Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48723
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมชาย รัตนโกมุท-
dc.contributor.authorศิริพร เมฆฉาย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-10T06:39:45Z-
dc.date.available2016-06-10T06:39:45Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.isbn9746312979-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48723-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงผลกระทบของเศรษฐกิจส่วนรวมที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงความต้องการยางพาราโดยใช้ระบบสมการอุปสงค์ของยางพาราและตารางปัจจัยการผลิตผลผลิตเป็นเครื่องมือในการศึกษาแล้วศึกษาถึงเสถียรภาพของราคายางความเหมะสมในการลงทุนปลูกยางพาราและช่วงอายุที่เหมาะสมในการปลูกทดแทน ผลการวิจัยทางด้านการประเมินผลกระทบของอุปสงค์ยางทั่วโลกโดยผ่านระบบสมการอุปสงค์ของอุตสาหกรรมยางพาราของไทยพบว่าเมื่ออุปสงค์ของยางทั่วโลกเพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบถึงปริมาณยางที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ ในประเทศมากที่สุดรองลงมาคือปริมาณยางที่ส่งออกไปญี่ปุ่นและอันดับที่ 3 คือปริมาณที่ส่งออกไปจีนและเมื่อทำการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสาขาการผลิตอื่นๆเมื่อให้อุปสงค์สุดท้ายของอุตสาหกรรมยางพาราเพิ่มขึ้นในร้อยละต่างๆ พบว่าจะชักนำให้เกิดมูลค่าเพิ่มโดยสาขาการผลิตที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือการทำสวนยางพารา รองลงมาคือการผลิตยางแผ่นเครปและยางก้อนอันอับต่อมาคือสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ ทางด้านผลกระทบเชื่อมโยงข้างหน้าและข้างหลังพบว่าการทำสวนยางพาราจะมีผลกระทบเชื่อมโยงข้างหน้าสูงส่วนการผลิตยางแผ่นเครปและยางก้อนการผลิตยางนอกและยางในรถยนต์และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ จะมีผลกระทบเชื่อมโยงข้างหลังสูง ทางด้านเสถียรภาพของราคายางพบว่าราคาที่เกษตรกรได้รับมีการเปลี่ยนแปลงรุนแรงกว่าราคาขายส่งและราคาส่งออกทั้งในรายเดือนและรายปีและราคาเฉลี่ยรายเดือนมีเสถียรภาพมากกว่าราคาเฉลี่ยรายปี อัตราส่วนผลได้ของทุนที่คำนวณได้ ณ ระดับอัตราลดค่าร้อยละ 9 ของยางชนิดที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยและยางที่ให้ผลผลิตสูงสุดนั้นมีค่าเท่ากับ 1.07 และ 1.21 และอัตราผลตอบแทนภายในของยางที่ให้ผลผลิตสูงสุดเท่ากับร้อยละ 14.50 ส่วนยางชนิดที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยนั้นเท่ากับ 10.91 ยางทั้ง 2 ชนิดมีราคาคุ้มทุนที่แตกต่างกันคือยางชนิดที่ให้ผลผลิตสูงสุดมีราคาคุ้มทุนเป็น 14.05 บาทและยางชนิดที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยมีราคาคุ้มทุนเป็น 15.83 บาท การวิเคราะห์อายุที่เหมาะสมในการลงทุนปลูกทดแทนโดยนำราคาไม้ยางมาคิดด้วยนั้นพบว่ายางชนิดที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยมีอายุที่เหมาะสมในการลงทุนปลูกทดแทนคือ 20 ปีสำหรับยางชนิดที่ให้ผลผลิตสูงสุดพบว่าอายุที่เหมาะสมคือ 19 ปีเมื่อให้ราคาไม้ยางเพิ่มขึ้นร้อยละ 300 พบว่ายางทั้ง 2 ชนิดมีอายุที่เหมาะสมคือ 15 ปีเท่ากันen_US
dc.description.abstractalternativeThis research has the objective to utilize equation system of rubber demand and input-output table to study impact of economic from the rubber demand change, to study stability of rubber price, the appropriateness for investment of rubber planting and the appropriate age for rubber replacement. The result of this research in part of the impact of world rubber demand by analyzing from Thailand’s equation system of rubber demand indicates that when the world rubber demand increases, domestic consumption of rubber in other rubber products industry get the most impact. The second is exports of rubber to Japan and the third is exports of rubber to China. Besides the analysis of impact of the other sector in economic from the increasing final rubber demand at various percentage indicates the rubber planting has the highest increasing of value added. The later are crepe rubber production and other rubber products production. The analysis of Linkages indicate rubber planting has high forward linkage but crepe rubber production, type production and other rubber products production have high backward linkage. The analysis of stability price for rubber indicates wholesale price is the most instabilize. The monthly average price is more stabilize than the annual average price. Benefit-cost ratio at discount rate 9% of the average yield rubber and the highest yield rubber are 1.07 and 1.21. Internal rate of return of the highest yield rubber and the average yield rubber are 14.50% and 10.91%. The covering-cost price of the highest yield rubber and the average yield rubber are 14.05 baht and 15.83 baht. The analysis of the appropriate age for rubber replacement by considering price of rubber’s timber indicates the age for rubber replacement of the average yield rubber is 20 years and the age for rubber replacement of the highest yield rubber is 19 years. When price of rubber’s timber is assumed to increase 300%, both of the age for rubber replacement are 15 years.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมยางพารา -- แบบจำลองทางเศรษฐมิติen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมยางพารา -- ไทยen_US
dc.subjectยางพารา -- อุปทานและอุปสงค์en_US
dc.subjectยางพารา -- การตลาดen_US
dc.subjectตารางปัจจัยการผลิตen_US
dc.subjectยางพารา -- ราคาen_US
dc.titleการวิเคราะห์ระบบอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeThe rubber industry of Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriporn_ma_front.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_ma_ch1.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_ma_ch2.pdf13.58 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_ma_ch3.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_ma_ch4.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_ma_ch5.pdf839.99 kBAdobe PDFView/Open
Siriporn_ma_back.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.