Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48718
Title: ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นประสบการณ์นิยมหรือไม่?
Other Titles: Is theravada buddhist episremology an empircist theory?
Authors: ลักษณ์วัต ปาละรัตน์
Advisors: สุนทร ณ รังษี
มารค ตามไท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ญาณวิทยา
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากทรรศนะของผู้ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ของพุทธปรัชญานั้นมีแตกต่างกันไปและหลายท่านมองว่ามีลักษณะเป็นประสบการณ์นิยมงานวิจัยนี้จึงพยายามที่จะศึกษาเพื่อที่จะตอบปัญหาว่าญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นประสบการณ์นิยมหรือไม่ ผลจากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าแม้การใช้คำ “ประสาทสัมผัส” “ประสบการณ์” และ “การรับรู้” ในพุทธปรัชญาจะแตกต่างจากที่ใช้กันในปรัชญาตะวันตกส่วนใหญ่แต่แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ของประสบการณ์นิยมตะวันตกและพุทธปรัชญานั้นมีลักษณะที่เหมือนกันในหลายประการกล่าวได้ว่าความคิดเกี่ยวกับการรับรู้ การพิสูจน์ว่าจริงแลการคิดหาเหตุผล (โยนิโสมนสิการ) ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อทรรศนะเรื่องความรู้ของพุทธปรัชญานั้นล้วนแต่มีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์ทฤษฎีความรู้ตามนัยนี้มีลักษณะเป็นประสบการณ์นิยมเพราะถือว่าประสบการณ์เป็นที่มาที่สำคัญของความรู้ลักษณะทั้งหมดเหล่านี้ล้วนทำให้มองได้ว่าพุทธปรัชญาเป็นประสบการณ์นิยม อย่างไรก็ตามในการพิจารณาประเด็นปัญหาที่ว่า “ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นประสบการณ์นิยมหรือไม่?” นั้น เราจะมองข้ามความจริงที่ว่าคำ “ประสบการณ์” และ “ประสบการณ์นิยม” นั้นมีใช้กันหลายความหมาย หลายระดับไม่ได้ด้วยเหตุที่คำตอบของปัญหานี้ขึ้นอยู่กับบริบทที่เกี่ยวข้องเราจึงไม่มีคำตอบที่สำเร็จรูปตายตัวสำหรับปัญหานี้และด้วยเหตุดังกล่าวการจะตอบปัญหานี้ให้ถูกต้องสมบูรณ์จึงต้องใช้วิธีการวิเคราะห์แล้วแยกประเด็นให้ชัดเจนก่อนแล้วจึงตอบแบบวิภัชชวาท ไม่ใช่การตอบแบบแง่เดียวและตายตัวลงไปแบบเอกังสวาท คำตอบสำหรับประเด็นปัญหานี้อาจสรุปได้ว่าในกรณีที่เราใช้คำ “ประสบการณ์นิยม” ตามความหมายอย่างอ่อนอันหมายถึงหลักการที่ถือว่า ประสบการณ์เป็นที่มาสำคัญที่สุดของความรู้ทฤษฎีความรู้ของพุทธปรัชญาเถรวาทจะเป็นประสบการณ์นิยมแต่ในกรณีที่คำ “ประสบการณ์นิยม” นั้นใช้ในความหมายที่เคร่งครัดคือหมายถึงหลักการที่ถือว่าประสบการณ์เท่านั้นที่เป็นที่มาของความรู้ญาณวิทยาของพุทธปรัชญาเถรวาทก็ไม่อาจจัดได้ว่าเป็นประสบการณ์นิยม
Other Abstract: Due to the fact that there are conflicting views on Buddhist theory of knowledge and many scholars hold that it has empirical characteristics, this research aims to assess whether Buddhist thinkers fail into the class of Empiricists. The result of this research shows that, in spite of the differences of the meaning of “senses”, “experience” and “perception”, the similarities which we find between Western Empiricism and Buddhist philosophy are remarkable. It can be said that the concepts of perception, verification and reasoning (yonisomanasikara) which are of fundamental importance to knowledge are all based on experience. Buddhist theory of knowledge has an empirical approach since it sees experience as the main source of knowledge. All of these characters give Buddhism a look of Empiricism. In considering the question “Is Theravada Buddhist Epistemology an Empiricist Theory ?” we cannot overlook the fact that there are various meanings of “experience” and different degrees of “empiricism”. There is therefore no hard and fast answer to this problem as its answer entirely depends on its context. In order to get the correct and complete answer we need to assess it case by case, and the analytical and many-sided method (Vibhajjavada) should be used instead of the one-sided method (Ekansavada). Thus, the answer to this problem is that in the case that “empiricism” is used in the weak sense to mean the doctrine which holds that experience is the most important source of knowledge, Buddhist epistemology can be classified as and empiricist theory. But in the case that “empiricism” is the sole source of knowledge, it cannot be classified as such.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48718
ISBN: 9745818976
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Laksawat_pa_front.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Laksawat_pa_ch1.pdf501.92 kBAdobe PDFView/Open
Laksawat_pa_ch2.pdf8.27 MBAdobe PDFView/Open
Laksawat_pa_ch3.pdf11.64 MBAdobe PDFView/Open
Laksawat_pa_ch4.pdf9.84 MBAdobe PDFView/Open
Laksawat_pa_ch5.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Laksawat_pa_back.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.