Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48682
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต-
dc.contributor.authorสุวรรณา วิริยะประยูร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-10T04:35:09Z-
dc.date.available2016-06-10T04:35:09Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745668788-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48682-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ตัวแบบสัญลักษณ์ การชี้แนะ และการเสริมแรงทางบวกต่อการเพิ่มการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็กพิการเนื่องจากสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กพิการเนื่องจากสมอง ซึ่งมีระดับการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมต่ำ อายุ 5-13 ปี ในศูนย์ฟื้นฟูเด็กพิการ โรงพยาบาลเลิศสิน จำนวน 10 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 5 คน กลุ่มควบคุม 5 คน โดยใช้การทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมทดสอบก่อนการทดลอง หลังการทดลองและติดตามผล แบ่งการทดลองเป็น 5 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นระยะข้อมูลเส้นฐาน ระยะที่ 2 เป็นระยะการเสนอตัวแบบสัญลักษณ์ ระยะที่ 3 เป็นระยะการเสนอตัวแบบสัญลักษณ์ร่วมกับการชี้แนะ ระยะที่ 4 เป็นระยะการเสนอตัวแบบสัญลักษณ์ร่วมกับการชี้แนะและการเสริมแรงทางบวก และระยะที่ 5 เป็นระยะติดตามผล การทดลองแบ่งเป็นระยะละ 5 วัน สังเกตพฤติกรรมทั้ง 2 กลุ่มทุกวัน กลุ่มละ 30 นาที ในช่วงเวลาเล่นอย่างอิสระ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่า ที (t-test) และการทดสอบการแจกแจงทวินาม พบผลการวิจัยว่า กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเพิ่มมากกว่ากลุ่มควบคุมในระยะการเสนอตัวแบบสัญลักษณ์ ระยะการเสนอตัวแบบสัญลักษณ์ร่วมกับการชี้แนะ ระยะการเสนอตัวแบบสัญลักษณ์ร่วมกับการชี้แนะและการเสริมแรงทางบวก และระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และพบว่า พฤติกรรมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็กในระยะการเสนอตัวแบบสัญลักษณ์เพิ่มมากกว่าระยะข้อมูลเส้นฐาน ระยะการเสนอตัวแบบร่วมกับการชี้แนะเพิ่มมากกว่าระยะการเสนอตัวแบบสัญลักษณ์ ระยะการเสนอตัวแบบสัญลักษณ์ร่วมกับการชี้แนะและการเสริมแรงทางบวกเพิ่มมากกว่าระยะการเสนอตัวแบบสัญลักษณ์ร่วมกับการชี้แนะ และระยะติดตามผลเพิ่มมากกว่าระยะข้อมูลเส้นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the effects of Symbolic models Prompting and Positive Reinforcement on Increasing Social Interaction of cerebral Palsy children. The subjects were ten 5-13 years old who have low level of social interaction from Lerdsin Hospital. These ten subjects were assigned to the experimental and the control group. The ABCDF Control group design was used in this study which A is a Baseline phase, B is a Symbolic models phase, C is a Symbolic models and Prompting phase, D is a follow-up phase, Prompting and Positive Reinforcement phase and F is a follow-up phase. The experiment was divided into the sections which consisted of five days. In the free play time, behavior of each group was observed for 30 minutes everyday. The data were analyzed through the t-test and Binomial Distribution. The result showed that there was significant difference at the .05 level on social interaction behavior between the experimental group and the control group for the Symbolic models Prompting and Positive Reinforcement phase and the follow-up phase. On the other hand, it showed that there was significant difference at the .05 level on social interaction behavior from phase to phase.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการกระทำระหว่างกันทางสังคมen_US
dc.subjectการปรับพฤติกรรมen_US
dc.subjectเด็กพิการทางสมองen_US
dc.titleผลของตัวแบบสัญลักษณ์ การชี้แนะ และการเสริมแรงทางบวก ต่อการเพิ่มการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็กพิการเนื่องจากสมองen_US
dc.title.alternativeEffects of symbolic models prompting and positive reinforcement on increasing social interaction of cerebral palsy childrenen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsompoch.l@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwanna_vi_front.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_vi_ch1.pdf5.22 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_vi_ch2.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_vi_ch3.pdf4.99 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_vi_ch4.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_vi_ch5.pdf785.41 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_vi_back.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.