสุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ จากผลการศึกษาและทดลองให้ผลสนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้สอดคล้องกับทฤษฎีทั้งทางด้านการวิเคราะห์เชิงปริมาณและทฤษฎีการลงทุน
Other Abstract: The objective of this thesis is to study the method of securities selection and fund allocation in an optimal portfolio. The Method and criteria are constructed from a quantitive method applied to investment theory. The criteria used in ranking securities consist of turnover liquidity, risk premium to risk ratio and diversification of securities. A nonlinear program ming model is used for the allocation of funds. The return of a portfolio of which the funds are allocated by a nonlinear programming method is compared with the one which the funds are allocated by a uniform random method, on the assumption that the nonlinear programming method derives a better return than the uniform random method. The study also compares the return of a portfolio as follows : 1) A Uniform random method is applied for both securities selection and fund allocation. 2) A uniform random method is applied for securities selection when funds are allocated in equal proportions. 3) The method of weighing of turnover liquidity is used for securities selection and funds allocation. From the statistical analysis and experimentation, we found that 1) The securities selection by using turnover liquidity, risk premium to risk ratio, and diversification of securities including the nonlinear programming method in the funds allocation results a significant higher return than the other method. 2) We can not absolutely conclude that which type of holding period of investment yields better return. 3) Form the sample of random proportions, which was 100 times a sample, we found that the funds allocated by a nonlinear programming method provides a better return than by the random method. The result of the study supports the hypothesis and conforms with both quantitative analysis theory and investment theory.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48681
ISBN: 9745677818
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vichai_mo_front.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_mo_ch1.pdf554.4 kBAdobe PDFView/Open
Vichai_mo_ch2.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_mo_ch3.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_mo_ch4.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_mo_ch5.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_mo_ch6.pdf993.83 kBAdobe PDFView/Open
Vichai_mo_back.pdf16.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.