Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48706
Title: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์การถดถอยในการประมาณราคา งานอาคาร
Other Titles: An application of regression analysis in building cost estimating
Authors: วรศักดิ์ ทวีกิจการ
Advisors: วิสุทธิ์ ช่อวิเชียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: fcevcc@eng.chula.ac.th
Subjects: การวิเคราะห์การถดถอย
การก่อสร้าง -- การประมาณราคา
ต้นทุน
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายเพื่อสร้างแบบจำลองการประมาณราคางานอาคารโดยการใช้การวิเคราะห์การถดถอย เก็บรวบรวมข้อมูลราคากลางและราคาประมูลของอาคารที่ก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร แยกตามประเภทอาคารคือ อาคารโรงพยาบาล อาคารเรียน อาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียมและแฟลต 50 โครงการ แบบจำลอง การประมาณต้นทุนอาคารนี้เป็นฟังค์ชั่นเชิงซ้อนของตัวแปรทางกายภาพของอาคาร จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอาศัยวิธีสเตปไวส รีเกรชชัน พบว่าแบบจำลองการประมาณต้นทุนอาคารเป็นฟังค์ชั่นตัวแปรยกกำลัง ประกอบด้วยตัวแปรอิสระ 4 ตัวดังนี้ ความสูงระหว่างชั้นเฉลี่ย จำนวนชั้น เส้นรอบรูปเฉลี่ย และพื้นที่ใช้งานรวม และจากการอาศัยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Least square) ในการวิเคราะห์หาแบบจำลองพบว่า การสร้างแบบจำลองการประมาณต้นทุนอาคารแยกขนาดอาคาร 1 ถึง 3 4 ถึง 12 และมากกว่า 12 ชั้นจะเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด เมื่อเปรียบเทียบการประมาณต้นทุนโดยใช้แบบจำลองที่หาได้กับวิธีโดยพื้นที่และโดยปริมาตร พบว่าการประมาณต้นทุนโดยใช้แบบจำลองจะมีความแม่นยำสูงกว่าการใช้วิธีโดยพื้นที่และโดยปริมาตร ผลการวิเคราะห์ดังกล่าวสามารถใช้ในการตั้งงบประมาณราคากลางสำหรับโครงการใหม่ และใช้ตรวจสอบความถูกต้องของการประมาณราคาอย่างละเอียด
Other Abstract: The objective of the study is to construct a building cost estimating model by means of regression analysis. Reference price and bidding price data was collected from 50 buildings consisting of, hospitals, schools, office buildings, condominiums and apartments in Bangkok. It was assumed that the building cost is a multiple function of certain physical variables. The stepwise regression was used to analyze the significance of the assumed variables and it was found that four significance independent variables are interval height, number of storeys, average perimeter and total dwelling area. By using the method of least square it was found that building cost estimating model should be appropriately divided into three groups, 1 to 3, 4 to 12 and more than 12 storeys for each building types. The proposed model was found to better predict the costs of projects than the area and volume methods. The model can be used to determine allocate the budget for construction projects and to check the detailed estimate.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48706
ISBN: 9745772356
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vorasak_ta_front.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open
Vorasak_ta_ch1.pdf581.27 kBAdobe PDFView/Open
Vorasak_ta_ch2.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Vorasak_ta_ch3.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
Vorasak_ta_ch4.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open
Vorasak_ta_ch5.pdf702.05 kBAdobe PDFView/Open
Vorasak_ta_back.pdf15.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.